มีอุบัติการณ์เวลาเป็นโครงสร้างสำคัญเรียกว่า
"
#ภวจักร"
ลักษณะเป็นสัมพัทธภาพระหว่าง โลกแห่งวัตถุ และโลกแห่งจิต มีรายละเอียดถูกรวบรวมเป็นภาคทฤษฎีไว้โดย พระราชานักปราชญ์แห่งสยาม คือ พ่อขุนพระญาลิไทย(พ.ศ.1890-1917) เป็นบทที่ 9 (นวมกัณฑ์) ชื่อว่า บท "
#อวินิพโภครูป"
ประกอบด้วยการคำนวณหาพิกัดดวงดาวในระบบสุริยจักรวาล เป็นสัมพัทธภาพ 5 ระบบด้วยกัน คือ
1. ระบบการหมุนรอบตัวเองของโลก
(วัน/24ชั่วโมง)
2. ระบบการหมุนรอบซึ่งกันและกัน
ระหว่างโลกกับดวงจันทร์
(เดือน)
3. ระบบการหมุนรอบดวงอาทิตย์ของโลก
(ปี)
4. ระบบการหมุนแกว่งของโลก
โดยสุริยจักรวาลรอบแกนดาวเหนือ
(ทักษา)
5.ระบบสัมพัทธภาพระหว่าง
วัตถุวิสัย(Objective)และจิตวิสัย(Subjective)
ที่มาของท้องฟ้าไตรภูมิ ซึ่งมีเขาพระสุเมรุ
เป็นศูนย์กลาง
ในการคำนวณหาวิถีโคจรของดวงอาทิตย์(รวิมรรค)
ใช้พิกัดหมู่ดาว 12 ราศี เป็นจุดนิ่งเพื่อกำหนดพิกัดดวงอาทิตย์ในแต่ละรอบ วัน/เดือน/ปี
ในการคำนวณหาวิถีโคจรของดวงจันทร์(จันทรมรรค) ใช้พิกัดหมู่ดาวนักขัตรฤกษ์ 27 กลุ่ม เป็นจุดนิ่งเพื่อกำหนด พิกัดดวงจันทร์ในแต่ละรอบ วัน/เดือน/ปี
โดยพิกัดเริ่มต้นที่ตำแหน่งซ้อนทับกันพอดีของระวิมรรคกับจันทรมรรค อยู่ที่กลุ่มดาวราศีเมษและหมู่ดาวอัศวินีฤกษ์ คือเดือนเมษายน
เดือนเมษายนจึงเป็นเดือนเริ่มต้นของการจัดระบบรวมของสัมพัทธภาพแห่งเวลาขนาดต่างๆที่ประกอบกันขึ้นมา
สัมพัทธภาพระหว่างเหตุการณ์อันเป็นโลกแห่งวัตถุ และโลกแห่งจิต ใช้ค่า จุติ-อุบัติ สูงสุดของปรมาตมันแห่งจิต คือ อรูปฌานที่4..เนวสัญญานาสัญญายตนะซึ่งเป็นตัวเลข 84,000 มหากัปป์ มากระจายเป็นอัตราอนุกรมเรขาคณิต แล้วใช้เป็นหน่วยนับลำดับเหตุการณ์
ในปรากฏการณ์เวลาส่วนที่เป็นโลกแห่งวัตถุ
เรียกเวลาจากการโคจรของดวงอาทิตย์ว่า
"
#ระบบสุริยคติ"
ในส่วนที่เป็นโลกแห่งจิตว่า
"
#สูรยกลา..Solar Plexus"
เรียกเวลาจากการโคจรของดวงจันทร์
ในส่วนที่เป็นโลกแห่งวัตถุ ว่า
"
#ระบบจันทรคติ"
ในส่วนที่เป็นโลกแห่งจิต ว่า
"
#จันทรกลา..Lunar Plexus"
นักปราชญ์ในยุคพระพุทธศาสนาเป็นเสาหลักอารยธรรมโลกตั้งแต่สมัยพุทธกาลจนถึงยุคทวารวดีที่สร้างอารยธรรมสากลบนลุ่มแม่น้ำสินธุ ล้วนคุ้นเคยชำนาญหลักการทางคณิตศาสตร์สัมพัทธภาพ นี้..ก่อนการค้นพบวิทยาศาสตร์สัมพัทธภาพของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นับพันๆปี เลยทีเดียว.
No comments:
Post a Comment