Buddha-sci-fi-muayThai-history-astrology-superstition-language-yoga-music-art-agricuture-herb-food

...I believe that meditation and healthy food are an essential human experience and should be freedom to learn too................................ Buddha-Dharma-Sangha-science-fiction-MuayThai-History-Astrology-Superstition-religion-Language-math-mind-universe-meditation-Yoga-Music-Art-Agricuture-Herb-Food...this is good health and life. All give us be Oneness. I will try to understand you and everybody around the world................ WE ALL ARE FRIENDSHIP......Truth me

Friday, December 28, 2018

Scytheics 's History ; ธนุรเวท





เกร็ดเก๋ากึ๊กส์ โดย อัตถนิช โภคทรัพย์ - Atthanij Pokkasab

26 ธันวาคม เวลา 04:27 น. 





#Scytheics 's History ; ธนุรเวท


Cr. Atthanij Pokkasab
19 มี.ค.2014 18:20 น.
อานุภาพสูงสุด ของอาวุธสงคราม สมัยพุทธกาล
เป็น เทคโนโลยี จาก ศิลปศาสตร์ธนุรเวท(Scytheics)

สมัยพุทธกาล มีผู้สามารถใช้เพียง ๓ ท่าน ;

๑. เจ้าชายสิทธัตถะ ราชกุมารแห่งนครกบิลพัสดุ์

๒.เจ้าชายพันธุละ มัลลบุตร มหาเสนาบดี แห่งแคว้นโกศล

๓.พระเจ้าอุเทน มหาราชานครโกสัมพี แห่งแคว้นวังสะ
หมายเลข ๓
พระเจ้าอุเทน มหาราชา ต้นกำเนิดผู้ขอพระพุทธานุญาต จำลองสร้างพระพุทธรูป(กำเนิดพระพุทธรูป) ไว้กราบระลึกถึง เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าจะเสด็จจำพรรษาบนดาวดึงส์
วิชาใช้อาวุธ จาก ศิลปศาสตร์ธนุรเวท ของพระเจ้าอุเทน ได้รับการถ่ายทอดจากพระราชฤๅษีพ่อเลี้ยง..คือราชฤๅษีอัลลกัปปะ ถ่ายทอดให้พร้อมกับพิณมนต์บังคับช้างป่า "หัสดีกันต์"

มีคำบรรยาย ถึง อาวุธของพระเจ้าอุเทน ดังนี้ ;
๑. ธนู หรือเครื่องยิง มีสัณฐาน เหมือนงาช้าง
๒. มีกำลังแห่งการโก่ง ของบุรุษแข็งแรงพันหนึ่ง(กำลัง ๑,๐๐๐ ชายฉกรรจ์)

ลูกศรที่ยิงออกไป มีลักษณะ ดังนี้ ;
๑. ย่อมแทงทะลุตลอดแม้แผ่นศิลายักษ์
๒. ฐานะที่กระทบอากาศไม่มี(ทะลุกำแพงเวลา)

พระเจ้าอุเทนไปเสียท่าเพราะ ยิงใส่พระนางสามาวดีกับนางกำนัลทั้ง ๕๐๐ จะให้ลูกศรทำลายพระนางกับสาวกำนัลให้ตายพร้อมกันทันที(ถูกใส่ร้ายโดยพระนางมาคันทิยา) แต่ ถูกอำนาจเมตตาจิตของพระนางสามาวดีกับนางกำนัลทั้ง ๕๐๐ เป็นบาริเออร์สะท้อนย้อนกลับ พุ่งเข้าไปจ่อที่หัวใจพระเจ้าอุเทน จนพระเจ้าอุเทน ต้องทิ้งคันเครื่องยิง นั่งกระหย่งประคองอัญชลีไหว้พระนางสามาวดี ตรัสว่า..

"น้องหญิงสามาวดีเอ๋ย
ขอเธอจงต้านทานลูกศรแห่งเราไว้
ขอเธอจงเป็นที่พึ่งแห่งเราด้วย
เราฟั่นเฟือนแล้ว เราเลือนหลงแล้ว
ทิศทั้งปวงมืดสนิทไม่ปรากฏแก่เราแล้ว."

พระนางสามาวดีตรัสตอบว่า..
"ข้าแต่ มหาราช !
หม่อมฉันถึงผู้ใดเป็นที่พึ่ง
ก็ขอให้พระองค์จงถึงผู้นั้นเป็นที่พึ่ง
ดังเช่นหม่อมฉันเถิด เพคะ
ข้าแต่ มหาราชเจ้า!
ผู้นั่นคือพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้านั้นเป็นผู้เยี่ยมยอด
ขอพระองค์จงถึงพระพุทธเจ้า พระองค์นั้น
เป็นที่พึ่ง เถิด
และพระองค์ก็ทรงเป็นที่พึ่งของหม่อมฉันด้วย."


ศิลปศาสตร์ธนุรเวท เผชิญกับมหาสาวิกาผู้เลิศด้วยเมตตา
เป็นบันทึกอันยิ่งใหญ่ตอนหนึ่งของประวัติศาสตร์อารยันสมัยพุทธกาล ครับ
อยู่ร่วมตอนกำเนิดพระพุทธรูปด้วย...
ไม่ใช่อย่างที่เอามาทำเป็นความรู้ที่หลายท่านเคยรู้กันครับ.



No comments: