เป็นวันขึ้น ๙ ค่ำ
เดือน ๔ ดาวจันทร์สถิต ราศีเมถุน
กำเนิด *อานาปานสติสมาธิ*
ตอนที่ ๕
ความเดิมตอนที่แล้ว (PART
85)
ถอดความขยายเคล็ด
อานาปานสติสมาธิขั้นที่ ๑ (มีสติหายใจเข้า) และขั้นที่
๒ (มีสติหายใจออก)
ทำให้เกิดการสะสมความมั่นคงแห่งจิต การสะสมการปรากฏชัดเจนแห่งสติ
แล้วโบราณาจารย์ ได้นำความละเอียดจากการสะสมของจิตและสติ ที่ปรากฏออกมาในฐานะของ "ปราณ"
ไปสัมผัสปรากฏการณ์ธรรมชาติของเวลาในภายนอกที่สัมพันธ์กัน
เกิดมาตราวัดค่าเวลาในสูตรคำนวณหาเวลา
จากท้องฟ้าในไตรภูมิขึ้น
(ไตรภูมิพระร่วงกัณฑ์ที่
๙ เป็นภาคทฤษฎี คัมภีร์สุริยยาตร์ เป็นภาคคำนวณ)
ผู้อัญเชิญมาเล่าและขยายความเองเออเองเรียกปรากฏการณ์ความรู้พื้นฐานนี้ว่า
เป็นพื้นฐานของ ความรู้ที่เนื่องด้วยกาย (กายานุปัสสนา)
ถอดความขยายเคล็ด ต่อ
อานาปานสติสมาธิ
ขั้นต่อไปคือ
ขั้นที่ ๓
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้สึกว่าหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกยาว
ก็รู้สึกว่าหายใจออกยาว
ขั้นที่ ๔
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้สึกว่าหายใจเข้าสั้น
เมื่อหายใจออกสั้น
ก็รู้สึกว่าหายใจออกสั้น
ข้อพิจารณา คือ
อย่างไรเรียกว่ายาว อย่างไรจึงเรียกว่าสั้น
ยาวนั้นยาวเท่าใด
และสั้นนั้นสั้นเท่าไร และที่รู้ตัวนั้นรู้ขนาดไหน
รู้อย่างไร
จึงเรียกว่ารู้ตัวตามสูตร??????????
ความรู้ที่พึงมีต่อลมหายใจ
ยาว ลมหายใจสั้นนี้
ปรากฏอุปมายู่ใน
มหาสติปัฏฐานสูตร ดังนี้ ;
"ภิกษุทั้งหลาย!
แม้ฉันใด นายช่างกลึง
หรือลูกมือนายช่างกลึง ผู้ชาญฉลาด
เมื่อชักเชือกกลึงยาว
ก็รู้ชัดว่า เราชักเชือกกลึงยาว
หรือเมื่อชักเชือกกลึงสั้น
ก็รู้ชัดว่า เราชักเชือกกลึงสั้น
ภิกษุทั้งหลาย
(การหายใจยาวสั้นของเธอ) ก็ฉันนั้น ฯ"
คำถามคือ..
ผู้ปฏิบัติการโยคะ (พระโยคาวจร) หน้าใหม่หน้าเก่าทั้งหลาย..
ไปเสมอนายช่างกลึง
ลูกมือนายช่างกลึงผู้ชำนาญและชาญฉลาด
กันตั้งแต่เมื่อเมื่อไหร่???
ที่สุดของลมหายใจเข้า
ที่สุดของลมหายใจออกในสรีระร่างกายของสัตวบุคคลแต่ละอัตภาพ
เอาอะไรเป็นมาตรฐานความยาว
ความสั้น หากไม่ศึกษาวิชาจิตสรีระวิภาค (นวดแผนโบราณ)
จะไม่มีวันรู้เรื่องลมหายใจยาวสั้นในสรีระร่างของตนตามเป็นจริงเลย
ปฏิบัติการขั้น ๓ และ
๔ นี้ ถูกนำไปใช้เป็นประสิทธิภาพใน ท่าบทฤๅษีดัดตน ที่หาคนรู้ไม่มีเลย....
ในการฝึกหาที่สุดของความยาวสั้นของลมหายใจของแต่ละสรีระร่าง
จะต้องชำระล้างขนาดความเคยชินของลมหายใจที่ไม่มีระเบียบตามปกติทั่วไปทิ้งให้มากที่สุด
เท่าที่จะอบรมตนได้
ตอนนี้เป็นเคล็ดลับ แต่..
เคยถ่ายทอดออกไปหลายครั้งแล้วเพียงแต่ไม่ได้บอกว่าเป็นเทคนิคที่อยู่ใน
อานาปานสติ ข้อ ๓ และ
๔ นี้
ไปพิจารณาตนตามอุปมาอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอุปมาไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตรว่า
เสมอด้วย
นายช่างกลึงเชือกหรือลูกมือนายช่างกลึงผู้ชำนาญและชาญฉลาดกันสักระยะเถิด...
ไปยกตนเสมอได้อย่างไร
จึงปฏิบัติก้าวกระโดดกันพรวดๆๆๆๆๆอย่างน่าไม่อายกันหมดทั้งบ้าน
หมดทั้งเมืองขนาดนั้น....
จบ ตอน ที่ ๕
Atthanij
Pokkasap
อัญเชิญมาถ่ายทอดเล่าเองขยายความเองและเออเอง
...เส้นปธานทั้ง ๑๐
ตามบันทึกนวดแผนโบราณ ปรากฏในสรีระตอนที่ จิตมั่นคงแล้ว
สติปรากฏชัดเจนแล้ว...
ญาณที่เป็น..กายานุปัสสนา
ปรากฏตามแบบที่ท่านบรรยายไว้ในไตรภูมิพระร่วงครับ...
ซึ่งต้องเขียนภาพประกอบการบรรยายยืนยันว่าเป็นความรู้อันลี้ลับสูงส่งสุดยอด
ของพระพุทธศาสนาที่ไม่เคยมีใครถ่ายทอดมาก่อน....
...เรื่องการนับ...ในที่นี้บอกว่านับด้วยอักษร...จะเหมือนอย่างเดียวกันกับในวิสุทธิมรรคที่ใช้การนับด้วยตัวเลข
ซึ่งมีอยู่
2 วิธีด้วยกัน...อันเดียวกันครับ สัมพันธ์กับจังหวะการหมุนของโลก
ไม่ใช่กำหนดได้เอาเอง...
เป็นลักษณะ..การฝึกฝน..ปัญญาโดยสัญชาตญาณ (จินตามยปัญญา)
แบบเดียวกับที่พวกสัตว์ที่ชาญฉลาดหลายๆพันธุ์มีกัน เพราะมนุษย์ต้องตั้งฐานพัฒนาการการหยั่งรู้สัมพันธ์กับสนามแม่เหล็กดวงดวงด้วย
!!!
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
No comments:
Post a Comment