Atthanij Pokkasap
ทำไมต้องเริ่มต้นที่ "สูรย์จันทร์" ?!!
สิทธิการิยะ
อันว่า สูรย์จันทร์ มีชื่อเต็มๆว่า สูรยะกลา และจันทระกลา
อาจเขียนเพี้ยนไปตามแต่ละตำราที่คัดลอกต่างกรรมต่างวาระ และยุคสมัย
เป็นเส้นทางเดินลมแห่งชีวิต ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ
"น้ำดีที่ไม่เป็นฝัก" ...มีลักษณะโครงสร้างเป็น "สมมาตร" ซ้าย-ขวา
ของร่างกาย
และ "น้ำดีที่ไม่เป็นฝัก"...เป็น ๑ ใน
"ปิตตะ"..๒ ชนิด โดย ปิตตะ ก็เป็น ๑ ใน ธาตุน้ำ ๑๒ ของ อาการ ๓๒ และเป็น
๑ ใน ๓ ของตรีธาตุ ...สมุฏฐานของการเกิดโรคป่วยไข้
ระบบที่มีลักษณะโครงสร้างเป็น "สมมาตร"
ภายในของร่างกายมนุษย์ที่มีชีวิต เท่าที่ปัจจุบันค้นพบ
มีเพียงระบบเดียว.....คือ...
"ระบบน้ำเหลือง(Lymphatic System)"
แต่..จิตสรีระศาสตร์...โดยการค้นพบของ กรรมฐานฝ่ายพุทธ พบว่า
น้ำดี-ปิตตะ เป็น ๑ ใน ๓ ของอาการ ๓๒ ที่เกี่ยวข้องกับ "จิต" โดยตรง(อีก
๒ อาการ คือ หัวใจ และตับ)
สมมาตรของ "น้ำดีแบบไม่เป็นฝัก" หรือ ระบบน้ำเหลือง
ของแผนปัจจุบัน
อาศัยลมแห่งชีวิต(ปราณ)...เป็นตัวขับเคลื่อนให้เอิบอาบเต็มตลอดโครงสร้างสมมาตรแห่งสรีระของมนุษย์นั้นๆ
ความเอิบอาบที่ขาดหายไป...จึงเป็นที่มาของโรค และความเจ็บไข้ได้ป่วยทั้งหลาย
นี้คือปฐมเหตุ ที่โบราณ ต้องมีการ ปรับพิกัด
สูรย์จันทร์ขับเคลื่อนใหม่ เรียกเป็นสำนวนว่า...
"การเปิดสูรย์จันทร์"
เเละเหตุที่สมมาตรสูรย์จันทร์ของหญิงชาย สลับกลับข้างกัน
นั่นเพราะ...ตอน...กลุ่มเซลล์ที่ทำการแยกตัวสังเคราะห์ ธาตุ ๔ ให้เป็น อาการ
๓๒..กับความเป็นสัตวบุคคลที่มีตัวชีวิต กลุ่มเซลล์จะมีการบิดตัวเพื่อแตกเซลล์ใหม่ขึ้นเป็นตัวอ่อนที่มีชีวิตสมบูรณ์ได้นั้น
ต้องอาศัยสูรย์จันทร์จากระบบการหายใจ..ซึ่งเป็นระบบที่เกิดขึ้นแรกสุดของตัวชีวิต
เป็นแกนหลักในการแตกเซลล์...สร้างตัวอ่อนที่สมบูรณ์
โดยเพศจะบิดตัวสร้างสมมาตรตรงข้ามกัน (โบราณ จึงทายเพศทารกได้จากพิจารณารูปสะดือของผู้เป็นมารดา)
เส้นแนวบิดตัวที่หลงเหลือติดตัวกันมา
เราเรียกว่า "ฝีเย็บ"
เมื่อกรรมและจิตสังเคราะห์ตัวอ่อนจากระบบหายใจสำเร็จแล้ว...แนวแกนสูรย์จันทร์ก็จะสลายไป
จะปรากฏในชีวิตอีกก็ต่อเมื่อเข้าสู่ห้องปฏิบัติการโยคะ แห่งกรรมฐานที่ถูกต้องเท่านั้น
จึงจะค้นพบตามบันทึกในคัมภีร์ดั้งเดิม
แต่ในทางรักษาโรค....
เป็นเพียงการดำเนินการไปตามการบอกเล่าของบันทึกในคัมภีร์ เท่านั้น
เมื่อตรงกับบันทึก และเป็นเรื่องจริง
โรค และอาการเจ็บไข้ได้ป่วยทั้งปวง
ก็ย่อมต้องหาย แล ฯ
"นายขยะ" Atthanij Pokkasap
04:00 น.
เช้าตรู่ ของวันพุธที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๙
No comments:
Post a Comment