Buddha-sci-fi-muayThai-history-astrology-superstition-language-yoga-music-art-agricuture-herb-food

...I believe that meditation and healthy food are an essential human experience and should be freedom to learn too................................ Buddha-Dharma-Sangha-science-fiction-MuayThai-History-Astrology-Superstition-religion-Language-math-mind-universe-meditation-Yoga-Music-Art-Agricuture-Herb-Food...this is good health and life. All give us be Oneness. I will try to understand you and everybody around the world................ WE ALL ARE FRIENDSHIP......Truth me

Friday, January 3, 2020

The Fundamental Buddhism's Doctrines for Mind over Force Field : The Advanced Study of Sacittapariyodapanam

The Fundamental Buddhism's Doctrines for Mind over Force Field
The Advanced Study of Sacittapariyodapanam
หลักสูตรฝึกอบรมจิตให้ขาวสว่างรอบของพระพุทธศาสนาตามหลักฐานพระไตรปิฎก
มีหัวข้อหลักสูตร ดังนี้
#ข้อที่หนึ่ง.
ฌานและปัญญาเป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกัน ไม่แยกกัน ไม่อาจแยกขาดจากกัน
มีพระพุทธคาถาตรัสรับรองในธรรมบท ว่า
นตฺถิฌานํ อปญฺญสฺส
Natthijhanam apannassa,
...ไม่มีปัญญา ก็ไม่มีฌาน
ปญฺญานตฺถิ อฌายิโนฯ
Pannanatthi ajhayino.
...ฌานไม่มี ปัญญาก็ไม่มีฯ
#ข้อที่สอง.
ฌาน โดยการเปิดเผยเพื่อพิสูจน์และค้นพบของพระพุทธเจ้า มีอยู่สอง คือ
๒.๑ ลักขณูปนิชฌาน
๒.๒ อารัมณูปนิชฌาน
#ลักขณูปนิชฌาน ๚๛
เป็นฌานเพื่อปัญญา(หลุดพ้น) มีสามลักษณะ คือ
๑. #อนิมิตสมาธิ
เป็นฌานเข้าสมาบัติเพื่อการประสบ(experienced) ...
"สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา"
ออกจากสมาบัติ เรียกว่า
#อนิมิตวิโมกข์
๒. #อัปณิหิตสมาธิ
เป็นฌานเข้าสมาบัติเพื่อการประสบ(experienced)...
"สพฺเพ สงฺขารา ทุกขา"
ออกจากสมาบัติ เรียกว่า
"#อัปณิหิตวิโมกข์"
๓. #สุญญตสมาธิ
เป็นฌานเข้าสมาบัติเพื่อการประสบ(experienced)
"สพเพ ธมฺมา อนตฺตา"
ออกจากสมาบัติ เรียกว่า
"#สุญญตวิโมกข์"
หมายถึง....
ปัญญาในการเห็น #ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตา ของขันธ์๕ และแม้แต่ขันธ์๕เอง..ไม่ใช่เกิดจากการท่องจำหรือบริกรรมใดๆ แต่มีจิตที่ฝึกอบรมดีแล้วเป็น ฌานสมาบัติรองรับการประสบ ซึ่ง เป็นไปตามพระพุทธโอวาท ว่า
สมาธึ ภิกฺขเว ภาเวถฯ
Samadhim bhikkhave bhavetha.
...ภิกษุทั้งหลาย เธอจงเจริญสมาธิฯ
สมาหิตสฺส ภิกฺขเว ภิกฺขุโน ยถาภูตํ โอกฺกายติฯ
Samahitassa bhikkave bhikkhuno yathabhutam okkayati.
...เพราะเมื่อภิกษุมีจิตตั้งมั่น(ในสมาธิ)แล้ว สิ่งทั้งปวงย่อมปรากฏตามเป็นจริงฯ
จาก ข้อ(๒๔๙) ชีวกัมพวนสูตร
สฬายตนวรรค สังยุตตนิกาย
พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ เล่ม๑๘/๔๕
#อารัมณูปนิชฌาน :
เป็นฌานเพื่อแสดงคุณ(แห่ง)ธรรม และอานุภาพพระศาสนา ยืนยัน
#อานิสงส์แห่งมนุษยธรรม และ
#อานิสงส์แห่งอุตริมนุสสธรรม
เป็นปรากฏการณ์ .....
Mind over Force Field ทั้งหมด
มีศัพท์เท็คนิคบัญญัติเรียกเป็นการเฉพาะว่า
"#อนุปุพพนิโรธสมาบัติ๙" และ
"#วิโมกข์๘"
ประกอบด้วยรูปฌาน๔ อรูปฌาน๔ มี
"#สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ เป็นชั้นสูงสุด สำหรับ อนุปุพพนิโรธสมาบัติ๙
ส่วนวิโมกข์๘ ประกอบด้วยรูปฌาน๓ อรูปฌาน๔ มีสัญญาเวทยิตนิโรธ เป็นชั้นสูงสุด
อารมณูปนิชฌาน นี้ เมื่อประกอบด้วยทักษะเฉพาะ คือ เมตตา-กรุณา-มุทิตา-อุเบกขา ก็จะเป็น..
เมตตาเจโตวิมุตติ
กรุณาเจโตวิมุตติ
มุทิตาเจโตวิมุตตื
อุเปกขาเจโตวิมุตต
ซึ่งมีการเรียกเฉพาะ ว่า
"#พรหมวิหาร๔"
ใช้ในทักษะของคุณธรรมเหนือมนุษย์ เรียกว่า
"#อเนญชาสมาบัติ"
ทั้งหมดทั้งปวง ไม่แยกกัน
ไม่อาจแยกขาดจากกัน เพราะ...
#ราคานุสัย ละได้ด้วย #ปฐมฌาน
*ราคานุสัย คือรากเหง้าของ อภิชฌา ที่มาของ #ราคะ-#โลภะ ปฐมฌานจึงมีชื่อสมาบัติว่า
๏ #เนกขัมมสุข ๚๛
หมายถึงสุขอันเกิด...
จากการหลีกเร้นกาม
จากการพ้นเหนือไปจากกามคุณ๕
จากการพ้นการครอบงำของข้อมูลประสบการณ์ของ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ที่ก่อตัวเป็นระบบปสาทรูป(Nervous System)อันดับ๑ ของ รูปอาศัย;อุปาทายรูป๒๔
#ปฏิฆานุสัย ละได้ด้วย #วิโมกข์(๘)
*ปฏิฆานุสัย คือ รากเหง้า พยาบาท ที่มาของ #โทสะ
และ วิโมกข์ตั้งอยู่บทบาทของตติยฌาน ซึ้งมีชื่อเป็นศัพท์เท็คนิคเฉพาะว่า
"#สุภกิณหพรหม"
มีชื่อสมาบัติว่า
๏ #สมาธิสุข ๚๛
#อวิชชานุสัย ละได้ด้วย "#จตุตถฌาน(ฌานที่๔)
*อวิชชานุสัย คือรากเหง้าของ อัสมิมานะ ที่มาของ โมหะ เป็นปรากฏการณตามที่มีพระพุทธบัญญัติไว้เป็นพระสูตรชื่อ
"หิมวันตสูตร"
และ จตุตถฌาน (ฌานที่๔) นี้ มีชื่อสมาบัติว่า...
๏ สัมโพธิสุข๚๛
#ข้อที่สาม.
ปัญญาความรู้(Comprehension)หรือพหูสูตรที่ตั้งแห่งการได้มาซึ่ง ฌาน(Consciousness+Concentration) ดังกล่าวข้างต้น พระพุทธศาสนา เรียกว่า
*#อุปริกขะ๓* ได้แก่....
หนึ่ง. การเพ่งพินิจธาตุ๖ เรียกว่า
"ธาตุอุปริกขะ"
คือ ต้องมีความรู้แตกฉานในโครงสร้างของ อาการ๓๒ ที่เป็นธาตุดิน๒๐ ธาตุน้ำ๑๒ ธาตุไฟ๔ ธาตุลม๖ อากาสธาตุ๑ วิญญาณธาตุอีก๑.. ตามพระพุทธบัญัติที่ทรงมีนิยามบัญญัติไว้ ในหลายๆพระสูตร ชัดเจนขึ้นใจ
สอง. การเพ่งพินิจอายตนะ๖ เรียกว่า
"อายตนอุปริกขะ"
คือ ต้องมีความรอบรู้แตกฉานในโครงสร้างของอายตนะ๖ ทั้งรูปธรรม ได้แก่ จักขวายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ มนายตนะ(มนายตนะประกอบด้วย มโนวิญญาณ และมโนธาตุวิญญาณ) และนามธรรมคือ เวทนา-สัญญา-เจตนา-ผัสสะ-มนสิการ ซึ่งเป็น Survival Dynamic และ/หรือ Vitality Force ตามพระพุทธบัญญัติเป็นนิยามไว้หลายมิติในพระสูตรต่างๆ
สาม. การเพ่งพินิจปฏิจจสมุปปาท เรียกว่า
"ปฏิจจสมุปปาทอุปริกขะ"
คือ ต้องมีความรอบรู้แตกฉานในโครงสร้างของพระปฏิจจสมุปปาท ทั้งในส่วนที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ที่มีพระพุทธบัญญัติให้นิยามความหมายไว้ในหลายๆพระสูตร อย่างกลมกลืนเสริมกัน ไม่มีขัดแย้งกัน
จากข้อ(๑๒๔) สัตตัฏฐานสูตร
นวกนิบาต อังคุตตรนิกาย
พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ เล่ม ๑๖/๔๕
โดยสรุป:
๏ ลักขณูปนิชฌาน เป็นสมาธิของจิตที่รองรับ
"ปัญญาวิมุตติ"
๏ อารัมณูปนิชฌาน เป็นสมาธิของจิตที่รองรับ
"เจโตวิมุตติ"
ทั้งสองสาย พบกันที่ชั้นสูงสุดสุดท้ายเดียวกัน ที่
"สัญญาเวทยิตนิโรธ"
ซึ่งเป็น....
"อุปาทิเสสนิพพาน"
คือการเข้า นิพพานในขณะที่ยังมีชีวิตดำรงอยู่
เสมอกัน !!!!!
..... ..... .....
ภาพประกอบโพสต์ :
ภาพที่๑.
แสดง หัวใจและตับ เป็นรูปธรรมรองรับ จิตที่เป็นกำลังของปัญญา และปัญญาหลุดพ้น หัวใจสัมพันธ์กับการหายใจที่ต้องสร้างสารอาหารจากลำไส้เล็กที่อาศัยน้ำย่อยจากตับซึ่งพักไว้ที่ถุงน้ำดีที่ทำงานร่วมกับระบบน้ำเหลือง และอาศัยออกซิเจนจากปอด เป็นไป
ภาพที่๒.
แสดงระบบปสาทรูป(Nervous System) กับระบบการไหลเวียนของโลหิต(Circulatory System) รองรับความรู้สึกที่พระพุทธศาสนาเรียกเฉพาะว่า "เวทนา" ซึ่งการดัับสนิทของกระบวนการเวทนาคือเป้าหมายสูงสุดของการฝึกอบรมจิตของพระพุทธศาสนาดังเวทนาที่ปรากฏในศัพท์เท็คนิคว่า
"สัญญาเวทยิตนิโรธ" ตรง "เวทยิต"
ภาพที่๓.
แสดงข่ายใยของระบบน้ำเหลือง(Lymphatic System) ซึ่่งพระพุทธศาสนารวมเอา "ถุงน้ำดี(Gallbladder) เข้าไว้ด้วยกันกับระบบน้ำเหลืองเรียกรวมว่า "ปิตตะ"
ในหลักสูตรอบรมจิต ปิตตะเป็นรูปธรรมรองรับการทำงานของ "สติสัมปชัญญะ" ที่ตั้งของ
"หิริ-โอตตัปปะ"
ภาพที่๔.
แสดง บันทึกความทรงจำภายในเซลล์ที่เรียกว่า Engram Bank ซึ่งมีข้อมูล ๕,๐๐๐ ล้านบิท ต่อหนึ่งเซลล์ และพระพุทธศาสนามีหน่วยวัดปริมาณเหตุการณ์ในความทรงจำที่บรรจุภายในเซลล์นี้เรียกว่า "กัปป์-กัลป์"
และเรียกกลุ่มความทรงจำนี้ว่า "สัญญา"
ภาพที่๕.
แสดงพลังงานไฟฟ้าเคมีที่เข้าไปเกี่ยวข้องพลังงานนิวเคลียร์ที่ยึดเหนี่ยวโมเลกุลของธาตุคาร์บอน แต่จิตสามารถใช้แรงไฟฟ้าเคมีชีวภาพจากกระบวนการในลมหายใจ (Respiratory System) เข้าไปควบคุมแรงนิวเคลียร์ในธาตุคาร์บอนจากสารอาหารให้เกิดการสังเคราะห์อินทรียสารสร้างชีวิตของสัตวบุคคลขึ้นมาได้.
ภาพที่๖.
การนั่งสมาธิที่สำนวนโบราณของชาวพุทธเรียกว่า นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง เพื่ออ่านค่าสนามแม่เหล็กไฟฟ้าเคมีชีวภาพ จากการไหลโคจรของระบบเลือด ที่สัมพันธ์กับการไหลโคจรของระบบน้ำเหลือง และสุดท้ายให้ระบบน้ำเหลืองเข้าทำงานแทนที่ระบบไหลเวียนของโลหิตทั้งหมด เป็นที่มาของอาการฉ่ำเย็นตลอดทั้งร่างที่เรียกว่า "ปีติ" ระดับต่างๆขณะจิตเป็นอิสระไปจากข้อมูลของอายตนประสาท เพราะ เลือดและอายตนประสาทหยุดทำงาน โดยระบบน้ำเหลืองซึ่งส่วนใหญ่เป็นประจุอิสระค่าบวก ทำงานแทนที่เกือบทั้งหมดแล้ว ซึ่งเมื่อสัมพัทธ์กับสนามโน้มถ่วงดวงดาวของโลกและจักรวาล ก็จะเกิดปรากฏการณ์ของ อุตริมนุสสธรรมทั้งหลายขึ้น ตามบันทึกทั้งหมดในพระไตรปิฎก.