Buddha-sci-fi-muayThai-history-astrology-superstition-language-yoga-music-art-agricuture-herb-food

...I believe that meditation and healthy food are an essential human experience and should be freedom to learn too................................ Buddha-Dharma-Sangha-science-fiction-MuayThai-History-Astrology-Superstition-religion-Language-math-mind-universe-meditation-Yoga-Music-Art-Agricuture-Herb-Food...this is good health and life. All give us be Oneness. I will try to understand you and everybody around the world................ WE ALL ARE FRIENDSHIP......Truth me

Saturday, January 7, 2017

46.Breaking Dharma PART 45





Breaking Dharma PART 45...!!!
....


มารู้จัก กันเถอะ...กับ...
ปฏิบัติการ โยคะตาทิพย์ ที่สาบสูญจากการถ่ายทอด
และ เป็นภพภูมิสวรรค์ ที่ไม่ปรากฏใน โครงสร้างไตรภูมิ!!!...


เกริ่นนำ ;

ธรรมอันเป็นพระพุทธวจนะหมวดนี้
เป็นภาคปฏิบัติการโยคะ  แสดงแก่ ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระภัททิยะ
และท่านพระกิมพิละ ณ ปาจีนวังสะ  ขณะที่พระศาสดากำลังเดินทางหลีกเร้นเสด็จไปจำพรรษาอยู่ป่าลึกแต่พระองค์เดียวโดยมีช้างปาริไลยกะ และวานรใหญ่อีกตัวหนึ่ง เป็นโยมอุปัฏฐาก


ข้อเสนอแนะ;
อ่านดูก่อน..ไม่ต้องทำความเข้าใจใดๆทั้งสิ้น (เพราะอย่างไร  ก็ไม่มีวันเข้าใจ) เป็นปฏิบัติการโยคะชั้นสูงสุด  ที่ไม่มีผู้รู้ใดๆในโลก ขยายความออกมาได้...ถ้าไม่ใช่ทายาทสายตรง..ครับ!!!


(๑๖๒) ดูกร ภิกษุทั้งหลาย
เหตุเป็นเครื่องครอบงำ ๘ ประการ นี้ ๘ ประการเป็นไฉน?

คนหนึ่งมีรูปสัญญา ในภายใน เห็นรูปในภายนอกเล็กน้อย
ทั้งมีผิวพรรณดี ทั้งมีผิวพรรณทราม
ย่อมมีความสำคัญ อย่างนี้ว่า
เราครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว จึงรู้จึงเห็น
นี้ เป็นเหตุ เครื่องครอบงำ ประการที่ ๑

คนหนึ่ง มีรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปในภายนอกได้ ไม่มีประมาณ
ทั้งมีผิวพรรณดี ทั้งมีผิวพรรณทราม
ย่อมมีความสำคัญอย่างนี้ว่า
เราครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว จึงรู้จึงเห็น
นี้ เป็นเหตุ เครื่องครอบงำ ประการที่ ๒

คนหนึ่ง มีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปในภายนอกได้เล็กน้อย
ทั้งมีผิวพรรณดี ทั้งมีผิวพรรณทราม
ย่อมมีความสำคัญอย่างนี้ว่า
เราครอบงำ รูปเหล่านั้นแล้ว จึงรู้ จึงเห็น
นี้ เป็นเหตุ เครื่องครอบงำ ประการที่ ๓

คนหนึ่งมี อรูปสัญญาในภายในเห็นรูปในภายนอกได้ ไม่มีประมาณ
ทั้งมีผิวพรรณดี ทั้งมีผิวพรรณทราม
ย่อมมีความสำคัญอย่างนี้ว่า
เรา ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว จึงรู้จึงเห็น
นี้ เป็นเหตุ เครื่องครอบงำ ประการที่ ๔

คนหนึ่งมี อรูปสัญญา ในภายใน เห็นรูปในภายนอกเขียว
มีสีเขียว รัศมีเขียว แสงสว่างเขียว
ย่อมมีความสำคัญ อย่างนี้ว่า
เรา ครอบงำ รูปเหล่านั้นแล้ว จึงรู้ จึงเห็น
นี้ เป็นเหตุ เครื่องครอบงำ ประการที่ ๕

คนหนึ่งมี อรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปในภายนอกเหลือง
มีสีเหลือง รัศมีเหลือง แสงสว่างเหลือง
ย่อมมีความสำคัญ อย่างนี้ว่า
เราครอบงำ รูปเหล่านั้นแล้ว จึงรู้ จึงเห็น
นี้ เป็นเหตุ เครื่องครอบงำ ประการที่ ๖

คนหนึ่งมี อรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปใน ภายนอกแดง
มีสีแดง รัศมีแดง แสงสว่างแดง
ย่อมมีความสำคัญ อย่างนี้ว่า
เราครอบงำ รูปเหล่านั้นแล้ว จึงรู้ จึงเห็น
นี้ เป็นเหต เครื่องครอบงำ ประการที่ ๗

คนหนึ่งมี อรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปในภายนอกขาว
มีสีขาว รัศมีขาว แสงสว่างขาว
ย่อมมีความสำคัญ อย่างนี้ว่า
เราครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว จึงรู้ จึงเห็น
นี้ เป็นเหตุ เครื่องครอบงำ ประการที่ ๘

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุเป็นเครื่องครอบงำ ๘ ประการนี้แแล ฯ


จาก อภิภายตนสูตร ว่าด้วย อภิภายตนะ ๘ อัฏฐกนิบาต อังคุตตรนิกาย ไตรปิฎก สยามรัฐ
เล่ม ๒๓/๔๕



แล้วมี พระพุทธวจนะ สรุป การหลุดพ้นในปฏิบัติการ เป็นการปิดท้ายอีก ดังนี้...

(๑๖๓) ดูกร ภิกษุทั้งหลาย
วิโมกข์ ๘ ประการนี้ ๘ ประการเป็นไฉน ?
คือ...

บุคคลผู้มีรูป ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย
นี้เป็นวิโมกข์ ประการที่ ๑

คนหนึ่งมี อรูปสัญญาในภายใน ย่อมเห็นรูปทั้งหลายในภายนอก
นี้ เป็นวิโมกข์ ประการที่ ๒

คนหนึ่ง (...การคัดลอกตกหล่น?) น้อมใจว่างาม
นี้เป็นวิโมกข์ ประการที่ ๓

เพราะล่วงรูปสัญญา โดยประการทั้งปวง
เพราะดับปฏิฆสัญญา
เพราะไม่ใส่ใจถึง นานัตตสัญญา บรรลุอากาสานัญจายตนะ
โดยมนสิการว่า อากาสไม่มีที่สุด
นี้ เป็นวิโมกข์ ประการที่ ๔

เพราะก้าวล่วง อากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง
บรรลุวิญญาณัจายตนะ
โดยมนสิการว่า วิญญาณ ไม่มีที่สุด
นี้ เป็นวิโมกข์ ประการที่ ๕

เพราะก้าวล่วง วิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง
บรรลุอากิญจายตนะ
โดยมนสิการว่า ไม่มีอะไร แม้หน่อยหนึ่ง
นี้ เป็นวิโมกข์ ประการที่ ๖

เพราะก้าวล่วง อากิญจัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง
บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ
นี้ เป็นวิโมกข์ ประการที่ ๗

เพราะก้าวล่วง เนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง
บรรลุ สัญญาเวทยิตนิโรธ
นี้เป็นวิโมกข์ ประการที่ ๘

ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิโมกข์ ๘ ประการนี้แล ฯ


จาก วิโมกข์สูตร ว่าด้วยวิโมกข์ ๘ อัฏฐกนิบาต อังคุตตรนิกาย ไตรปิฎก สยามรัฐ เล่ม ๒๓/๔๕



อายตนะอันยิ่ง หรืออภิภายตนะ ๘ (Paranormal Senses ) และวิโมกข์ ๘
นี้ เป็นเทคนิคของการพิสูจน์-สัมผัสเห็น (ญาณทัสสนะ)
พรหม มหาพรหม เพศหญิงล้วนๆที่ท่านเรียกว่า หมู่ มหาพรหมนารี "มนาปกายิกา"
ที่เป็นเลิศในอิสระ และอำนาจกว่าเทพนิกายใน ฉกามาพจรภูมิทั้งหลาย ๓ ประการ คือ
ทิพยวรรณะ (ผิวพรรณอาภรณ์ประดับ) ทิพยสัททะ (เสียง) และทิพยสุขะ (ความสุขอันประณีต ในชั้นพรหม) ..ครับ.



พรหมนารี "มนาปกายิกา"  มีเหตุปัจจัยให้อุบัติ ดังนี้ครับ..

ดูกรภิกษุทั้งหลาย มาตุคามประกอบด้วย ธรรม ๔ ประการ ชื่อว่า ปฏิบัติเพื่อชัยชนะในโลกหน้า
ชื่อว่า ปรารภโลกหน้าแล้ว ธรรม ๔ ประการ เป็นไฉน?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย มาตุคามในโลกนี้  เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ๑   เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ๑  
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย จาคะ ๑   เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย ปัญญา ๑
มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อชัยชนะในโลกหน้า 
ชื่อว่า ปรารภโลกหน้าแล้ว

มาตุคาม ผู้จัดการ งานดี ๑
สงเคราะห์คนข้างเคียงสามีดี ๑
ประพฤติเป็นที่พอใจของสามี ๑
รักษาทรัพย์ที่สามีหาได้ ๑
ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ๑
ถึงพร้อมด้วย ศีล ๑
ปราศจากความตระหนี่ ๑
รู้เป้าหมายแห่งการประสงค์ชำระทางสัมปรายิกประโยชน์อยู่เป็นนิตย์ ๑
(ตั้งอยู่ในธรรม และพูดคำสัตย์ ๒ คูณเข้าไปอีก)
เป็น ถึงพร้อมด้วยอาการ ๑๖ ประกอบด้วยองค์คุณ ๘ ประการ
มาตุคาม เช่นนี้ ย่อมเข้าถึง เทวโลกประเภท มนาปกายิกา แลฯ


จาก อิธโลกสูตร ว่าด้วยคุณธรรมของมาตุคามผู้จะมีชัยชนะ  อัฏฐกนิบาต  อังคุตตรนิกาย  
ไตรปิฎก สยามรัฐ เล่ม ๒๓/๔๕ เดียวกัน




...ทิพยกายสูงสุด แห่งเพศหญิง ครับ.
ในบันทึกทั้งหมดที่ปรากฏในพระไตรปิฎก..เป็นประสบการณ์ของท่านพระอนุรุทธะผู้เป็นเอตทัคคะทางทิพยจักษุ พระองค์เดียวเท่านั้น...และท่านมักได้รับ..ผ้าบังสุกุลจากพรหมนารีเหล่านี้ ประจำ....

...ความหมายผู้มีรูป  ย่อมเห็นรูป
หมายถึงการบรรลุสมาธิ (รูปพรหม) ชั้นสัมมาสมาธิ ย่อมต้องเห็นรูปพรหม..
มหาชีวิตชั้นพรหม ๔ ระดับทั่วไปคือ กายิกาพรหม, อาภัสสรพรหม, ศุภกิณหพรหม และ เวหัปผลพรหม
พรหมนารีนี้ท่องเที่ยวอยู่ระหว่าง  กายิกาพรหม ถึง อรูปพรหมเลยทีเดียว
ที่ต้องจดจำให้ขึ้นใจ คือ สวรรค์ชั้นพรหมนั้น มีเฉพาะกังสดาลสวรรค์เท่านั้น เป็นเสียงทิพยดนตรี....

...ความอดกลั้นเพื่อปฏิบัติธรรมตามหน้าที่เพศหญิงอย่างเสมอต้นเสมอปลาย ทำให้ หญิง..บรรลุสมาธิชั้นสูง... ด้วยอำนาจสมาธิจึงมีจุติอุบัติเหนือกว่า เทวนารีในชั้นฉกามาพจรภูมิ...ทั้งหมด ครับ.
(สมาธิชั้นสูงเท่านั้นที่ทำให้จุติอุบัติเป็นพรหม..ไม่มีสมาธิชั้นสูง...ก็จะได้แต่เสวยผลบุญผลทาน เป็นเทวดาเวียนว่ายอยู่ใน
ฉกามาพรภูมิ ครับ)

...อภิภายตนะ ๘ และ วิโมกข์ ๘...พระปริยัติ ไม่รู้เรื่องครับ
เพราะแม้แต่พระกรรมฐานเอง  ก็ยังไม่รู้เรื่องเลย...เพราะมุ่งปฏิบัติจะไปแต่นิพพานแบบลัดๆลวกๆ
ไม่ได้รู้เลยว่า  รายทางแห่งสมาธิตามเป็นจริงนั้นจะต้องรู้อะไรบ้างเห็นอะไรบ้าง...
จิตที่ไม่อบรมอย่างประณีตละเอียด...เลยมุ่งจะไปแต่นิพพานตามอุปาทาน..ก็เลยเป็นเรื่องอย่างที่กำลังเป็นกันอยู่ทั่วไปในทุกวันนี้น่ะเอง.




...บันทึกเวลา 00:00 ถึง 02:50 น. ของคืนวันจันทร์ ๒๓ คาบเช้าตรู่ วันอังคาร ๒๔ กย. ครับ

...จากบันทึก ธรรม ส่วนนี้...
สรุปได้ว่า..นิพพานที่กล่าวถึงกันทั่วไปในสังคมชาวพุทธยุคปัจจุบัน....
เป็นแค่ อุปาทาน ที่หยาบ และกระด้างมาก....อุปาทาน ครับ  อุปาทาน ทั้งนั้น  เป็น อุปาทาน ๔ เต็มๆ
คือ.. 
กามุปาทาน (ยึดติดในกาม  ถูกครอบงำด้วยอายตนะสัมผัสปกติ)
ทิฏฐุปาทาน (ยึดติดในทฤษฎีที่คิดเอาเองว่า  ตนรู้..เทียบไม่ตรงกะพระไตรปิฎกก็จะว่า พระไตรปิฎกคลาดเคลื่อน)
สีลัพพตุปาทาน (ยึดมั่นว่าศีล และวัตรของตนเองเท่านั้นถูกต้อง ถ้าไม่ตรงกะพระไตรปิฎก
ก็กล่าวโทษอีกว่าพระไตรปิฎกคลาดเคลื่อน)
อัตตวาทุปาทาน (คำสอนแบบพรรคจานบินและแทบทุกสำนักปฏิบัติธรรมที่มีอยู่เกลื่อนเลย  อันนี้เต็มๆมีเหตุผลตรรกะแบบเดียวกันกับ ทิฏฐุปาทาน และ สีลัพพตุปาทาน...คัมภีร์ยึดถือไม่ได้...ผิดๆๆๆๆๆๆ  ต้องที่กูยึดถือเท่านั้นถูก...ครับ)

...แล้วมันทั้งหมดก็จะเรียก ผมว่า  ไอ้ตัวยึดติดในคัมภีร์.....ครับ!!!




...ปฏิบัติศีลแล้ว..ไม่เกิดความฮึกเหิมในการอยากฝึกสมาธิ..ศีลนั้น  ใช้ไม่ได้..ครับ
พิจารณาดู พระพุทธวจนะ...

(๑๐๙๓) ภิกษุทั้งหลาย การงานที่พึงทำด้วยกำลังอย่างใดอย่างหนึ่ง อันบุคคลทำอยู่
การงานที่จะพึงทำด้วยกำลังทั้งหมดนั้น อันบุคคลอาศัยแผ่นดิน จึงทำได้อย่างนั้น แม้ฉันใด
ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญสัมมัปธาน ๔ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ....

คืออาศัยศีลแล้ว ไม่มีธรรมใดเจริญงอกงาม ก็แสดงว่าศีลนั้น...จอมปลอม เท่านั้นเอง...ครับ

...ท่าน จึงไม่บรรจุ เป็นศัพท์ในพจนานุกรม งัยครับ....เพราะ ท่าน ..ทุกท่าน อ่านไม่รู้เรื่อง...55555    เมื่อไม่มีประสบการณ์ในขณะปฏิบัติ   ยังไงก็ไม่รู้เรื่องครับ
นี่คือมาตรวัดว่า  ที่สอนกันทั้งหมด...อุปาทาน ทั้งนั้น..




...การเห็นแสงสว่างของ  ภวังคจิต(จิตเดิมแท้) ..กลับไปที่คำอธิบาย ของ มิลินทปัญหาครับ
กว่า เรา..โยคี จะรู้และคุ้นเคยกับแสงสว่างเเห่งจิตเดิมแท้ได้..อาจทั้งชีวิต..แต่พระศาสดาบอกเคล็ดตรงนี้หมดเลย..เมื่อยังเข้าไปเอาจิตเดิมแท้ไม่ได้..ก็คือไม่เห็นแสงสว่าง (โอภาส)   พอเห็นแสงก็ต้องมาซูมโฟคัส  หารูปในแสงเหมือนเราเลื่อนเลนซ์เพื่อขยายหรือย่อรูป..ครับ   แล้วรูปจะปรากฏ..คือรูปทิพยกาย...ในแต่ละมิติครับ




...ครับ  การที่ไม่มีใครมาค้นมาเน้นเรื่องนี้ (มีท่าน อจ.พุทธทาสรูปเดียว)
นั่นคือ มาไม่ถึงครับ...

...ขนาดกำหนดอรูปสัญญา แท้ๆ...ยังได้เห็น มนาปกายิกา อยู่เลย...แต่ อรูปสัญญาที่ว่ากันทุกวันนี้ อุปาทานกันไปเลยว่า นิพพาน...เอากันขนาดนั้น...ผมเห็นคำสอนอุตริแต่ละท่านแล้ว  ฉีกหน้ากาก ก็กระจุยทุกสำนัก...ได้แต่ปล่อยให้เลยตามเลว  ลงห้วยลงเหวหนักขึ้นๆ...เท่านั้นเอง




...ในบทธรรม เมื่อไล่มาจากข้อที่ ๑ คือ มีรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปในภายนอกนิดหน่อย

อันนี้คือเมื่อบรรลุปฐมฌาน (รูปพรหมขั้นที่ ๑) ก็ย่อมเห็น มหาพรหม ..สิ่งมีชีวิตชั้นสูงในคลื่นความถี่ชีวิตคลื่นเดียวกันนี้ครับ ได้แก่...
สหัสสพรหม,..ไปจนถึงสตสหัสสพรหม (ดูในธรรมจักกัปปวตนสูตร, และ สังขารูปปัตติสูตร)
มหาพรหมา และกายิการพรหม (กายิกาพรหมผู้หญิงจึงเป็น มนาปกายิกา งัย)...

ฌาน ๒ ก็เห็นหมู่อาภัสสรพรหม งัยครับ...
เข้าฌานแล้วไม่เห็นอะไรเลย..นั่นเป็นอีกเทคนิคหนึ่งในไตรลักษณ์

ที่เรียกอาเนญชาสมาบัติ เป็นเรื่อง สุญญตสมาธิ..อนิมิตตสมาธิ และอัปณิหิตสมาธิ.. ลึกล้ำหลากหลายสายธรรมปฏิบัติครับ...

...ตอนกำหนดอรูปสัญญาได้..ยังอยู่ในแดน..จตุตถฌาน (ฌาน ๔) ยังไม่พัฒนาไปถึงอรูปฌานเต็มขั้นก็ยังเห็น 
มนาปกายิกา ๔ วรรณะอยู่...คือเรื่องนี้ครับ...คงพอเข้าใจและรู้เรื่องบ้างแล้ว ใช่มั้ย...




...ก๊ออ...ผมอยู่กะการจูนโฟคัสเพื่อให้เห็นภาพ. (จิต คือกระจก..อาทาโส)  จูนแสงเพื่อรับภาพ เป็น ๑๐ ปี แล้ว..ได้เด็ดขาดเรื่องเดียวเองคือ  ถึงพรหมแล้วต้องได้ยิน ทิพยกังสดาล...อันนี้เด็ดขาดเลย...
ประสบการณ์ที่ชัดที่สุด...

...มนาปกายิกา จัดอยู่ในชั้นปฐมฌาน มี ๔ วรรณะ...คือมี คลื่นแสงทั้ง 4 สีเลยครับ  

เป็นความพิเศษ ของ แม่บ้านแม่เรือน...
อยู่กะผัวอดทนปรนนิบัติได้สมาธิถึงพรหม
แต่ผู้ชายจะได้สมาธิต้องบวชสถานเดียว ..
หรือเป็นอนาคามีไปเลย...มีเรือนไม่ได้
เห็นสิทธิพิเศษของผู้หญิงเค้าก็เรื่องนี้ล่ะครับ

...ท่านอจ.พุทธทาสจะยังไงก็ตาม แต่ท่านก็ตั้งข้อสังเกต เรื่องนี้ไว้..เป็นปราชญ์พุทธองค์เดียวที่เฉลียว แต่ไม่ได้ค้นคว้าต่อ...ผมเลยต่อยอดมาจากที่ท่านตั้งข้อสังเกตุไว้น่ะเอง

...ในโลกวัตถุ...มนาปกายิกา...ก็ระดับเดียวกะกสิณ สี (วรรณะกสิณ) ครับ
มันต้องโยงกลับมาหา..กสิณายตนะ อีกรอบหนึ่ง....

...จาคะ  อันยิ่งใหญ่ที่นำไปสู่การเป็นพรหมนารี..ครับ...
หญิงแท้ๆ  จึงมีคุณค่าและหายากมาก...อยากได้อย่างนี้เลยครับ...




...เอาหลักฐานในคัมภีร์  มาจับผิดพวก..พวกก็จะรุมกระหน่ำเอาว่า..
ไอ้ตัว ยึดติดในคัมภีร์..ครับ!!!... .....ต้อง รู้เอง เห็นเอง  อย่างพวกเท่านั้นจึงจะถูกต้อง...
คัมภีร์น่ะ ผิด...คัมภีร์น่ะ  คลาดเคลื่อน..เอากะพวกสิ!!!

...ไอ้ ไม่ยึดติด   ผมก็ท่องได้นะ..

    เจี้ยว อว่าย เปี้ยะ ถวน
    A special transmission outside the Scripture

    ปู๋ หลี อวุ๋น จื้อ
    No dependence upon word and letters;

    จือ จื่อ เหยิน ซิน
    Direct pointing to the souls of man;

    เจี้ยน สิ้ง เฉิง ฝู้
    Seeing into one s own nature"

แปลไทยว่า ;

    ต่างตน ยั้งอยู่นอก คัมภีร์
    อักขระ วางวาที ว่างพร้อง
    มุ่งตรง จิตซึ่งมี กระจ่าง
    สว่างสู่ ตูตนต้อง ถ่องถ้วน ถึงธรรม ฯ





...อุปาทาน ๔ (กาม, ทิฏฐิ, ศีลวัตร, อัตตา) อ้วนๆ เนื้อๆ...

...นี่..ครับ สถานภาพของ ความรู้ ที่ไม่ใช่ อุปาทาน
ตามประสบการณ์การค้นพบของพระพุทธศาสนา...
๑. เว้นไปจากความเชื่อ (ศรัทธา)
๒. เว้นไปจาก ความพอใจ (รุจิ)
๓. เว้นไปจากการเรียนรู้ตามๆกันมา (อนุสสวนะ)
๔. เว้นไปจาก การวิเคราะห์โดยรอบด้วยตรรกะ (ปริวิตักก)
๕ เว้นไปจากการพิสูจน์ได้ ตามเงื่อนไขของทฤษฎี (ทิฏฐินิชฌานขันติ)

เพราะธรรมตามข้อทั้ง ๕ นี้ ย่อมมีวิบากเป็นส่วนสอง คือ เท็จก็ได้ จริงก็ได้
การไม่เว้น ชื่อว่ามีการปรุงแต่งอยู่ ธรรมที่มีการปรุงแต่ง ย่อมชื่อว่า อุปาทาน


จาก (๒๙๑) อาคันตุกะสูตร  มหาวารวรรค  สังยุตตนิกาย  ไตรปิฎก สยามรัฐ เล่ม ๑๙/๔๕
(๒๖๙) โกสัมพีสูตร  มัชฌิมนิกาย
(๖๕๕) จังกีสูตร  มัชฌิมนิกาย  ไตรปิฎก สยามรัฐ เล่ม ๑๓/๔๕





...มาตรฐานองค์ความรู้ ตามหลักการของพระพุทธสาสนา  เป็นอย่างนี้ครับ

...เกิดจากเสรีภาพของจิตล้วนๆ    ผู้ไม่รู้ว่าความรู้จริงในพระพุทธศาสนามีคุณภาพอย่างไรก็จงรู้ได้แล้ว...อย่าดันทุรังความมั่วของตัวเองที่ไม่ต่างจากการคอร์รัปชั่นธรรมกันอยู่เลย...ทำบาปไม่มีสติกันทั้งนั้น...เที่ยวอ้างแต่ กาลามสูตร..ตามๆกัน   เป็นนกแก้วนกขุนทอง ไปหมดแล้ว....สูตรหลักการจริงๆของท่านมีอยู่    จัดมาให้ได้รับรู้  ด้วยหลักฐานตามเป็นจริงแล้วนะครับ....

...ความรู้, การสร้างความรู้ให้สมองแบบพุทธ-พุทธ คือ

๑.พัฒนาระบบอายตนะ..ให้มีประสิทธิภาพกว่าที่เป็นอยู่ปกติ
...เกิดขึ้นตอน สำรวมอินทรีย์(อินทรียสังวร) ที่ฝึกแยกพลังงานจากหัวใจกะที่ส่งไปเลี้ยงการตีความที่สมอง
เกิดขึ้นได้จากขั้นตอน ...สัทธา >> ศีล >> สันโดษ >> อินทรียสังวร....... นี่คือขั้นตอนพัฒนา.

๒. พัฒนาระบบพลังงานที่เชื่อมต่อระหว่างหัวใจ กับสมอง...ขณะสมองจะตีความเมื่อสิ่งเร้ากระทบกะอายตนะ ทั้ง ๕ ระบบ
อันนี้เรียกว่า ตามรู้เท่าทัน ครับ.

อย่างไม่ต้องอธิบายเลย ก็คือ จัดระเบียบความคิดพื้นฐานให้เข้ากับรูปลายลักษณ์ของเส้นเรขาคณิตพื้นฐาน  คือ ฝึกโดยหัดคิดหัดรู้สึกกะไวเบรชั่น
หรือออสซิลเลทของระบบ จุติ-อุบัติของจักรวาล..ที่มาของคัมภีร์ปถมัง ครับ..
หลักการพื้นฐาน  มีแค่นี้ล่ะ...

...พวกฝรั่งโอปปาติกะ  ตั้งแต่สมัย ร.๔ มันว่า ล้าหลัง งัย...
แยกออกมาให้เห็น  ถ้ารับได้ ก็เซ่อแดก...เท่านั้นเอง...





...มาฟัง...พระศาสดา กับ พระองค์อุปัฏฐาก ท่านสนทนาธรรมกัน..!!!

ท่านพระอานนท์ กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
"ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
นี้เป็น กึ่งหนึ่ง แห่งพรหมจรรย์ เทียวนะ พระเจ้าข้า "

พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า
"ดูกร อานนท์ เธออย่าได้กล่าวอย่างนั้น เธออย่าได้กล่าวอย่างนั้น
ก็ ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
นี้ เป็นพรหมจรรย์ ทั้งสิ้น ทีเดียว....ฯลฯ"


จาก (๔-๕) อุปัฑฒสูตร  มหาวารวรรค  สังยุตตนิกาย  ไตรปิฎก สยามรัฐ เล่ม๑๙/๔๕


...ชีวิตนี้ของเรา...เรามีเพื่อนที่ดี กันแล้ว หรือยัง?
อย่าให้เสียชาติเกิด  ที่ได้เกิดมาแล้วพบพระพุทธสาสนากันเลยนะครับ...!!!





...พบข้อมูลนำเสนอ เป็นหลักฐานสำคัญมากอีกประการหนึ่งแล้ว ครับ

วิโมกข์ ๘ ที่ในเบรค ที่ 45 คือ อรรถะ ความหมาย จำกัดความของบทสวดพุทธคุณ วรรคที่ว่า..

อนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ...เป็นผู้สามารถ ฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้
อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า..คือ สารถี ผู้ฝึกมนุษย์ ครับ..!!!
คือ..ฝึกให้มนุษย์ วิ่งไปในทิศทางทั้ง ๘ คือ วิโมกข์ ๘ นี้เอง

มีพระพุทธวจนะ ตรัสไว้ว่า..

* ภิกษุทั้งหลาย บุรุษที่ควรฝึก อันตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
สอนให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปได้ทั่วทิศทั้ง ๘ ดังนี้

ข้อที่เรา กล่าวดังนี้ว่า ศาสดานั้น เราเรียกว่า สารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก
ยอดเยี่ยมกว่าอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย นั่น...
เรา อาศัยเหตุดังนี้กล่าวแล้ว ฯ


จาก (๖๓๗) สฬายตนวิภังคสูตร (ไม่ขอบอกว่า  เป็นพระไตรปิฎกเล่มไหน)


...ธรรมในพระไตรปิฎก  ท่านถักประสานตรรกะสอดคล้องหนุนเนื่องกันอย่างแน่นหนามาก   
การที่พจนานุกรมพุทธศาสนาหรือหลักสูตรสอนธรรมใดๆก็ดีไปตัดตรรกะวิโมกข์ ๘ ออกจากที่พระศาสดาอธิบายถึงพระพุทธคุณออกจากการเผยแผ่ธรรม
นักปราชญ์นั้นมันก็ก็แค่ นักคอร์รัปชันธรรม จิตใจและสติปัญญา
ไม่แตกต่างจาก นักการเมืองในยุคปัจจุบันนี้เลย
ขอประณามครับ...

...บทพุทธคุณ ที่ขึ้นต้น ด้วยอิติปิโส..มีพระพุทธวจนะตรัสเนื้อหาความหมายในเชิงวิเคราะห์ความหมายไว้ทั้งหมด...
ใครผู้ใดที่มันบังอาจ บิดเบือน ปิดบัง...กลบเกลื่อน...คือผู้ทำลาย...โดยแท้...
นี่คือหลักฐานสำคัญที่พระ..ไม่มีใครมรณภาพด้วยดีเลย...

...ศัพท์ปฏิบัติการโยคะทางจิตที่อยู่ในวิโมกข์ ๘ ไม่ปรากฏในคำสอนของทุกสำนัก...
ทั้งที่ทุกสำนักกล้าสวด...อนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิสัตถา....แต่ไม่รู้รายละเอียดที่มากันเลย...

...แล้วสอนสมาธิอะไรกัน..น่าสดสยองมากครับ...





...ปฐมฌาน เป็นบาทรองรับกสิณ ทั้ง ๑๐ และ สมาบัติของนิพพานขั้นที่ ๑ (อนาคามี)...นิพพาน ๔ ขั้น พระทุกวันนี้ก็ไม่มีใครรู้เรื่องเช่นกัน...
ผู้ได้ฌาน มีพระพุทธวจนะตรัสรับรองไว้ชัดเจนด้วยว่า เป็นผู้ไม่เหินห่างคำสอนของพระศาสดาด้วย...หนัก..แรงมากครับ...

...เป็นมหัคตาจิตที่พิสูจน์พิกัดความมีอยู่จริงของ ควอนตัมแห่งรูปชีวิต (กรอบรูป..Category แห่ง มวลควอนตัมของ ชีวิตินทรีย์) ในสนามเวลา...ครับ..อนัตตาต้องสัมผัสเห็นปรากฏการณ์นี้ (ญาณทัสสนะ) คือเรื่องนี้เองครับ..ไม่ใช่ท่องอย่างนกแก้ว..
หมายถึงเมื่อพิสูจน์ความมีอยู่ในรูปชีวิตของตนในสนามเวลาได้แล้ว  ย่อมเห็นรูปชีวิตในสนามเวลาที่มีความเข้มข้นเท่ากัน  
นั่นคือ มนาปกายิกา ทั้ง ๔ วรรณะ...ครับ




                                                                                                       ๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

  


* Story & Photos by  Atthanij Pokkasap

No comments: