คาถาธนูมือ ของ พุทธตันตระ(สยาม)
เป็นบทฝึกจิตสร้าง
กำลังแห่งแขน(พาหาพล) ที่ยุบตัวมาจาก วิชาธนุรเวท ใน ชาดกใหญ่ ๔ เรื่อง โดยเฉพาะ
"อสทิสชาดก(Asadisajataka)"
และ "โชติปาลชาดก(Jotipalajataka)" ที่มีรายละเอียดของวิชาธนุรเวทมากที่สุด
นอกนั้นก็แทรกเป็นวิชายิงธนูกระสุน วิชาดีดลูกกระสุน
(ในมังกรหยก คือวิชา พลังเทพดีดนิ้ว-ทั่งจี้ซิ่งกง ของภูตบูรพา
อึ้งเอียะซือ) ของ
ท้าวพันธุมเสนา(เจ้าชายพันธุละมหาเสนาบดีแคว้นโกศล
ยุคต้นพุทธกาล)...
คาถากำกับธนูมือ ของพุทธตันตระสยาม คือ
๑. หัวใจพระวินัยปิฎก ; อา ปา มะ จุ ปะ
๒. หัวใจพระสุตตันตปิฎก ; ที มะ สัง อัง ขุ
๓. หัวใจพระอภิธัมมปิฎก ; สัง วิ ทา ปุ กะ ยะ
ปะ
โดยบริกรรม เรียงต่อเนื่อง เป็น อนุโลม
ชนิดของลูกธนูมือ มี ๔ ระดับ
๑. ระดับ ผูกใจ ผูกจิตวิญญาณ เป็นระดับเบื้องต้น เรียกว่า
"ศรนาคบาศ ธาตุกมลา"
ขึ้นต้นด้วย หัวใจพระวินัยปิฎก
๒. ระดับแผลงเป็น รูปต่างๆ(จากโชติปาลชาดก) เรียกว่า "ศรพรหมาศ
ธาตุเมธา"
ขึ้นต้นด้วย หัวใจพระสูตร(พระสุตตันตปิฎก)
๓. ระดับสังหารกิเลส ถึงขั้นทำลายชีวิตตัวกิเลส เรียกว่า
"ศรประลัยวาต ธาตุชีวา"
ขึ้นต้นด้วย หัวใจพระอภิธรรม
๔. ระดับนิพพาน คือ สังหารกิเลส และทำลายขันธ์ เรียกว่า "ศรจันทรวาต
ธาตุขันธา"...(จันทรวาต ธาตุอิสสระนะระมะตา)
ใช้ศร กล่าว "@ มิ อิฯ"
เรียกศรกลับ กล่าว "@ อิ มิ ฯ"
มัดจิตใจ ใช้รักษาโรค กล่าว "@ อุรัง
สะรัง ฯ" พร้อมชื่อศรขึ้นนำ มีหัวใจพระไตรปิฎก ทั้ง ๓ ตะกร้า
เป็นปัจฉาบริกรรม ฯ
เป็นเท็คนิคในประวัติศาสตร์ของวิชา "พาหาพล"
ที่ยุบตัวเป็น ไสยศาสตร์ไทยในพุทธตันตระสยาม .....
No comments:
Post a Comment