ความสัมพันธ์ระหว่าง กลุ่มประสาทรับรู้รส ที่ศัพท์เทคนิคของพระพุทธศาสนา นิยามว่า "ชิวหินทรีย์" คือ ชิวหา(ลิ้น) + อินทรีย์(ความรู้สึก...เป็นใหญ่) กับ ปัญจกะธาตุ กลุ่มที่ ๒ กลุ่มที่ ๓ ในธาตุดิน ๒๐ แสดงให้รู้สึก "อำนาจของรส" ที่เป็นปัจจัยร่วมกับ ลิ้น ได้ก่อให้เกิด "วิญญาณ" คือ "ชิวหาวิญญาณ" ๑ ใน หกระบบของอายตนประสาทที่สอดประสานถักทอ อุปทายรูปความเป็นสัตวบุคคลของมหาภูต ๔ ที่เรียกว่า "ชาติ" ขึ้น
เพราะ "รส" มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการทำงานของอวัยวะภายใน ที่เป็นหลักของอาการ ๓๒ ...ถึง ๕ อาการ ดังนี้
๑. ม้าม(วักกัง) ที่อยู่อันดับห้าของปัญจกะธาตุกลุ่มที่ ๒ มีประสิทธิภาพ มากน้อย หย่อน หรือกำเริบโดยการบอกรสผ่านลิ้น
ด้วย "รสหวาน"
๒. หัวใจ (หทยัง) อันดับหนึ่งของปัญจกะธาตุกลุ่มที่ ๓ บอกรสผ่านลิ้นด้วย "รสขม" และอาการ หย่อน-กำเริบผ่านปาก
๓. ตับ (ยกนัง) อันดับสองของปัญจกะธาตุกลุ่มที่ ๓ บอกรสผ่านลิ้นด้วย "รสเปรี้ยว" และอาการ หย่อน-กำเริบผ่านตา(ดาวอาทิตย์ ๑, ดาวจันทร์ ๒)
๔. ไต (วักกัง) อันดับสี่ของปัญจกะธาตุกลุ่มที่ ๓ บอกรสผ่านลิ้น ด้วย "รสเค็ม" และอาการ หย่อน-กำเริบผ่านหู(ดาวพุธ ๔)
๕. ปอด (ปัปผาสัง) อันดับห้าของปัญจกะธาตุกลุ่มที่ ๓ บอกรสผ่านลิ้นด้วย "รสขื่น"
การเข้ายาสมุนไพรของเภสัชกรรมโบราณจึงให้ความสำคัญต่อรสยา ตามความสัมพันธ์กับอาการหย่อน-กำเริบ ของอวัยวะหลักตามกล่าวแล้วนี้ แลฯ
No comments:
Post a Comment