Buddha-sci-fi-muayThai-history-astrology-superstition-language-yoga-music-art-agricuture-herb-food

...I believe that meditation and healthy food are an essential human experience and should be freedom to learn too................................ Buddha-Dharma-Sangha-science-fiction-MuayThai-History-Astrology-Superstition-religion-Language-math-mind-universe-meditation-Yoga-Music-Art-Agricuture-Herb-Food...this is good health and life. All give us be Oneness. I will try to understand you and everybody around the world................ WE ALL ARE FRIENDSHIP......Truth me

Sunday, December 23, 2018

อุบัติการณ์ของพระพุทธศาสนา มึฉากสงครามของอารยันนานาเผ่ารบพุ่งแย่งชิงดินแดนใหม่



Atthanij Pokkasab

22 ธันวาคม 2014


อุบัติการณ์ของพระพุทธศาสนา
มีฉากสงครามของอารยันนานาเผ่ารบพุ่งแย่งชิงดินแดนใหม่
เพื่อสถาปนาเขตแคว้นอาณาจักรของแต่ละกลุ่มที่เรืองอำนาจในการรบ
ขณะอพยพเคลื่อนมาทางทิศตะวันออกต่อเนื่อง
โดยเฉพาะ...โกศล รบ มคธ และ มคธ รบ วัชชี
แล้วสิ้นสุดที่ วัชชีซึ่งอยู่ตะวันออกสุด พ่ายต่อมคธ ในพ.ศ.๑๐๐
โดยการล่มสลายของสถาบันสงฆ์แห่งวัชชี
เป็นสาเหตุให้พระพุทธศาสนา แตกกระจายเป็น ๑๘ นิกาย ด้วย.
ฯลฯ
มีฉากเขตการการค้าระหว่าง อารยันนานาเผ่า กับ ทราวิฑ
ที่เป็นชาวพื้นถิ่นพื้นฐานดั้งเดิม, คละด้วย อารยันลัทธิพระเวทฝ่ายตะวันตก
ที่มาของศาสนาโซโรอัสเตอร์ ที่สถาปนามหาอาณาจักรเปอร์เซีย
(พวก พ่อค้า ชาวนา ฤๅษีเจ้าลัทธิที่ เรียกว่า "อัคคีเวสนะ") ด้วย.
ฉากเขตการค้าระหว่าง อารยันนานาเผ่ากับ กรีกไอโอเนียน(โยนก)
ชนชาวซัยเธียนส์(Scythians) และชาวทะเลทราย(อาหรับ)
ชาวทมิฬในอินเดียใต้รวมมาถึง ชาวไต ลุ่มแม่น้ำโขง ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
โดยมีปริมณฑล เป็นรัศมี ๑๒๐ โยชน์(ประมาณ ๒,๐๐๐ กิโลเมตร)
จากนครสาวัตถี แคว้นโกศล เป็นศูนย์กลาง อีกด้วย.
ฯลฯ

ปัญหาสังคม ปัญหาสตรีเยาวชน จากภัยสงคราม
และจากความเชื่อที่หลากหลายตามชาติพันธุ์ที่แตกต่าง
มีมากมายมหาศาล...
การที่จะกล่าวถึง หรือศึกษาสาระธรรมสวนหนึ่งส่วนใด
ในบันทึกของชาวพุทธโบราณ พึงคำนึงถึงฉากที่รองรับอุบัติการณ์
ของพระพุทธศาสนาตามเสนอมาข้างต้นให้มากๆ....
ไม่เช่นนั้น...ผู้รู้ที่อวดภูมิตนเองออกมา..
ต่อให้ท่านจบการศึกษาระดับปริญญาจนถึงชั้น ดอกเตอร์
มันก็แค่ไอ้ อี งี่เง่า...ที่ไม่รู้อะไรตามเป็นจริง เท่านั้นเอง ฯ

"นายขยะ" Atthanij Pokkasap
04:50 เช้าตรู่ วันจันทร์ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๗

No comments: