Buddha-sci-fi-muayThai-history-astrology-superstition-language-yoga-music-art-agricuture-herb-food

...I believe that meditation and healthy food are an essential human experience and should be freedom to learn too................................ Buddha-Dharma-Sangha-science-fiction-MuayThai-History-Astrology-Superstition-religion-Language-math-mind-universe-meditation-Yoga-Music-Art-Agricuture-Herb-Food...this is good health and life. All give us be Oneness. I will try to understand you and everybody around the world................ WE ALL ARE FRIENDSHIP......Truth me

Monday, December 31, 2018

Einstein wrote: “A human being is a part of the whole, called by us 'Universe'. He experiences himself, his thoughts and feelings as something separated from the rest."



Atthanij Pokkasab

28 ธันวาคม เวลา 06:27 น.
ในประสบการณ์วิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ฟิสิคส์ ระบบทุนนิยม;Capitalism ..ไม่มีโครงสร้างใดๆ ที่เป็นวิทยาศาสตร์เลยแม้แต่นิดเดียว
Capitalism เป็นลัทธิ #เดียรถีย์ แห่งวิทยาศาสตร์ธรรมชาติโดยตรงด้วยซ้ำ.

Einstein wrote: “A human being is a part of the whole, called by us 'Universe'. He experiences himself, his thoughts and feelings as something separated from the rest."

บทความนี้ดีมากๆ
ท่านกล่าวถึง "ประโยชน์ตน-ประโยชน์ท่าน" อย่างชัดเจน
ไม่ใช่แบบว่า "กำไรและผลประโยชน์ต้องเป็นของกรู ที่เหลือในการเก็บกวาดแก้ปัญหา...เป็นเรื่องของเมิง"
ใครมีเวลา อ่านให้หมดนะครับ มีอะไรดีๆแยะเชียว
...อ่ะ...แปลมาให้แระ >>>

นักฟิสิกส์ผู้ยิ่งใหญ่ฅนนี้ ไม่เคยเห็นข้อดีของระบบทุนนิยมเลยแม้แต่น้อย เขามองว่าระบบใดๆก็ตามที่ทำให้คนเกิดความขัดแย้ง-แข่งขันกัน ก็คือระบบที่ทำให้มนุษย์แปลกแยกออกห่างไปจากธรรมชาติรอบตัวด้วย
ผู้ฅนเคยใช้ชีวิตร่วมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ ซึ่งระบบสังคมในกลุ่มเล็กๆนั้นจะดูแลสมาชิกในกลุ่มได้เป็นอย่างดี
"แต่ช่วงเวลาอันสุขสงบเหล่านั้น ได้หมดสิ้นไปแล้ว เมื่อแต่ละฅน หรือแต่ละกลุ่มเล็กๆเหล่านั้นสามารถไปถึงจุดที่ "พึ่งตนเองได้" อย่างแท้จริง" ไอน์สไตน์กล่าว !!!!
พวกเราอยู่ในระบบเศรษฐกิจสังคมแบบโลกาภิวัฒน์ ซึ่งแต่ละฅนต่างแก่งแย่งกันเพื่อให้ได้มาซึ่งอาหาร ที่อยู่ และงาน.
"แต่ละคนจะตระหนักดีถึงความผูกพันกับระบบสังคมอย่างขาดไม่ได้ แต่กลับไม่เฉลียวใจเลยว่าความผูกพันเหล่านั้นไม่ได้เป็นไปในทางเจริญขึ้นแก่ชีวิต หรือความมั่นคง หรือสอดคล้องกับธรรมชาติ เพราะความผูกพันที่เป็นอยู่ขณะนี้คือ "พันธนาการ" คือภัยที่คุกคามทุกผู้ฅน ภัยที่กระชากสิทธิตามธรรมชาติของแต่ละบุคคลออกไปจนไม่เหลืออะไร" ไอน์สไตน์กล่าว "ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมสามานย์ที่กำลังดำเนินไปอยู่ในโลกขณะนี้ - ในความเห็นของผม - มันคือต้นกำเนิดของจอมมารตัวจริง"

โดยธรรมชาติของมนุษย์นั้น แม้จะมีการแข่งขันกันอยู่ในที แต่ก็จะยื่นมือให้ความช่วยเหลือผู้อื่นไปด้วย(เกิดเป็นสังคมพึ่งพา) แต่ระบบทุนนิยมกระตุ้นให้เกิด "การแข่งขันเพื่อแก่งแย่ง" และทำลายความเกื้อกูลอันดี ทำให้ความสัมพันธ์ในสังคมขาดสะบั้น
"ทุกผู้คนในโลกขณะนี้ ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งใดของสังคม, ก็ได้รับผลกระทบจากการล่มสลายของความสัมพันธ์อันดีนี้ ทุกคนถูกจองจำด้วยความเห็นแก่ตัว ด้วยอัสมิมานะของตนเองอย่างไม่รู้สึกตัว - ให้อยู่ในสถานะที่เปล่าเปลี่ยววังเวงไม่ปลอดภัย ออกห่างจากชีวิตที่เรียบง่ายและเป็นสุข" ไอน์สไตน์กล่าวต่อไว้ในบันทึก
แทนที่จะมีชีวิตอยู่กับสังคมที่เกื้อกูลกัน, ระบบทุนนิยมกระตุ้นให้นายทุนเข้ามาครอบครองอำนาจเพื่อเป้าหมายเพียง "กำไร"
"การผลิตทุกอย่างเป็นไปเพื่อกำไร, ไม่ใช่เพื่ออรรถประโยชน์ในการใช้งานจริง" ไอน์สไตน์เน้นย้ำ "จำนวนคนว่างงาน-ตกงานยังมีเป็นกองทัพให้เห็นโดยทั่วไป...ผลของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เห็นได้ชัดคือผู้ฅนตกงานมากขึ้นๆ ไม่ใช่การแบ่งเบาภาระในการทำงานหรือทำให้ชีวิตลูกจ้างดีขึ้นแต่อย่างใด"

ระบบการศึกษาเองก็ยิ่งส่งเสริมให้การแข่งขันเป็นไปอย่างผิดธรรมชาติ
"การปลูกฝังจิตสำนึกแห่งการแข่งขันแก่นักเรียนในสถานศึกษา การสอนให้เคารพยกย่องผู้คนที่ประสบความสำเร็จแต่ในด้านวัตถุ คือผลงานอันเยี่ยมยอดของจอมมารทุนนิยมนี้" ไอน์สไตน์กล่าวต่อไว้ในบันทึก (ระบบการศึกษามีแต่เรื่องอันเป็นเท็จ สอนแต่มิจฉาทิษฐิ -- จิ้งจก)
ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้ถูกจำกัดแค่ในรูปแบบของสังคม แต่ซึมลึกเข้าไปสู่จิตใจของผู้ฅนในสังคมด้วย แต่ละฅนถูกหล่อหลอมมาให้แปลกแยกออกจากนิเวศน์รอบตัว
"มนุษย์นั้นเป็นส่วนประกอบขององค์รวมที่เรียกว่า "จักรวาล" แต่ประสบการณ์-ความรู้สึก-ความคิด-ของแต่ละปัจเจกนั่นแหละที่ทำให้เกิดความแตกต่าง(ออกเป็นแต่ละบุคคล)" ไอน์สไตน์เขียนไว้ในบันทึก
...จุดนี้เองที่ทำให้ชีวิตต้องดิ้นรนแสวงหาปลายทางของใครของมัน...อย่างเปล่าเปลี่ยว
"ภาพลวงตรงนี้เองที่เหมือนคุกของทุกผู้คน, จำกัดเราไว้แค่เพียงตัณหาส่วนตน หรือคิดกว้างแค่เพียงผู้คนที่ใกล้ชิดกับตนเท่านั้น (กู กับ พวกของกู) เป้าประสงค์ของทุกฅนจริงๆก็คือการปลดปล่อยตนเองออกจากคุก เพื่อออกไปสู่เอกภาพหนึ่งเดียวแห่งความสวยงามของสังคมและจักรวาลทั้งมวลให้ได้" ไอน์สไตน์กล่าวเสริมไว้ในตอนท้ายของบันทึก.
--eof--

No comments: