Buddha-sci-fi-muayThai-history-astrology-superstition-language-yoga-music-art-agricuture-herb-food

...I believe that meditation and healthy food are an essential human experience and should be freedom to learn too................................ Buddha-Dharma-Sangha-science-fiction-MuayThai-History-Astrology-Superstition-religion-Language-math-mind-universe-meditation-Yoga-Music-Art-Agricuture-Herb-Food...this is good health and life. All give us be Oneness. I will try to understand you and everybody around the world................ WE ALL ARE FRIENDSHIP......Truth me

Thursday, December 20, 2018

วิเคราะห์ไข้เลือดออกแบบแผนไทย




โยคีขยะ - ฤษีป่าคอนกรีต 

   ปณิตา ถนอมวงษ์ 56 mins · 

   วิเคราะห์ไข้เลือดออกแบบ...แผนไทย
.
ในเรื่องการวิเคราะห์นี้   ข้าพเจ้าใช้หลักทางศาสนามาวิเคราะห์ความเป็นไปของการดำเนินไข้พิษไข้กาฬ  ที่จับแล้วเข้ามากระทบธาตุภายใน  ซึ่งกล่าวในฉันทศาสตร์ และหลักวิสุทธิมรรค ท่านให้พิจารณากายออกเป็นชั้นๆ  โดยมีตัวคุมไว้แต่ละชั้น  ตามที่เคยเขียนบทความไปแล้ว วันนี้ลองมาพิจารณาแบบการดำเนินโรคที่เข้าไปในชั้นต่างๆกันนะคะ  ดังนี้
๑) ผม, ขน, เล็บ, ฟัน, หนัง
๒) เนื้อ, เอ็น, กระดูก, ไขกระดูก, ม้าม
๓) หัวใจ, ตับ, ผังผืด, ไต, ปอด
๔) ไส้ใหญ่, ไส้น้อย, อุทริยัง, กรีสัง, สมอง
.
ตามศาสตร์แผนไทย  กำหนดกำลังของธาตุกำเริบ มี ๔ สถานคือ
ตติยะชวร  คือนับจากวันที่เริ่มไข้ ไปจนถึง ๔ วัน
ดรุณชวร  คือนับจากวันที่ ๕ ไปถึงวันที่ ๗
มัธยมชวร  คือนับจากวันที่ ๘ ไปถังวันที่ ๑๕
โบราณชวร  คือนับจากวันที่ ๑๖ ไปถึงวันที่ ๑๗ 

ต่อไปจากนี้  ธาตุต่างๆ ได้พิการไปแล้วโดยไม่มีกำหนดวันเวลาว่านานเท่าไร  ระยะนี้เราเรียกว่า จัตตุนันทชวร
.
ถึงตรงนี้คงแปลกใจว่าเกี่ยวอะไรกัน   โบราณท่านว่าร่างกายเรามีกำเดาเป็นตัวเลี้ยงดูให้กายอุ่น ให้ป้องกันเชิ้อโรคที่แปลกปลอมเข้า   ฉนั้นกำเดาจึงป้องกันในชั้นตะโจ(ผิวหนังได้ ๔ วัน)  
ถ้าไข้จับจะเป็นอาการของไข้  กำเดาน้อยคือมีอาการให้ปวดสีสะ  ให้จักษุแดงให้ตัวร้อนเปนเปลว  ให้ไอสะบัดร้อนสะท้านหนาว  ให้ปากขมปากเปรี้ยวปากกินเข้าไม่ได้  แลให้อาเจียร
ให้นอนไม่หลับในอาการนี้จะเวียนอยู่ ๔ วัน  โบราณเรียกตติยชวร
.
เมื่ออาการไม่ถอยลงเพราะวางยาไม่ถูกกับไข้  จะเกิดอาการเม็ดเลือดแตกจากโลหิตร้อน
(ไฟสันตัปปัคคี) ให้เป็นกำเดาใหญ่ต่อไป  มีอาการนั้นให้ปวดสีสะเปนกำลัง  ให้จักษุแดงให้
ตัวร้อนเปนเปลว  ให้ไอให้สะบัดร้อนสท้านหนาว  ให้ปากแห้งคอแห้งเพดาลุแห้งฟันแห้ง
ให้เชื่อมให้มัว  ให้เมื่อยไปทั้งตัว  จับสบัดร้อนสท้านหนาว  ไม่เปนเวลา  บางทีผุดขึ้นเปนเม็ดเท่ายุงกัดทั้งตัว  แต่เม็ดนั้นยอดไม่มี  บางทีให้ไอเปนโลหิตออกมาทางจมูกทางปาก  บางทีให้ชักมือกำเท้ากำ 

ถ้าแพทย์แก้มิฟังใน ๓ วัน ๕ วัน  สำคัญว่าเปนไข้เพื่อเส้นเพื่อลมอัมพฤกษ์แลไข้สันนิบาต
มิรู้วิธีในไข้กำเดา  ก็จะเกิดกาฬห้าจำพวกแซกขึ้นมา  คือกาฬฝีพิษหนึ่ง  กาฬฝีฟกหนึ่ง
กาฬคูธหนึ่ง  กาฬมูตรหนึ่ง  กาฬสิงคลีหนึ่ง  ก็จะบังเกิดแก่คนไข้   อันว่าความตายจักมีแก่บุทคลเปนไข้นั้น   ตรงนี้จะตรงกับไข้ระยะตรุณชวร นับจากวันที่ ๕ ไปถึงวันที่ ๗ เป็นชั้นที่ ๒
มีตัววักกัง(ม้าม)เป็นตัวคุม   อาการตรงนี้ถ้ารักษาไม่ดีวางยาผิด  เลือดจะแตกมากขึ้นเรื่อยๆ
การวางยาจึงควรเป็นเย็นและฝาด  เช่น ยาปทุมคงคา   เมื่อคุมได้ไข้ลดลง  วางยากระทุ้งพิษและถ่ายพิษต่อไปตามคัมภีร์   ซึ่งเราต้องใช้ยาแปรภายนอกและภายในด้วย   หลักคือภายในก็เลือดออกตามไส้พุงตับปอดเช่นกัน  เรียกไข้ ตรุณชวร  จะสังเกตุเห็นที่ผื่น มีเม็ดเล็กๆที่ผุดแตกตามตัวจุดแดงๆ

ตามพระคัมภีร์ท่านเปรียบเทียบว่า  ซึ่งลักษณไข้กำเดามิใช่ไข้เล็กน้อย  จะว่าง่ายๆเปนไข้สำคัญ เปรียบเหมือนพระอาทิตย์ขึ้นดวงหนึ่ง   โลกนั้นพอเปนสุข   ครั้นขึ้นมาเปนสองดวงโลกนั้น
กระวนกระวายนัก   ครั้นขึ้นสามดวงสัตว์ทั้งหลายก็ตายหมด  ฉันใดก็ดี  พระอาจารย์เจ้าเปรียบดังไข้กำเดาเหมือนกัน   พระอาจารย์เจ้าจึงยกสาธกไว้ ให้ผู้เปนแพทย์ไปดูไข้ จะเปนไข้พิษหรือไข้กำเดา  แลลักษณไข้กำเดานั้น  อาการที่ผุดนอกนั้นไม่มี  ที่ว่าจะเปนแผ่นเปนวงนั้นก็ไม่มี
มีแต่ว่าจะบังเกิดกาฬทีเดียว  ถ้าไม่ตายใน ๗ วัน ๙ วัน ๑๑ วัน ก็จะกลายไปเปนสันนิบาตสำประชวรบุราณชวร  บอกไว้ให้แพทย์พึงรู้
.
และถ้ายังไม่ถอยจะเข้าไปในชั้นที่ ๓ มีหัวใจ, ตับ, ผังผืด, ไต, ปอด   โบราณสมมุติหวัดเริ่มเพิ่มอาการแทรกเข้าปอด  ให้สะบัดร้อนสท้านหนาว  ปวดสีสะเปนกำลัง  ระวิงระไวไอจามให้น้ำมูกตก   ถ้าไข้นั้นรุนแรงอาจเกิดอะไรได้บ้างก็ปอดวาย, ไตวาย, ตับวาย, หัวใจล้มเหลวเป็นต้น
ใช้เวลารวมแต่ต้นมา ๑๕ วัน เรียกไข้มัธยมชวร
.
ถ้ายังไม่ถอยอาการจะดำเนินไปเรื่อยๆ  ในชั้นที่ ๔ เข้าธาตุดินในชั้นที่มีตัวสมองควบคุมในชั้นสุดท้าย  มักยากจะรักษาอาจมีอาการชักหมดสติได้   อาการตรงนี้จับเข้าถึงปอด, ไต, หัวใจ, สมองด้วย   สังเกตต่อ  ให้ตัวร้อนให้อาเจียร  ให้ปากแห้งปากเปรี้ยว  ปากขมกินเข้าไม่ได้  แล้วแปรไปให้ไอเปนกำลัง  แลทำพิษคอแห้งปากแห้งฟันแห้ง  จมูกแห้งน้ำมูกแห้ง  บางทีกระทำให้น้ำมูกไหลหยดย้อย   เหตุดังนี้ เพราะว่ามันสมองนั้นเหลวออกไปหยดออกจากนาสิกทั้งสองข้าง ไปปะทะกับสอเสมหะจึงให้ไอไป  แก้มิฟังกลายไปเปนริศดวงมองคร่อหืดไอ  แลฝีเจ็ดประการจะบังเกิด  อันว่าคนไข้ทั้งหลายก็ดี  เมื่อแพทย์วางยามิฟังแล้ว  อันว่าความตายจักมีแก่คนไข้นั้น  ตัวนี้จะจบในวันที่ ๑๗ เรียกว่าไข้โบราณชวรแล้วค่ะ
.
ถ้าไม่ตายก็ต่ออาการไปอีกจากนี้  ธาตุต่างๆได้พิการไปแล้วทั้ง ๔ ธาตุโดยไม่มีกำหนด วันเวลาว่านานเท่าไร  ระยะนี้เราเรียกว่า จัตตุนันทชวร
.
ทั้งหมดเป็นการยกมากล่าวให้เข้าใจแบบคร่าวๆในการดำเนินโรคแบบแผนไทย  ที่ต้องรู้กำลังธาตุกับการดำเนินเข้าสู่ร่างกายตามชั้นๆที่วางไว้  และกรณีไข้หวัดนก, ไข้ซาร์ก็เช่นกัน  ทั้งหมดเป็นการวิเคราะห์ของข้าพเจ้าเองที่ศึกษาจากไข้เลือดออกระบาดแล้วมีผลให้ต้องผ่าตัดเป็นชั้นๆไป   เพื่อรักษาชีวิตเลยตัดขา  จากนั้นช่วยด้วยเครื่องช่วยหายใจ  เครื่องฟอกไต ,ตัดปอด,
ตัดลำไส้เป็นลำดับชั้นๆไป   ข้าพเจ้าจึงขอเอาท่านนั้นเป็นครูที่สำคัญที่สุดในใจที่ทำให้มองเห็นการดำเนินโรคที่มองออกมาเป็นภาพได้...และขอผลบุญนี้ส่งท่านสู่สุขคติด้วยเทอญ..สาธุๆๆ

.
หมายเหตุ  เป็นเพียงความคิดของข้าพเจ้าเท่านั้นที่แสดงออกมา   ถ้ามีอะไรผิดพลาดขอตำหนิข้าพเจ้า  แทนการตำหนิหลักของคัมภีร์ค่ะ
.
อ. ปณิตา ถนอมวงษ์
เครดิตภาพ 
http://www.hibstation.com


No comments: