Buddha-sci-fi-muayThai-history-astrology-superstition-language-yoga-music-art-agricuture-herb-food

...I believe that meditation and healthy food are an essential human experience and should be freedom to learn too................................ Buddha-Dharma-Sangha-science-fiction-MuayThai-History-Astrology-Superstition-religion-Language-math-mind-universe-meditation-Yoga-Music-Art-Agricuture-Herb-Food...this is good health and life. All give us be Oneness. I will try to understand you and everybody around the world................ WE ALL ARE FRIENDSHIP......Truth me

Sunday, December 23, 2018

ประวัติศาสตร์ไสยศาสตร์ไทย



Atthanij Pokkasab

19 มิถุนายน 2015

#ประวัติศาสตร์ไสยศาสตร์ไทย
๑. ไสยศาสตร์ปรากฏเป็นจารึกคู่พระพุทธศาสนาขึ้นอยู่ใน จารึกบนฐานพระอิศวรสัมฤทธิ์ จังหวัดกำแพงเพชร พ.ศ.๒๐๕๓
๒. มีการบันทึกเรื่องราวพิธีกรรมอย่างเป็นระบบฉบับแรกสุดเป็นวรรณกรรม เรื่อง ลิลิตพระลอ ในรัชสมัย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ(พ.ศ.๑๙๙๑ - ๒๐๓๑)พร้อมๆกับการปรากฏของอาวุธปืน เพราะ พระลอ-พระเพื่อน-พระแพง สิ้นชีพิตักษัย ด้วยอาวุธปืนระดมยิงใส่
๓. ไสยศาสตร์ไทยพัฒนาขึ้นในฐานะวิชาควบคุมอานุภาพอาวุธปืน ถูกใช้ในการพิชัยสงคราม อย่างชัดเจน ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช-สมเด็จพระเอกาทศรถ(พ.ศ.๒๑๓๓-๒๑๕๓) ทำให้ชาวตะวันตกนักล่าอาณานิคมรุ่นแรก คือ โปรตุเกส และฮอลันดา สลายอานุภาพนักล่า มาเป็นกองพันปืนทหารอาสา อยู่ใน หกกองทหารอาสา เกรียงไกรในกองทัพแห่งราชอาณาจักรสยาม
๔. เช่นเดียวกับข้อ ๓. แต่เป็นยุคสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช(พ.ศ.๒๑๙๙-๒๒๓๑)ที่ทรงส่งตัวแทนไสยศาสตร์ไทยพิชัยสงครามอย่างเป็นทางการไปแสดงถึงกรุงปารีส ทำให้ชาวตะวันตกนักล่าอาณานิคมรุ่นถัดมาอย่างฝรั่งเศส และ, ชะงัก ไม่สามารถแสดงอานุภาพนักล่าอาณานิคม
นอกจากเข้ามาเป็นทหารอาสากองฟันปืนใหญ่อยู่ใน, จนถึงรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว(พ.ศ.๒๓๖๗-๒๓๙๔) ที่อังกฤษได้อินเดีย จีน และโดยเฉพาะพม่าอังกฤษเข้าครอบครองหมดและเสนอแบ่งให้ในหลวงรัชกาลที่ ๓ ท่านครึ่งพม่า

การกล่าวถึงไสยศาสตร์ไทยในปัจจุบัน..
ขอประณามพวกไม่รู้จริง และไม่เคยศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทยเลยทุกคนครับ ที่ไร้ยางอาย ไร้สำนึก กล้าโกหก อวดรู้ในสิ่งที่ตนไม่ได้มีความรู้ เลย
เป็นพฤติกรรมทางวิชาการที่เลวทรามหาที่เปรียบมิได้ ครับ!!!!!

No comments: