Buddha-sci-fi-muayThai-history-astrology-superstition-language-yoga-music-art-agricuture-herb-food

...I believe that meditation and healthy food are an essential human experience and should be freedom to learn too................................ Buddha-Dharma-Sangha-science-fiction-MuayThai-History-Astrology-Superstition-religion-Language-math-mind-universe-meditation-Yoga-Music-Art-Agricuture-Herb-Food...this is good health and life. All give us be Oneness. I will try to understand you and everybody around the world................ WE ALL ARE FRIENDSHIP......Truth me

Saturday, December 22, 2018

น้ำดี (ปิตตะ)




Atthanij Pokkasap 


น้ำดี(ปิตตะ) 

ฉกธาตุ ใน ๑๒ ธาตุน้ำอันเป็นภายใน
(อันโตอาโปธาตุ)
ในอาการ ๓๒ (ทวัตติงสาการ)
ตามการค้นพบของพระพุทธศาสนา

น้ำดี-ปิตตะ ๑ ใน ๓ ของตรีธาตุ-ตรีคุณ-ตรีโทษ-ตรีทูต เป็น ๑ ใน ๓สมุฏฐานกำเนิดโรค และการป่วยไข้ทั้งหลาย ของการแพทย์แผนไทยภายใต้อิทธิพลการค้นพบตัวชีวิตในห้องปฏิบัติกรรมฐานชั้นสูงของพระพุทธศาสนา
น้ำดี(ปิตตะ) ตามการค้นพบของพระพุทธศาสนา มี ๒ ชนิด คือ แบบเป็นฝัก เรียกว่า "ถุงน้ำดี" และแบบไม่เป็นฝัก ที่เอิบอาบไปทั้งสรีระร่าง ท่านอุปมา...สีเหมือนดอกพิกุลเหี่ยว ที่เมื่อกำเริบ(คือ หย่อน หรือขาด)ท่านบรรยายว่า
"มีอาการให้ตาเหลืองพร่า ตัวสะท้านคันอยู่ฯ"


ลักษณะที่พุทธดั้งเดิมท่านบรรยาย ตรงกับ การทำงานของกระบวนการต่อมน้ำเหลืองที่มีเครือข่ายทั่วสรีระร่าง ตามการค้นพบของวิชาแพทย์แผนปัจจุบัน...
แต่..สำคัญกว่านั้น...
วิเคราะห์จาก อานาปานสติกรรมฐาน ถึงที่มาความหมาย ที่โบราณให้ ปิตตะ แปลว่า "ดี, น้ำดี"
แสดงว่า...
อานาปานสติกรรมฐานของชาวพุทธดั้งเดิม ท่านได้ทำการพิสูจน์พบแล้วว่า...
อาการของธาตุน้ำที่ท่านให้ชื่อว่า "ปิตตะ" เกี่ยวข้องโดยตรงกับสุขภาวะของ
"จิต"ร่วมกับ หัวใจ(หทยัง)ที่เป็นแหล่งกำเนิด จิต และ ตับ(ยกนัง)ที่เป็นแหล่งแสดง
อาการทางปัญญาของจิต โดย ปิตตะ...เป็นแหล่งแสดง
อาการทาง "สติ"...ความแจ่มใสของจิต จึงกำหนดชื่อว่า "ดี,น้ำดี" !!!
ความสัมพันธ์ทางประสิทธิภาพ ระหว่าง หัวใจ ตับ และ ดี, น้ำดี เชื่อมโยงเอาไว้ด้วย
เลือด(โลหิตัง) และ แรงดันขับเคลื่อนเลือด คือ "ลม" ซึ่งอานาปานสติกรรมฐานค้นพบและจำแนกออกเป็น กองธาตุลมภายในทั้ง ๖ หรือเรียกรวมๆว่า ลมในกองธาตุ
สำคัญพื้นฐานสุดของสรีระร่าง คือ น้ำดีที่ไม่เป็นฝัก กับ เลือด ต่างต้องอาศัย ลมในกองธาตุเป็นตัวขับเคลื่อนแทบจะพร้อมๆกันอย่างชนิดแยกกันไม่ได้ 


เพราะ...น้ำดีที่ไม่เป็นฝัก ต้องทำหน้าที่เป็นหน่วยส่งเสบียง(ออกซิเจน เกลือแร่ และอาหาร)เคลื่อนที่เร็วแก่น้ำเลือด-โลหิตัง ทุกพิกัดอณูทั่วสรีระร่าง การขาดตอน คือการหมดอายุทำงานของเลือดก่อนเวลาอันควร เป็นที่มาของการป่วยไข้ แบบสะสมหรือเฉียบพลัน
ความสัมพันธ์เชิงประสิทธิภาพ ระหว่าง น้ำดีที่ไม่เป็นฝักกับ ธาตุลมภายใน....ขึ้นอยู่กับเท็คนิค
ประการเดียว ของการหายใจออกหายใจเข้าที่มีสมุฏฐานมาจาก...หัวใจ-หทยัง !!!

น้ำดีแบบไม่เป็นฝัก หรือที่แผนปัจจุบันเรียก เป็นระบบน้ำเหลือง จะมีประสิทธิภาพอละสามารถเคลือบอาบตลอดสรีระร่างได้...
ก็ด้วย....
* การหายใจ...ที่ ช้า เบา ยาว ลึก และออกสุด เข้าสุด * 
เท็คนิคเดียวเท่านั้น และก็เป็นเท็คนิคเดียวที่ทำให้อารมณ์ร้ายอันหลากหลายภายนอก...ไม่อาจเข้าก่อกวนอารมณ์ดั้งเดิมแท้ของจิตที่เกิดจากหัวใจได้โดยตรง !!!


แต่..
การจะหายใจให้ได้การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพของน้ำดีที่ไม่เป็นฝัก....
ต้องผ่านการฝึกฝนเรียนรู้ว่า อย่างไร คือ การหายใจ ช้า เบา ยาว ลึก ออกสุด เข้าสุด ตามธรรมชาติแท้ๆของสรีระร่าง ที่ถูกกิเลสเข้าสิงสั่งการให้หายใจสั้นและหยาบแปรปรวนตลอดเวลาชั่วชีวิตที่ผ่านๆมา...
กักลมอัสมิตา...ที่เบื้องต้นคือฝึกการขับลมที่ค้างในปอด ....ได้ตอบปัญหานี้ไปก่อนหน้าแล้วครับ
ตนที่ไม่เคารพลมหายใจที่ให้ชีวิตตัวเอง
โรคภัยไข้เจ็บย่อมเป็นไปสมควรแก่เหตุแห่งความไม่เคารพตนเองนั้นๆ แลฯ
       

                                                                     

Panu Wongpanuvut    อา...ลงโพสจังดีกว่า 


Daren Shi    อยากอาจารย์ช่วยอธิบายอานาปนสติ
ขั้นที่ ๑ ลมยาว ขึ้นที่ ๒ ลมสั้น  ขั้นที่ ๓ ลมสรรพกาย
ถึงความสัมพันธ์และทำไมพุทธองค์ถึงเรียงลำดับการฝึกอย่างนี้?
เพราะอ่านมานานก็ยังไม่เข้าใจความหมายสักที สาธุ


Atthanij Pokkasap  หายใจยาว...คือยาวตามเป็นจริงของธรนมชาติแห่งสรีระของตัวชีวิตนั้นๆ...คือต้องฝึกหา ก่อนไงครับ
กายใจสั้น...คือ สั้นเท่าที่ร่างสรีระนั้นต้องการบางขณะที่เร่งด่วน ก๊อ...ตามธรรมชาติของสรีระนั่นๆอีกเช่นกัน ต้งเรียนรู้และฝึกหาก่อน
ถ้ากำหนดยาว กำหนดสั้นเอาเองเลยโดยไม่รู้ควาใจริงในสรีระตน...ก็มั่วและอุปาทาน งัย
การรู้ สัพพกาย...เพราะมีนิยามอยู่ที่ลมหายใจท่านกำหนดว่า เป็นเครื่องปรุงแต่งให้เกิดกาย(กายสังขาร)...
สัพพกาย จึงสมควรหมายถึง...ลมที่ปรุงแต่งให้เกิดกายทั้งหมด ก็คือ ธาตุลมภ่ยในทั้ง ๖ งัยครับ
ต้องเรียนี้วิเคราะห์จากธรรมชาติในสรีระส่วนตัวก่อนทั้งสิ้น....จู่ๆมากำหนดเอาเองไปทุกเรื่อง.....ก็ไปดูที่ รพ.สงฆ์สิครับ อยู่ใกล้พระนิพพานมากไปหรือเปล่า โรคงอมแงมล้นโรงพยาบาล


Daren Shi    ความสัมพันธ์ระหว่างขั้น ๑ กับ ๒ พอที่จะเข้าใจได้ แต่ความสัมพันธ์ระหว่าง
ขั้น ๒ กับขั้น ๓ นั้น คือจากลมสั้นไปสู่ลมสัพพกายมีความสัมพันธ์อย่างไร? สาธุ


Atthanij Pokkasap  กายอันเนื่องมาจากลมปรุงแต่ง และลมทั้ง ๖ มีลมหายใจเป็นตัวหลักของ "กายสังขาร"...ก่อนไปถึงการดับกายสังขาร(ขั้น ๔) จำเป็นต้องรู้ลมที่ประกอบกาย
ทั้งหมด..ไม่ว่าประกอบกายขึ้นมาแบบลมหายใจสั้น ระดับต่างๆ หรือยาวระดับต่างๆ...หากไม่เข้าถึงทักษะทุกระดับ...ความสำเร็จในการมีสติ ก็ย่อมดป็นไปได้ยาก...เพราะเงื่อนไขสติ.คือ
การเห็น...การรู้สึกตัวทั่วถึงตลอดทั่วทุกสรรพางค์กาย ครับ
ทักษะ แปลว่าวามชำนาญเฉพาะต้องมีก่อนกาปฏิบัติในขั้นใดๆทั้งหมด นะครับ


Panu Wongpanuvut    เส้น-เอ็น-ลม


Atthanij Pokkasap  เส้น-เอ็น-ลม-เยื่อพังผืด ที่รองรับการทำงานของต่อมน้ำเหลือง
(น้ำดีที่ไม่เป็นฝัก) ครับ


Sirirat Chaiyasitt    ขอบคุณค่ะ


Nut Suphakorn Chakrit Ake    ถึงลมในกาย ๖กอง ยังสัมผัสไม่ค่อยได้ หาไม่ค่อยเจอ ทั้งที่ฝึกมากว่า ๘เดือนแล้ว...แต่แค่ได้หมั่นหายใจ ช้า เบา ยาว ลึก และออกสุด เข้าสุด ตามอุปทาน(กำหนดเอง)เป็นเบื้องต้นไปก่อน ก็ช่วยเรื่องของสุขภาพได้มากแล้วครับ


Nut Suphakorn Chakrit Ake    แต่ถ้าอยากเข้าถึงความอัศจรรย์ของกายและจิตตามหลักพุทธ ก็ต้องหมั่นฝึกกันต่อไปนะฮะ อิอิ


Yutthana Sirisilp    อยากสัมผัสได้เช่นกัน.....


Rawisa Thia    ขอบพระคุณอจ.ค่ะขอแชร์นะค่ะ



No comments: