Buddha-sci-fi-muayThai-history-astrology-superstition-language-yoga-music-art-agricuture-herb-food

...I believe that meditation and healthy food are an essential human experience and should be freedom to learn too................................ Buddha-Dharma-Sangha-science-fiction-MuayThai-History-Astrology-Superstition-religion-Language-math-mind-universe-meditation-Yoga-Music-Art-Agricuture-Herb-Food...this is good health and life. All give us be Oneness. I will try to understand you and everybody around the world................ WE ALL ARE FRIENDSHIP......Truth me

Friday, December 28, 2018

"พลังอัสมิตา กับการรักษาโรค"




"พลังอัสมิตา กับการรักษาโรค"
พูดถึง อัสมิตา
คือกระบวนการกักลมในขณะที่เราหายใจออกจนสุดแล้วกัก
กักแล้วเขย่าด้วยวิธีการกระโดดแบบเหยาะฯจนสุดลมที่เรากักไว้ เหมือนกันในทางกลับกันก็หายใจเข้าจนสุดแล้วกัก
กักแล้วโดดเหยาะฯ จนสุดลมที่กัก แล้วคลายลมหายใจออกหายใจตามปกติ
หลายคนกักแบบเต็มกำลังย่อมมีอาการเวียนหัว ฉี่เร็ด ผายลม บางคนเป็นตะคิว บางคนฝึกแบบสายอ่อนคือ ตามลมดูลมจับอาการแล่นของลม
ทั้งสองสายย่อมก่อให้เกิดผลดีต่อร่างกาย
คือลมที่คั่งค้างในกายได้ถูกการเขย่าจนเกิดการหมุนเวียนกระบวนการขับเคลื่อนถ่ายเทของเสียก็ดีขึ้น
อาหารใหม่พลังงานใหม่ฯเข้าไปหล่อเลี้ยงเซลล์ได้ดีขึ้น ผู้ปฏิบัติอย่างถูกวิธีจึงแข็งแรงขึ้นตามที่ได้ฝึกกันมาครับ
เสมหะในคอ ในอก แสบอก จุก ถ่ายไม่ออก ท้องผูก เหนื่อยง่ายอาการเหล่านี้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แม้นแต่พุงก็ยุบลงอย่างเห็นได้ชัด(ถ้าทำถูกวิธี)
สิ่งที่ได้ตามมาอีกอย่างหนึ่งคือพลังแห่งสมาธิจากการที่ฝึกมาแล้ว
พลังสมาธิที่ได้จากอัสมิตาเป็นพลังที่มีความละเอียดสุขุม อบอุ่นลุ่มลึกมากฯ
น่าจะเปรียบได้กับพลังงานเมตตาชั้นสูงหรือจะเปรียบเหมือนพลังงานบวกของร่างกายเราครับ
ถ้าพูดถึงลม เราจะพูดถึง ลักษณะของลม
วาโยทำหน้าที่เป็นผู้ขับเคลื่อน,ผลักดันให้ไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย เป็นตัวที่เคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่ง รวมถึงความแปรปรวน

วาโย(ธาตุลม) 6 อย่าง
1.ลมหายใจเข้าออก ก็จะทำหน้าที่หายใจเข้าและออกเท่านั้น
2.ลมอุทังคมาวาตา ก็จะทำหน้าที่พัดขึ้นอย่างเดียว
3.ลมอโธคมาวาต ก็จะทำหน้าที่พัดลงอย่างเดียว
4.ลมกุจฉิ จประจำท้องดันไส้พุงไม่ให้ติดกับลำตัว
5.ลมโกฏฐา ประจำท้องแต่อยู่ในไส้ดันไส้พุงไม่ให้แฟบติดกัน
6.ลมอังคมังคา ทำการไหลเวียนไปทั่วกายเท่านั้น
.....แต่ถ้าจะดูละเอียดกลับไปดูสิ่งที่โพสก่อนหน้านี้

เรื่องลม 6 กอง และลมนี้ถ้าจะให้โทษเป็นเพราะ ลมอุทังและอโธค ไม่รู้กันวิ่งมาชนกัน จนอาการ 32 เคลื่อนไปกลายเป็น
อัมพฤกษ์และอัมพาต
.
ส่วนภาคสรีระคืออธิบายการทำหน้าที่พบว่า
คัมภีร์จินตามณิฏีกาของอมรโกสอภิธานกล่าวว่า
หทเย ปาโณ คุเทปาโน สมาโน นาภิมชฺฌฏฺโฐ,อุทาโน กณฺฐเทเส ตุ พฺยาโน สพฺพงฺคสนฺธิสุ.
แปล ลมที่ไหลเวียนอยู่ในหัวใจ ชื่อว่าปาณะ, ลมที่ระบายออกทางทวารหนัก ชื่อว่าอปานะ,
ลมที่ตั้งอยู่ช่วงกลางสะดือ ชื่อว่าสมานะ, ลมที่เปล่งออกทางลำคอ ชื่อว่าอุทานะ,
ลมที่ไหลเวียนไปทั่วร่างกาย ชื่อว่าพยานะ หมายความว่า
ร่างกายเรายังมีลมที่ทำหน้าที่ภายในไปมีส่วนกับระบบในธาตุวาโยที่นับเป็น กอง
ให้สอดคล้องกันไปตามหน้าที่ในแต่ละส่วน และลมอีกนี่แหละสำคัญที่สุด


เมื่อเราพิจารณาเราจะรู้สึกถึงการวิ่งของลมและบรรยายออกมาเป็นเส้นสิบ ท่านจึงขยายลมออกมา ตามหน้าที่อีก 5 ชนิด ดังนี้
.
(1) ปาณะ คือ ลมที่ใช้กลืนอาหารเข้าไป เป็นชื่อเรียกปราณในบริเวณจากลำคอลงมาถึงบริเวณทรวงอก
ทำหน้าที่ให้พลังการทำงานแก่ร่างกาย โดยผ่านการหายใจดูดซับปราณจากภายนอกเข้าสู่ร่างกาย
ปราณะ(อยุรเวทเรียกปราณะ) มี 3 กรรม
1) หน้าที่ปรกติและไม่ปรกติของจิตใจ
2) หน้าที่เกี่ยวกับปัญจอินทรียะ รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส
3) หน้าที่เกี่ยวกับการเดินของโลหิต การหายใจ และการกลืนอาหาร โดยตำแหน่งอยู่ในศีรษะ อก หู ลิ้น ปาก จมูก
ควบคุมอวัยวะเหล่านี้ให้เป็นปกติ ถ้า ปราณะวายุ ไม่ปกติ อวัยวะดังกล่าวก็พิการ เช่น สะอึก หอบ ฯลฯ

.
(2) อปานะ คือ ลมที่ช่วยเบ่งปัสสาวะและอุจจาระออกไป
เป็นชื่อเรียกปราณในบริเวณจากสะดือลงมาถึงปลายเท้า
ทำหน้าที่เกี่ยวกับการกำจัดของเสีย สิ่งสกปรกออกจากร่างกาย รวมทั้งการเคลื่อนไหวของร่างกายส่วนล่าง
มีกรรมเดียว คือ
หน้าที่ควบคุมการขับถ่าย มละ
ตำแหน่งอยู่ที่หัวเหน่า กระเพาะปัสสาวะ ลูกอัณฑะ สะดือ สะเอว โคนขา ทวารหนัก ทำและหลั่งน้ำกาม ปัสสาวะ อุจจาระ ขับโลหิตระดูของสตรี และเป็นลมเบ่งในการออกลูก
ลมนี้มีมากที่ส่วนล่างในไส้เล็กด้วยเหมือนกัน

.
(3) สมานะ คือ ลมที่ช่วยย่อยอาหาร เป็นชื่อเรียกปราณในบริเวณจากทรวงอกถึงบริเวณสะดือ
ทำหน้าที่เกี่ยวกับการย่อยอาหาร ให้ความร้อนแก่ร่างกาย สมานะวายุ
มีกรรมเดียว คือหน้าที่ควบคุมการย่อยอาหาร
อยู่ตามท่อของต่อมเหงื่อ ขับถ่ายมละของวาตะ ปิตตะ และเสมหะ ควบคุมความร้อนของร่างกาย ให้ความร้อนแก่ร่างกาย
ควบคุมกระเพาะอาหาร ไส้เล็ก ช่วยในการย่อยอาหาร ร่วมกับไฟธาตุ
ถ้าพิการ ทำให้ธาตุพิการ เป็นบิดฯลฯ

.
(4) อุทานะ คือ ลมที่เปล่งออกมาขณะพูดและขับร้อง
เป็นชื่อเรียกปราณในบริเวณจากลำคอขึ้นไปถึงศีรษะทั้งหมด
ทำหน้าที่เกี่ยวกับการพูด การทำให้ตัวเบา การทำให้ลอยตัว ผู้ที่รู้วันตายของตัวเองล่วงหน้า
และเมื่อช่วงเวลานั้นมาถึงจะกำหนดจิตที่ปราณบริเวณนี้ก่อนละสังขาร อุทานะวายุ
มีกรรมเดียว คือการพูด
ตำแหน่งอยู่ที่บริเวณสะดือ ในอก และคอ ทำให้พูด ให้ออกกำลัง ฯลฯ
ถ้าพิการ ทำให้อวัยวะเหนือกระดูกไหปลาร้า ขึ้นไปไม่ปรกติ

.
(5) พยานะ คือ ลมที่ไหลเวียนไปทั่วร่างกาย
ช่วยขับเหงื่อไคลและเสมหะเป็นต้น
เป็นชื่อเรียกปราณที่กระจายอยู่ทั่วร่าง
ทำหน้าที่เกี่ยวกับการไหลเวียนของโลหิตและระบบประสาท รวมทั้งการทำให้ปราณแต่ละแบบกระจายพลังงานไปทั่วร่างกาย

พยานะมี ๓ กรรม คือ
๑) หน้าที่ควบคุมเส้นหรือท่อโลหิต
๒) หน้าที่ควบคุมความรู้สึก
๓) หน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว
มีอยู่ที่ร่างกาย ควบคุมการเคลื่อนไหว ควบคุมการไหลของเลือด น้ำเหลือง ขับเหงื่อ การยืดหดของกล้ามเนื้อแขนขา การกระพริบตา และอื่นๆทั่วไป
ถ้าพิการ เช่นเวลาเป็นไข้ พลอยทำให้อวัยวะทั้งหลายวิปริตไปหมด
....เมื่อพิจารณาทางแผนไทย ก็คือลมกลุ่มกองหยาบ
ซึ่งเรารวมโรคลมที่เกิดจากลมกองหยาบ คือ
ลมหายใจเข้าออก ลม ในท้อง และลำไส้ มักจะมีอาการจุกแน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียน เรอ และขับผายลม เป็นต้น
.
อีกส่วนอยู่ในเรื่องของจิตใจ

ในเรื่องจิต,และวิญญาณ เราเรียก สุมนา ตามที่เคยกล่าวไว้แล้ว 3 อย่าง คือ
1. หทัยวาตะ หมายถึง ลมเกี่ยวกับหัวใจ จิตใจหรือลมที่ทำให้หัวใจเต้น

2. สัตถกวาตะ หมายถึง ลมที่คมเหมือนอาวุธลักษณะรวดเร็วฉับพลัน เล็ก แหลม เจ็บแปลบ เกิดจากปลายประสาท

3. สุมนาวาตะ เส้นสุมนา คือเส้นกลางลำตัว รวมระบบไหลเวียนของเลือดและประสาท หรือ
อื่น ๆ ที่มีผลต่อการเคลื่อนไหว
อยู่กลางลำตัว เป็นตัวโยงความรู้สึกของใจผูกไว้กับสมอง
เมื่อผิดปกติไปเกิดโรคกองละเอียด
มีอาการจับให้หน้ามืด ตาลาย เวียนศีรษะ ใจสั่น สวิงสวาย อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ตกใจ เสียใจ แพ้ท้องเป็นต้น

No comments: