Buddha-sci-fi-muayThai-history-astrology-superstition-language-yoga-music-art-agricuture-herb-food

...I believe that meditation and healthy food are an essential human experience and should be freedom to learn too................................ Buddha-Dharma-Sangha-science-fiction-MuayThai-History-Astrology-Superstition-religion-Language-math-mind-universe-meditation-Yoga-Music-Art-Agricuture-Herb-Food...this is good health and life. All give us be Oneness. I will try to understand you and everybody around the world................ WE ALL ARE FRIENDSHIP......Truth me

Monday, January 7, 2019

Jagriyanuyoga ; Fundamental Study to Separate the Spirits between the Five Sense from Nervous System and the Sixth Sense from Lymphatic System with Gallbladder to Jhan.



The Buddhism Explorer

เมื่อวานนี้ เวลา 10:13 น.



ชาคริยานุโยค ;
เท็คนิคเพื่อทักษะในการได้ฌาน-สมาธิ-สมาบัติ
ตามหลักคำสอนที่มาในพระไตรปิฎก
Jagriyanuyoga ;
Fundamental Study to Separate the Spirits
between the Five Sense from Nervous System and the Sixth Sense from Lymphatic System with Gallbladder to Jhan[Concentration of Consciousness].

ชาคริยานุโยค
แปลว่า โยคะที่สืบเนื่องด้วยการตื่น หรือทั่วๆไปว่า การตามประกอบด้วยการตื่นให้มาก
ท่านพระสารีบุตร อธิบายไว้ย่อๆว่า
"ความหมายของภิกษุไม่พึงทำความหลับให้มาก คือ ภิกษุพึงแบ่งกลางคืนและกลางวัน เป็น 6 ส่วน โดยตื่นอยู่ 5 ส่วน หลับอยู่ส่วนหนึ่ง
จาก ข้อ(750) มหานิทเทส ขุททกนิกาย
พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ เล่ม 29/45

และแบบอุกฤษฎ์
ซึ่งปรากฏทั่วไปในบันทึกนั้น จะตื่นต่อเนื่องให้เป็นอิสระไปจากสำนึกเวลาภายในจิต ทั้งกลางคืนกลางวัน ดังปรากฏใน "มหัปผลสูตร" ว่าด้วยอิทธิบาทภาวนา ข้อ(1147) มหาวารวรรค สังยุตตนิกาย ซึ่งสามารถบรรลุได้แบบฉับพลัน ตามที่ทรงตรัสรับรองไว้ตอนท้่าย "มหาสติปัฏฐานสูตร" ในมหาวรรค ทีฆนิกาย
เป็นทักษะที่พัฒนามาจากปฏิสัมภิทา คือแตกฉานใน อุปปริกขะ 3 ว่าด้วย ธาตุ, อายตนะ และปฏิจจสมุปปาท ข้อ(124) สัตตัฏฐานสูตร นิทานวรรค สังยุตตนิกาย มาแล้วเป็นอย่างดี เท่านั้น

ในคัมภีร์มิลินทปัญหา เรียกเท็คนิคในการสร้างทักษะเพื่อการตื่น นี้ว่า
"มิทฺธสฺสติวิธา"
แปลว่า วิธีการประคองสติในขณะหลับ
แบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ
1. อาทิมิทฺธสฺสติวิธา
2. มัชฌิมมิทฺธสสติวิธา
3. ปริโยสานมิทฺธสฺสสติวิธา

อย่างไรคือสติ?
อย่างไรคือการหลับ?
ในอาการ32
สติร่วมสัมปชัญญะ..ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
มีรูปธรรมรองรับ คือ
"ปิตตะทั้ง 2"
หมายถึง พัทธปิตตะ;ถุงน้ำดี
อพัทธปิตตะ;ระบบน้ำเหลือง
...Lymphatic System with Gallbladder
ความสามารถในการทำงานสมบูรณ์เต็มที่ตลอดข่ายใยของระบบน้ำเหลืองและถน้ำดี ก็คือที่มาของ
"สติสัมปชัญญะ"

การลดการทำงานของระบบไหลเวียนของโลหิตและหัวใจ.
Circulatory System with Heart
เพื่อให้อินทรีย์5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย พัก เรียกว่า
"การหลับ"
ชาคริยานุโยค
คือการฝึกตื่น และฝึกหลับของ
รูปธรรมสองระบบนี้เอง.
ดังพระพุทธคาถาว่า
๏ ยมกํ นามรูปญฺจ
...รูปนามเป็นของคู่กัน
อุโภ อญฺโญญฺญนิสฺสิตา
...ต่างฝ่ายต่างอาศัยซึ่งกันและกันเป็นคู่สอง
เอกสฺมึ ภิชฺชมานสฺมึ
...เมื่อต้องแตกสลายไปโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
อุโภ ภิชฺชนฺติ ปจฺจยา ฯ
...ย่อมเป็นปัจจัยให้อีกฝ่ายทร่วมเป็นคู่สอง
แตกสลายไปด้วยกัน๚๛

ผู้รู้เท็คนิคบริหารจัดการให้ฝ่ายรูปธรรม คือ
ระบบไหลเวียนของโลหิตโดยหัวใจ
Circulatory System with Heart
พักการรับใช้ระบบอายตนะ โดยหัวใจคงกำลังเข้มแข็ง
ระบบการทำงานของน้ำดี
Lymphatic System with Gallbladder
ที่เป็นรูปธรรมรองรับสติสัมปชัญญะขยายการทำงานแทนระบบไหลเวียนของโลหิต
เป็นที่มาของหัวข้อ ชาคริยานุโยค
แล้วไปสู่เท็คนอคขั้นสูงตามลำดับต่อไป
ก็คืออุบัติการณ์ของการบรรลุฌาน
ตามบันทึกในคัมภีร์ของพระพุทธศาสนา
นั่นเอง.

No comments: