.
ถ้าเราพูดถึงลม เราจะพูดถึง ลักษณะของลม วาโยทำหน้าที่เป็นผู้ขับเคลื่อน,ผลักดันให้ไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย เป็นตัวที่เคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่ง รวมถึงความแปรปรวน
วาโย(ธาตุลม) ๖ อย่าง
๑.ลมหายใจเข้าออก ก็จะทำหน้าที่หายใจเข้าและออกเท่านั้น
๒.ลม อุทังคมาวาตา ก็จะทำหน้าที่พัดขึ้นอย่างเดียว
๓.ลม อโธคมาวาต ก็จะทำหน้าที่พัดลงอย่างเดียว
๔.ลมกุจฉิ จประจำท้องดันไส้พุงไม่ให้ติดกับลำตัว
๕.ลมโกฏฐา ประจำท้องแต่อยู่ในไส้ดันไส้พุงไม่ให้แฟบติดกัน
๖.ลมอังคมังคา ทำการไหลเวียนไปทั่วกายเท่านั้น
.....แต่ถ้าจะดูละเอียดกลับไปดูสิ่งที่โพสก่อนหน้านี้ค่ะ เรื่องลม ๖กอง และลมนี้ถ้าจะให้โทษเป็นเพราะ ลมอุทังและอโธค ไม่รู้กันวิ่งมาชนกัน จนอาการ ๓๒ เคลื่อนไปกลายเป็น อัมพฤกษ์และอัมพาต
.
ส่วนภาคสรีระคืออธิบายการทำหน้าที่พบว่า
คัมภีร์จินตามณิฏีกาของอมรโกสอภิธานกล่าวว่าหทเย ปาโณ คุเทปาโน สมาโน นาภิมชฺฌฏฺโฐ,อุทาโน กณฺฐเทเส ตุ พฺยาโน สพฺพงฺคสนฺธิสุ. แปล ลมที่ไหลเวียนอยู่ในหัวใจ ชื่อว่าปาณะ, ลมที่ระบายออกทางทวารหนัก ชื่อว่าอปานะ, ลมที่ตั้งอยู่ช่วงกลางสะดือ ชื่อว่าสมานะ, ลมที่เปล่งออกทางลำคอ ชื่อว่าอุทานะ, ลมที่ไหลเวียนไปทั่วร่างกาย ชื่อว่าพยานะ หมายความว่า
ร่างกายเรายังมีลมที่ทำหน้าที่ภายในไปมีส่วนกับระบบในธาตุวาโยที่นับเป็น กอง ให้สอดคล้อง
.
(๑) ปาณะ คือ ลมที่ใช้กลืนอาหารเข้าไป เป็นชื่อเรียกปราณในบริเวณจากลำคอลงมาถึงบริเวณทรวงอก ทำหน้าที่ให้พลังการทำงานแก่ร่างกาย โดยผ่านการหายใจดูดซับปราณจากภายนอกเข้าสู่ร่างกาย ปราณะ(อยุรเวทเรียกปราณะ) มี ๓ กรรม
๑) หน้าที่ปรกติและไม่ปรกติของจิตใจ
๒) หน้าที่เกี่ยวกับปัญจอินทรียะ รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส)
๓) หน้าที่เกี่ยวกับการเดินของโลหิต การหายใจ และการกลืนอาหาร ตำแหน่งอยู่ในศีรษะ อก หู ลิ้น ปาก จมูก ควบคุมอวัยวะเหล่านี้ให้เป็นปกติ ถ้า ปราณะวายุ ไม่ปกติ อวัยวะดังกล่าวก็พิการ เช่น สะอึก หอบ ฯลฯ
.
(๒) อปานะ คือ ลมที่ช่วยเบ่งปัสสาวะและอุจจาระออกไป เป็นชื่อเรียกปราณในบริเวณจากสะดือลงมาถึงปลายเท้า ทำหน้าที่เกี่ยวกับการกำจัดของเสีย สิ่งสกปรกออกจากร่างกาย รวมทั้งการเคลื่อนไหวของร่างกายส่วนล่าง มีกรรมเดียว คือ
หน้าที่ควบคุมการขับถ่าย มละ ตำแหน่งอยู่ที่หัวเหน่า กระเพาะปัสสาวะ ลูกอัณฑะ สะดือ สะเอว โคนขา ทวารหนัก ทำและหลั่งน้ำกาม ปัสสาวะ อุจจาระ ขับโลหิตระดูของสตรี และเป็นลมเบ่งในการออกลูก ลมนี้มีมากที่ส่วนล่างในไส้เล็กด้วยเหมือนกัน
.
(๓) สมานะ คือ ลมที่ช่วยย่อยอาหาร เป็นชื่อเรียกปราณในบริเวณจากทรวงอกถึงบริเวณสะดือ ทำหน้าที่เกี่ยวกับการย่อยอาหาร ให้ความร้อนแก่ร่างกาย สมานะวายุ มีกรรมเดียว คือหน้าที่ควบคุมการย่อยอาหาร อยู่ตามท่อของต่อมเหงื่อ ขับถ่ายมละของวาตะ ปิตตะ และเสมหะ ควบคุมความร้อนของร่างกาย ให้ความร้อนแก่ร่างกาย ควบคุมกระเพาะอาหาร ไส้เล็ก ช่วยในการย่อยอาหาร ร่วมกับไฟธาตุถ้าพิการ ทำให้ธาตุพิการ เป็นบิดฯลฯ
.
(๔) อุทานะ คือ ลมที่เปล่งออกมาขณะพูดและขับร้อง เป็นชื่อเรียกปราณในบริเวณจากลำคอขึ้นไปถึงศีรษะทั้งหมด ทำหน้าที่เกี่ยวกับการพูด การทำให้ตัวเบา การทำให้ลอยตัว ผู้ที่รู้วันตายของตัวเองล่วงหน้า และเมื่อช่วงเวลานั้นมาถึงจะกำหนดจิตที่ปราณบริเวณนี้ก่อนละสังขาร อุทานะวายุ มีกรรมเดียว คือการพูด ตำแหน่งอยู่ที่บริเวณสะดือ ในอก และคอ ทำให้พูด ให้ออกกำลัง ฯลฯ ถ้าพิการ ทำให้อวัยวะเหนือกระดูกไหปลาร้า ขึ้นไปไม่ปรกติ
.
๑) หน้าที่ควบคุมเส้นหรือท่อโลหิต
๒) หน้าที่ควบคุมความรู้สึก
๓) หน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว มีอยู่ที่ร่างกาย ควบคุมการเคลื่อนไหว ควบคุมการไหลของเลือด น้ำเหลือง ขับเหงื่อ การยืดหดของกล้ามเนื้อแขนขา การกระพริบตา และอื่นๆทั่วไป ถ้าพิการ เช่นเวลาเป็นไข้ พลอยทำให้อวัยวะทั้งหลายวิปริตไปหมด
....เมื่อพิจารณาทางแผนไทย ก็คือลมกลุ่มกองหยาบ ซึ่งเรารวมโรคลมที่เกิดจากลมกองหยาบ
.
อีกส่วนอยู่ในเรื่องของจิตใจ
ในเรื่องจิต,และวิญญาณ เราเรียก สุมนา ตามที่เคยกล่าวไว้แล้ว 3 อย่าง คือ
1. หทัยวาตะ หมายถึง ลมเกี่ยวกับหัวใจ จิตใจหรือลมที่ทำให้หัวใจเต้น
2. สัตถกวาตะ หมายถึง ลมที่คมเหมือนอาวุธลักษณะรวดเร็วฉับพลัน เล็ก แหลม เจ็บแปลบ เกิดจากปลายประสาท
3. สุมนาวาตะ เส้นสุมนา คือเส้นกลางลำตัว รวมระบบไหลเวียนของเลือดและประสาท หรืออื่น ๆ ที่มีผลต่อการเคลื่อนไหว อยู่กลางลำตัว เป็นตัวโยงความรู้สึกของใจผูกไว้กับสมอง เมื่อผิดปกติไปเกิดโรคกองละเอียด มีอาการจับให้หน้ามืด ตาลาย เวียนศีรษะ ใจสั่น สวิงสวาย อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ตกใจ เสียใจ แพ้ท้องเป็นต้น
ข้อมูล วิสุทธิมรรค และ คัมภีร์จินตามณิฏีกาของอมรโกสอภิธาน
โรคนิทาน และ อยุรเวทศึกษา
ขอบคุณภาพทางอินเตอร์เนตและนายขยะค่ะ
No comments:
Post a Comment