Buddha-sci-fi-muayThai-history-astrology-superstition-language-yoga-music-art-agricuture-herb-food

...I believe that meditation and healthy food are an essential human experience and should be freedom to learn too................................ Buddha-Dharma-Sangha-science-fiction-MuayThai-History-Astrology-Superstition-religion-Language-math-mind-universe-meditation-Yoga-Music-Art-Agricuture-Herb-Food...this is good health and life. All give us be Oneness. I will try to understand you and everybody around the world................ WE ALL ARE FRIENDSHIP......Truth me

Friday, December 28, 2018

Quantum Physics Lab of Mind in Buddhism's History



The Buddhism Explorer

25 ธันวาคม เวลา 18:34 น.




Quantum Physics Lab. of Mind
in Buddhism's History
#ข่าวสารจากพุทธกาล
ตอน ๏ #จูฬเวทัลลสูตร ๚๛
มูลปัณณาสก์ มัชฌิมนิกาย
พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ เล่ม12/45

Cr. Atthanij Pokkasab
5 เม.ย.2018, 08:48 น.
เป็นการสนทนาธรรมแสดงการบรรลุพระอริยธรรมระหว่างสามีภรรรยาผู้เป็นคฤหบดีชาวกรุงราชคฤห์คู่หนึ่ง ฝ่ายสามีนั้น ชื่อว่า วิสาขะอุบาสก ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าสามครั้ง
ครั้งที่หนึ่ง..
เข้าเฝ้า ในฐานะคฤหบดีราชบริพารของพระเจ้าพิมพิสาร มหาราชจอมแคว้นมคธ ฟังธรรมครั้งแรก วิสาขะอุบาสกก็บรรลุธรรมได้เป็นพระโสดาบัน
ครั้งที่สอง..
เข้าเฝ้า ตามหน้าที่อุบาสกชาวกรุงราชฤคฤห์ ฟังธรรมครั้งนี้ สำเร็จสกทาคามิผล
ครั้งที่สาม..
ทำหน้าที่อุบาสกในพระเวฬุวันวิหาร เช่นเดียวกับครั้งที่สอง ฟังธรรมแล้ว ก็ได้สำเร็จอนาคามิผล
ในครั้งที่สามนี้เอง เมื่อกลับเคหาสนสถาน อาการสำรวมอินทรีย์ที่เสมอกับพระโยคาวจรภิกษุอันมีมาโดยมรรคผลก็ได้ปรากฏแก่ นางธรรมทินนาผู้เป็นภรรยา
นางผู้เป็นภรรยาอดทนให้กับอาการสำรวมอินทรีย์อันผ่องใสแปลกตาของ วิสาขะอุบาสกได้ สามวันล่วงแล้วจึงได้ไต่ถามว่านางทำผิดอะไร อย่างใดแก่ผู้เป็นสามีหรือ วิสาขะอุบาสกถึงไม่แสดงกิริยาปกติดังที่เคยเป็นมา แม้แต่การพูดจาด้วยก็ไม่มี
วิสาขะอุบาสก เห็นว่า #อันโลกุตตรธรรมนี้เป็นของหนักใครๆไม่ควรเปิดเผยแต่ถ้าไม่บอก #ธัมมทินนาก็จักมีหัวใจแตกสลายตายในเสียที่นี้ จึงบอกยกทรัพย์ ที่มีอยู่ทั้ง หมด 80 โกฏิ พร้อมอิสระจากความเป็นสามีภรรยาแก่นางผู้เป็นภรรยา
นางธัมมทินนาได้ฟังก็รู้ด้วยปัญญาว่าสามีตนต้องได้สำเร็จโลกุตตรธรรมแน่นอนแล้ว จึงถามคืนว่า
นางธัมมทินนา ถึงว่า
"เมื่อเป็นได้อย่างนั้น ขอท่านพี่จงอนุญาตให้ข้าพเจ้าบรรพชาเถิด"
ท่านวิสาขะอุบาสกจึงว่า
"ดีแล้ว ดีแล้ว ธัมมทินนา ถึงเราก็ประสงค์จะชักนำเธอในทางนี้ แต่ไม่รู้จักใจเธอ จึงไม่ได้บอก เมื่อเธอบอกมา พวกเราพากันไปเข้าเฝ้าขออนุญาตมหาราชากันเถิด"
***เศรษฐีในสมัยพุทธกาลนั้น เป็นได้ต้องมีการรับรองโดยมีพระราชาโปรดเกล้าแต่งตั้งขึ้นมา มีการพระราชทานฉัตรเศรษฐี คือมีกฎหมายรับรองนั่นเอง
เมื่อสองสามีภรรยาคฤหบดีเข้าเฝ้าและกราบทูลความประสงค์ พระเจ้าพิมพิสารก็มีพระราชโองการให้โอกาส และทรงตรัสถามความต้องการตามประเพณีที่พึงอุปถัมภ์สงเคราะห์แก่การบรรพชาของนางธัมมทินนา ซึ่งนางธัมมทินนาก็กราบทูลขอตามประเพณีขณะนั้น ซึ่งก็คือ ขอพระราชทานวอทองคำ กับการตกแต่งพระนครราชคฤห์ เป็นการรองรับการประกาศบรรพชาของนางธรรมทินนา อย่างเป็นทางการ
วิสาขะอุบาสกให้นางธัมมทินนาอาบสรงกายด้วยน้ำหอมปรุงแล้ว ก็ตกแต่งเครื่องประดับทุกประการอันเศรษฐีพึงมี แล้วให้ขึ้นนั่งวอทองคำ หามแล้วห้อมล้อมด้วยหมู่ญาติและบริวาร บูชาด้วยดอกไม้และเครื่องหอมนานา แห่ไปสู่สำนักภิกษุณี
#ต้นกำเนิดประเพณีการแห่นาค
อยู่ที่ประเพณีของชาวกรุงราชคฤห์ที่ปรากฏเป็นงานบรรพชาของนางธัมมทินนา นี้เอง!!!
นางธัมมทินนาบวชเป็นภิกษุณีได้ไม่นาน
ด้วยความเป็นหญิงมากด้วยปฏิภาณปัญญา
แม่เจ้าธัมมทินนาเถรี จึงขอโอกาสพระเถรี
ผู้เป็นอาจารย์และพระอุปัชฌาย์
ไปสู่ชนบทกันดารเพื่อบำเพ็ญสมณธรรม
เพียงไม่กี่วันก็สำเร็จกิจสูงสุดของพระศาสนา
เป็นพระอรหันต์
จึงจากชนบทเดินทางกลับมาสู่กรุงราชคฤห์
#เพื่อสงเคราะห์ลาภสักการะแก่ภิกษุณีสงฆ์ผู้ยังลำบากด้วยปัจจัยทั้งหลาย
กับสงเคราะห์ญาติทั้งหลายด้วย
ใน จูฬเวทัลละสูตร มีอยู่หลายตอนที่ วิสาขะอุบาสกสนทนาธรรมเพื่อ #ตรวจสอบอรหัตภูมิ ของท่านพระแม่เจ้าธัมมทินนาเถรี
ดังตัวอย่างที่เป็นจุดประสงค์ของการนำมาถ่ายทอดในครั้งนี้ ครับ...
๏ #วิสาขะอุบาสกปุจฉา.....
"ข้าแต่พระแม่เจ้า....
1. #สมาธิได้แก่สิ่งใด?
2. #ธรรมอันเป็นนิมิตแห่งสมาธิได้แก่สิ่งใด?
3. #ธรรมอันเป็นบริกขารแห่งสมาธิได้แก่สิ่งใด?
4. #สมาธิภาวนาได้แก่สิ่งใด?"

๏ #ท่านพระธัมมทินนาเถรีวิสัชนา....
"ท่านวิสาขะผู้เจริญ
1. #เอกัคคตา แลชื่อว่า #จิตเป็นสมาธิ,
2. #สติปัฏฐาน4 ชื่อว่า ธรรมอันเป็นนิมิตแห่งสมาธิ,
3. #สัมมัปปธาน4 ชื่อว่า ธรรมอันเป็นบริกขารแห่งสมาธิ,
4. #การกระทำให้มากซึ่งธรรม เหล่านี้คือ เอกัคคตาจิต, สติปัฏฐาน 4, สัมมัปปธาน 4 นี้แล #เป็นสมาธิภาวนา"
..... ..... .....


***ถอดความขยายเคล็ด :--

๏ เอกัคคตาจิต
หมายถึง มโนวิญญาณที่เป็นอิสระพ้นไปจากข้อมูลประสบการณ์ของอินทรีย์ 5 (ตา หู จมูก ลิ้น กาย)
มโนวิญญาณ เป็น ปรากฏการณ์จาก "มโนธาตุ/วิญญาณธาตุ/มโนวิญญาณธาตุ" ที่เรียกชื่อเฉพาะว่า "#ปฐมจิต" บ้าง "#ภวังคจิต" บ้าง มีลักษณะเป็นควอนตัม อุบัติขึ้นจากหลุมในหัวใจ แล้วมีจากเยื่อในกระดูกแผ่หนุนตามมาเป็นระลอกคลื่น ใน โปฏฐปาทสูตร สีลขันธวรรค ทีฆนิกาย เรียกว่า "#กระแสวิญญาณ" ..หากเข้ารวมกับ พลังงานที่เกิดจากไวเบรชั่นของอายตนประสาท คือ จักขุวิญญาณ/โสตวิญญาณ/ฆานวิญญาณ/ชิวหาวิญญาณ/กายวิญญาณ จะกลายเป็น ตัณหา 3 ที่ขับเคลื่อนกิจกรรมความมีความเป็น ทั้งปวงในขณะชีวิตของสัตวบุคคลทันที

๏ สติปัฏฐาน 4
หมายถึง กายานุปัสสนา, เวทนานุปัสสนา, จิตตานุปัสสนา และธัมมานุปัสสนา โดยย่อว่า กาย-เวทนา-จิต-ธรรม บวก อนุปัสสนา ...อนุปัสสนาหมายถึง การเห็นภายในอันเนื่องด้วย....กาย... เนื่องด้วยเวทนา เนื่องด้วยจิต และเนื่องด้วยธรรม มีเท็คนิคพื้นฐานอยู่ที่ลมหายใจออก-ลมหายใจเข้า เพราะลมหายใจเป็นเหตุที่มาของกายที่เชื่อมโยงจิต ลมหายใจจึงมีชื่อเป็นศัพท์เท็คนิคเฉพาะว่า
#กายสังขาร
โดยมีฐานรูปธรรมของระบบปสาทรูป(Nervous System) ระบบน้ำเหลืองและถุงน้ำดี(Lymphatic System and Gallbladder) ประกอบ เซลล์เนื้อเยื่อตลอดทั้งร่าง 100 ล้าน-ล้านเซลล์ รองรับ
การสื่อสารในระหว่างเซลล์(ใช้คลื่นระหว่าง 20Hz ถึง 1,000 Hz) และความทรงจำในเซลล์ 5,000 ล้านบิทของแต่ละเซลล์ รองรับ และพระพุทธศาสนา เรียกระบบการสื่อสารประกอบการทรงจำค่ามหึมานี้ว่า "สัญญา" มีหน่วยวัดค่ามโหฬารเรียกว่า "กัลป์,กัลป์" คือ หนึ่งช่วงอายุขัยของดาราจักรทางช้างเผือก
๏ สัมมัปปธาน 4 หมายถึง
1.สังวรปธาน
การเพียรปิดกั้นบาปอกุศลที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิด( สูงกว่าสติที่แยกแยะดี-ชั่วขึ้นมาอีกขั้น)
2.ปหานปธาน
การเพียรกำจัดบาปอกุศลที่เกิดแล้วให้สิ้น
3. ภาวนาปธาน
การเพียรให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
(กุศล คือเหตุการณ์ที่ประกอบด้วยสติปัญญาที่เป็นความงดงามแยกแยะเหนือ ดี-ชั่ว แล้วให้คุณที่มาของศัพท์เท็คนิคเฉพาะว่า #คุณธรรม)
4.อนุรักขนาปธาน
การเพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดแล้ว ให้ตั้งมั่นและเจริญไพบูลย์ยิ่งๆขึ้น
ขอความเจริญในอารยธรรมแห่งมนุษยธรรม
และอุตริมนุสสธรรม จงมีในท่านผู้สนใจจริงทุกท่าน เทอญ.


No comments: