Buddha-sci-fi-muayThai-history-astrology-superstition-language-yoga-music-art-agricuture-herb-food

...I believe that meditation and healthy food are an essential human experience and should be freedom to learn too................................ Buddha-Dharma-Sangha-science-fiction-MuayThai-History-Astrology-Superstition-religion-Language-math-mind-universe-meditation-Yoga-Music-Art-Agricuture-Herb-Food...this is good health and life. All give us be Oneness. I will try to understand you and everybody around the world................ WE ALL ARE FRIENDSHIP......Truth me

Wednesday, January 11, 2017

60.Breaking Dharma PART 59




Breaking Dharma PART 59...!!!
....


เนื่องในวันพระ อามวสี แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑๑
วันเสาร์ที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๖
อีกครั้งหนึ่ง กับ....
ปรากฏการณ์ของเหตุเกิดแห่งทุกข์ (ทุกขสมุทัย)
ปรากฏการณ์ของเวลา...
โดยคำอธิบายของวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าแห่งคริสตศตวรรษที่ 20


พ.ศ.๓๙๒
พระเจ้ามิลินทราช หรือ คิงเมนันเดอร์ (Menander) ราชากรีกผู้ครอบครอง
อาณาจักรโบราณตลอดลุ่มแม่น้ำอ็อกซัส (Oxus..ภาคเหนือประเทศอาฟกานิสถานปัจจุบัน)
ลุ่มแม่น้ำสินธุ (ประเทศปากีสถานปัจจุบัน) จด
ลุ่มแม่น้ำคงคา (ประเทศอินเดียปัจจุบัน)
ตรัสปุจฉาเป็นโองการถามท่านพระนาคเสนว่า

"ภันเต นาคเสน
ธรรมสิ่งใดเล่า เป็นมูลแห่งกาลอันเป็นอดีต
ธรรมสิ่งใดเล่า เป็นมูลแห่งกาลอันเป็นอนาคต
ธรรมสิ่งใดเล่า เป็นมูลแห่งกาลอันเป็นปัจจุบัน?"


ท่านพระนาคเสน เป็นภิกษุนักปราชญ์ในพระพุทธศาสนา
นิกายสรรวาสติวาท (เถรวาทฝ่ายใช้ภาษาสันสกฤต)
ถวายพระพรวิสัชนาตอบราชากรีกผู้ยิ่งใหญ่ว่า

"มหาราช
ธรรมที่เป็นมูลแห่งกาลทั้ง ๓ คือ อดีต อนาคต ปัจจุบัน นั้น
ได้แก่ พระปฏิจจสมุปปาท คือ บทว่า อวิช.ชา ปจฺจยา สงฺขารา
...ฯลฯ ขอบพิตรพระราชสมภารพึงสันนิษฐานเข้าพระทัย
ด้วยประการ ดังนี้"


จาก อัทธานปัญหา มิลินทปัญหา ฉบับพิสดาร



มีคำอธิบายปรากฏการณ์เวลา อยู่ในวิทยาศาสตร์สัมพัทธภาพ..
วิทยาศาสตร์ก้าวหน้า แห่งคริสตศตวรรษที่ 20 ดังนี้
... ... ...

ไอน์สไตน์ได้พิสูจน์โดยแสดงให้เห็นว่า
แม้อวกาศและกาล (space and time)
ก็เกิดขึ้นโดย สหัชญาณ (intuition) ของเราเอง
ไม่ต่างอะไรไปจากความคิดในเรื่อง สี รูปร่าง และขนาด
อวกาศ (space) มิได้เป็นความแท้จริงแบบวัตถุวิสัย (objective reality)
แต่..
เป็นเพียงลำดับของการเกิด หรือการเรียงตัวของวัตถุเท่านั้น
และเวลาก็มิได้อยู่เป็นเอกเทศ
เป็นเพียงลำดับของเหตุการณ์ที่ เราวัดได้เท่านั้น


จาก ย่อหน้าที่ ๖ บทที่ ๒ เอกภพและ ดร.ไอน์สไตน์


และ..
ไลบ์นิทซ์ (Leibnitz) นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมันผู้ยิ่งใหญ่
มองเห็นอย่างชัดเจนเมื่อ ๒ ศตวรรษก่อนสมัยไอน์สไตน์
โดยกล่าวไว้ว่า...

"อวกาศ (Space) นั้นเป็นเพียงลำดับ หรือความเกี่ยวข้องของสิ่งต่างๆ
เท่านั้น ถ้าปราศจากสิ่งต่างๆครอบครอง หรือกินเนื้อที่ในอวกาศแล้ว
อวกาศก็เท่ากับไม่มีอะไรเลย"
ความไม่เข้าใจทฤษฎีของไอน์สไตน์ของคนส่วนใหญ่
มาจากการไม่ยอมรับว่า ความรู้สึกในเรื่องเวลา
ก้เหมือนความรู้สึกในเรื่องสี ซึ่งเป็นเพียงการรับรู้อย่างหนึ่ง
ในทำนองเดียวกับที่จะไม่มีสิ่งที่เราเรียกว่า สี
หากไม่มีตาสำหรับรับรู้
ชั่วขณะหนึ่งของเวลาหรือชั่วโมง หรือวันก็จะไม่มีอยู่เลย
ถ้าปราศจากเหตุการณ์ที่จะกำหนดตัวเลาขึ้นมา
เช่นเดียวกับที่..
อวกาศเป็นเพียงการเรียงลำดับของวัตถุ
เวลาก็เป็นเพียงการเรียงลำดับของเหตุการณ์ต่างๆ
ซึ่งก็คือเวลาอันเป็นจิตวิสัย (The subjectivity of time)
...ฯลฯ


จาก ย่อหน้าที่ ๓ บทที่ ๖ เอกภพ และดร.ไอน์สไตน์
The Universe and Dr. Einstein
งานแปลของคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ อันดับที่ ๒๕/๒๕๑๖



หมายเหตุผู้เผยแผ่..

แผนผังจักรวาลแห่งเวลานั้น  มีภาคทฤษฎีอยู่ในกัณฑ์ที่ ๙ (นวมกัณฑ์)
แห่งไตรภูมิพระร่วง  วรรณคดีเล่มแรกสุดของราชอาณาจักรสยามในกรุงสุโขทัย
(พ.ศ.๑๗๙๒ - ๑๙๘๑)   มีภาคคำนวณ เรียกว่าคัมภีร์สุริยยาตร์
หรือสุริยาตร์ ใช้คำนวณดวงดาวบนท้องฟ้าไตรภูมิ..หรือดวงดาวที่เป็น
ลำดับเหตุการณ์ในจิตมาตรฐาน   ที่มาของปฏิทินไทยทั้งแบบจันทรคติ
และสุริยคติที่ถือใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

การบรรลุเป็นพระอริยบุคคลชั้นสูงสุดของพระพุทธศาสนา
ต้องรู้จักโครงสร้างของจิตที่กำเนิดทุกข์  คือเรื่องดังกล่าวข้างบน....
จากหลักฐานที่นำมาแสดง...
โครงสร้างเวลาที่ท่านพระนาคเสนเรียกว่า ปฏิจจสมุปปาท
วิสัชนาถวายคิงเมนันเดอร์ เมื่อ พ.ศ. ๓๙๒

ถ้ามีผู้รู้เรื่องจริง  ต้องอ้างอิงถึง กัณฑ์ที่ ๙ แห่งไตรภูมิพระร่วงด้วย
กำเนิดเวลาในปฏิทินไทยจากคัมภีร์สุริยยาตร์ด้วย
มิฉะนั้น ก็เท่ากับว่า ปัจจุบัน
เรา...กำลังถูก นักปฏิบัติธรรมลวงโลก หลอกกันอยู่
นักปฏิบัติเหล่านั้น  ไม่มีใครรู้เรื่องว่า ปฏิจจสมุปปาทเป็นต้นกำเนิดของเวลาได้อย่างไร...
หยุดเถิดครับ..หยุดคอร์รัปชั่นธรรมกันได้แล้ว...
พวกท่านทั้งหมด ไม่ได้รู้อะไรเลยใน ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
แห่งอริยสัจ ๔ .......


Atthanij Pokkasap
เปิดเผยหลักฐานอันเป็นวิทยาศาสตร์ที่ก้าวหน้าที่สุดในโลกของพระพุทธศาสนา
เพื่อยุติการละเมิดของพวกรู้ไม่จริงทั้งหลาย...ดังนี้





...เป็นอรหันต์กันทั้งบ้านทั้งเมือง   แต่ไม่รู้ว่าปฏิจจสมุปปาทเป็นกำเนิดของเวลา...
ขี้โอ่กันนักว่าพระพุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์   แต่กลับอ่านวิทยาศาสตร์ที่ตรงกับพระพุทธศาสนา ไม่รู้เรื่อง....เฮ้อออยยยยย...

...ความรู้ที่ไม่ต้องเปรียบเทียบมีแต่ความรู้พระอรหันต์..พวกเราเป็นปุถุชนต้องเรียนรู้ด้วยการเปรียบเทียบครับ..
พวกที่สอนอุปาทาน  เป็นพวกไม่เจียมปัญญา  จะถ่ายทอดแต่ปรมัตถ์บัญญัติ...แต่ไม่รู้เรื่อง สมมติบัญญัติ..
แทงกันอีกจึ๊กนึง...หน้าด้านไม่รู้สึกก็ทนได้ทนไป...




...การทำความเข้าใจ วาทะที่ ไลบ์นิทซ์ พูด  ก็คือปฏิบัติการที่พระพุทธศาสนาเรียกว่า 
"อรูปฌานสมาบัติ" ..หรือ อรูปฌาน ....ขั้นที่ ๑ อากาสานัญจายตนะ
อากาส  ตัวนี้ก็คือ อวกาศ ในภาษาสันสกฤต
แล้วจึงตามต่อด้วย  อรูปฌาน ขั้นที่ ๒ วิญญาณัญจายตนะ  ตรงตัวเราแปลกันว่าวิญญาณไม่สิ้นสุด...
แต่เมื่อเปรียบเทียบกับคำอธิบายของวิทยาศาสตร์สัมพัทธภาพ
กับการตอบกำเนิดเวลาที่ท่านพระนาคเสนวิสัชนาคิงเมนันเดอร์แล้ว  
เราก็รู้ได้ทันทีว่า วิญญาณ ตัวนี้ก็คือ จิตผู้ลำดับเหตุการณ์ น่ะเอง

จะเห็นความจำเป็นในปฏิบัติการพิสูจน์  อากาศวิญญาณ = อวกาศ-กาล (Space-Time)  
ตามที่พระพุทธศาสนาได้พัฒนาเอาไว้แล้วทันที ครับ....

ทั้งนี้ทั้งนั้นก็หมายถึงว่า  ความสับสนทางอายตนะที่เป็นปัญหาในวิทยาศาสตร์ ได้ถูกพระพุทธศาสนาค้นพบเทคนิคและวางระบบปฏิบัติการพัฒนาไปแล้วก่อนวิทยาศาสตร์จะมาถึงตรงนี้กว่า ๒,๖๐๐ ปี แล้วน่ะเอง
วิทยาศาสตร์ก้าวหน้า  จึงจำเป็นต้องพึ่งเทคนิคทางพระพุทธศาสนา และคำสอนที่เป็นสำนวนโบราณของพระพุทธศาสนาก็สามารถปรับเปลี่ยนให้เป็นคำอธิบายแบบวิทยาศาสตร์ได้อย่างกลมกลืน..ดังยกตัวอย่างมานี้เอง





...สิ่งเหล่านี้ นำมาแยกย่อย เขียนเป็นหนังสือการ์ตูนให้เด็ก และผู้ใหญ่โง่อ่านจะได้ไหม ???..
โดยความสามารถเฉพาะตัว ทำได้นะ และเคยทำมาบ้างแล้วในช่วงปี ๒๕๓๔-๒๕๓๗ การ์ตูนหิมพานต์เส้นจิตรกรรมไทยอ่อนช้อยพริ้วไหวฮาเฮกวนอารมณ์ ฝุด-ฝุด..แต่เวลาคิดไม่ออก..หายไปเป็นปีเลย คิดออกก็เร่งเขียนไม่ทันอีกเหมือนกัน...




                                                                                                      ๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

  


* Story & Photos by  Atthanij Pokkasap

No comments: