Breaking Dharma PART 60...!!!
....
ตอน ร่องรอยความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญากรีกและพระพุทธศาสนา
นักคณิตศาสตร์
สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ.1943)
ได้กล่าวถึงปรัชญาของ
ไพธากอรัส (Pythagorus ;582-500 ก่อนคริสตกาล =
ร่วมสมัยพุทธกาล ) ว่า ;
*ในสมัยโบราณ
นักปรัชญาพบว่าเป็นการยากที่จะอธิบายถึง
อำนาจของคนเกี่ยวกับการคิดหาเหตุผล
และได้พยายามที่ให้คำอธิบายซึ่งออกจะพิสดารสักหน่อย
ทฤษฎีอันหนึ่งก็คือว่า
เรามีชีวิตอยู่ในอีกโลกหนึ่งก่อนที่ถือกำเนิดในโลกนี้
และในโลกโน้นเราได้มีโอกาสคุ้นเคยกับกฎของเลขและเรขาคณิต
(ผู้เขียนไม่ทราบว่าหลักสูตรเป็นอย่างไร)
วัตถุประสงค์ของการศึกษาในโลกนี้ก็คือ
การรื้อฟื้นความจำของความรู้เหล่านี้
ซึ่งได้มาจากโลกก่อน
เรา
ไม่ควรยิ้มเยาะทฤษฎีโบราณนี้
อย่างน้อยที่สุด
ก็ได้ทำให้เห็นชัดเจนว่า
การศึกษาประกอบด้วยการร่วมมือกับสิ่งที่มีอยู่แล้วในจิตใจของเด็ก
ครูที่ดีจึงเกือบจะสามารถทำความสำเร็จได้โดยเพียงแต่ตั้งคำถาม
แก่นักเรียนในชั้น
โดยทำให้นักเรียนในชั้นรู้สึกตัวอย่างชัดเจนว่า
เขา
มีความรู้อะไรอยู่แล้ว "ในเบื้องหลังจิตใจของเขา" *
จาก
"การคิดหาเหตุผลในคณิตศาสตร์"
ใน บทที่ ๓
ธรรมชาติของการคิดหาเหตุผล
หนังสือ
คณิตศาสตร์ที่น่าสนใจ
Mathematician's Delight by
W.W.Sawyer ค.ศ.1943
งานแปลของสภาวิจัยแห่งชาติ
อันดับ ๑๗ พ.ศ.๒๕๑๖
จากงานเขียนของ
ครูคณิตศาสตร์ W.W.Sawyer ที่พาดพิง
ถึงปรัชญาคณิตศาสตร์ของ
ไพธากอรัส นักปราชญ์คณิตศาสตร์ชาวกรีก
ที่อยู่ร่วมสมัยพุทธกาล
เห็นได้ชัดเจนว่า
ไพธากอรัส อธิบาย
ลักษณะความรู้ที่พระพุทธศาสนาเรียกว่า
"บุพเพนิวาสานุสสติญาณ"
ชัดเจน..แสดงถึง ภูมิปัญญาการค้นพบ
ของพระพุทธศาสนามีส่วนอย่างสำคัญต่อพัฒนาการทางปัญญาของกรีก
โดยแผ่ไปตามเส้นทางสายใหม ตักศิลาสู่ช่องแคบหุบเขาไกเบอร์
จนถึงนครอเล็กซานเดรีย (ในคัมภีร์มิลินทปัญหา
แห่งพุทธศตวรรษที่ ๕ เรียกว่า นคร อลสัณฑะ นั้น
กึ่งกลางของเส้นทางสายนี้
คือ สาคละนคร เป็นราชธานีของแคว้นโยนก ยวนะ; Ionian)
บวกกับภูมิประวัติของพระมหากัปปินะ (อดีตพระเจ้ามหากัปปินะ)
แม่เจ้า เขมาเถรี
อดีตอัครมเหสีของพระเจ้าพิมพิสาร
แม่เจ้าอุบลวรรณาเถรี
อรหันต์ใหญ่ในสมัยพุทธกาล
ท่านเหล่านี้ เป็น ชาวกรีกทั้งสิ้น
ความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงของนักการศึกษาพระพุทธศาสนา
ที่เข้าไม่ถึงข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่เชื่อมโยงระหว่างอินเดียกับ
อารยธรรมเมโสโปเตเมียอย่างต่อเนื่องเมื่อ
๒,๖๐๐ -๕,๐๐๐ ปีก่อน
มีกรณีเดียวเท่านั้น...
ทั้งหมด
ไม่ได้ศึกษาพระไตรปิฎก อย่างทั่วถึงตามที่อวดอ้างกัน..!!!
(ฉะนั้น คำว่า
นักปราชญ์, นักประวัติศาสตร์ลวงโลก
ที่ "นายขยะ"
ใช้เรียก..จึงเป็น ความจริง ไม่ใช่คำด่า....)
ที่สำคัญ ในชาดก
เรียกศูนย์กลางอารยธรรม ของเมโสโปเตเมีย
ว่า นครพาเวรุ (ฺBaveru)
นักการศึกษาระดับแนวหน้าของโลกหลายคนสันนิษฐาน (เดา) ว่า
คือ กรุงบาบิโลน ซึ่งความจริงไม่ต้องสันนิษฐานก็ได้
แต่เพราะไม่ศึกษาให้ถึง
จึงกลายเป็น สันนิษฐาน (เดา)
พาเวรุ
ที่เป็นสำเนียงในภาษามคธ (บาลี) นี้ถูกเชื่อมต่อไว้ด้วย บาบิโลน ในสำเนียงของเปอร์เซีย
ว่า บาบิรุส (Babirus)
แบบเดียวกับพระเจ้าคัมบัยเสส (Cambyses)
ที่เชื่อมโยงไว้ด้วยสำเนียงเปอร์เซียว่า
กัมบูชียา (Kambujiaa)
ซึ่งตรงกับสำเนียงชาวแคว้นมคธ (บาลี) ว่า
กัมวิชยะ (Kamvijaya)
สามารถออกเสียงแบบ ไทย-ไทย ว่า
"ขอมวิชัย" คือผู้พิชิต หรือผู้มีชัยชนะเหนือชาวกัมโพช
ทำให้ทราบว่า
กรีกและเปอร์เซียนั้นเรียก ชาวกัมโพชว่า ชาวกัม เป็นที่มาของ
ชาวขอม
ในสำเนียงไทย...มาแล้วตั้งแต่สมัยพุทธกาล คือ เมื่อกว่า ๒,๖๐๐ ปีก่อนมาแล้ว....
และทำให้รู้ด้วยว่า
นักประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมดที่ผ่านมา...
มั่ววววว...คิดเอาเอง สิ้นดี......
ขนาดโครงสร้างสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎกแท้ๆ
ยังอ่านไม่พบ ค้นหาไม่เจอ....
ประวัติศาสตร์โลกในพระไตรปิฎกน่ะ..ง่ายกว่าธรรม
นะครับ
แล้วบอกว่า ศึกษาธรรมในพระไตรปิฎก..ซึ่งมีเนื้อหายาก
และสูงส่งกว่ารายละเอียดของประวัติศาสตร์อย่างเทียบกันไม่ติด
มันจะลวงโลกกันอย่างมากมายไปถึงไหน
ไม่ทราบ!!!
ขอท้าทาย
ครับ....หัดเคารพความจริงกันมั่ง....
อย่าทำลายความเป็นมนุษย์ของตนกันมากกว่าที่กำลังเป็นอยู่กันเลย.....
ปราชญ์ก็ปราชญ์ เถอะ
ตาบอดใจบอดและสมองบอดกันทั้งนั้น
Atthanij
Pokkasap
เปิดโปง จากขอนแก่น
04:00 น. ใกล้รุ่ง
ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๒
วันเสาร์ที่ ๑๖
พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๖
...ผม..ยังมีหลักฐานอีกหลายอย่าง
ที่จะแสดงให้ทราบ.....
จากอารยธรรมเมโสโปเตเมีย
มาถึงอารยธรรมชาวนาที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือคาบสมุทรทะเลจีนใต้ ที่มีศูนย์กลางเรียกว่าสุวรรณภูมิ
พระพุทธศาสนาในพระไตรปิฎกบันทึกไว้มาก..มากพอที่จะฉีกหน้ากากพวกที่ชอบคิดเอาเอง แล้วโกหกลวงตัวเองด้วย ลวงโลกด้วย..เยอะครับ..เยอะกว่าที่จะตำหนิกัน ครับ....
อวดรู้กันโดยที่ข้ามและละเมิดข้อมูล
๒,๖๐๐
ปีก่อนอันละเอียดในพระไตรปิฎก...ครับ...
สรุป..ประวัติศาสตร์อารยธรรมโลกในพระไตรปิฎก
ยังไม่มีปัญญาแยกแยะ...แล้วมาแสดงตนว่า
รู้ธรรม...ที่ละเอียดและสูงส่งอย่างลี้ลับยิ่งกว่าเนื้อหาประวัติศาสตร์ขึ้นไปอีก....
...อารยธรรมชาวนาที่สุวรรณภูมิ นักประวัติศาสตร์ใดที่บังอาจลืมเรื่องกลองมโหระทึกที่มีอายุย้อนอดีตไปถึง
๖๐,๐๐๐ ปี ของ วัฒนธรรมชาวนา ไต-ลาว-แม้ว ก็อย่ามาเป็นนักประวัติศาสตร์เลยครับ....โกหกลวงโลกตั้งแต่เริ่มต้นแล้ว....
ยืนยัน...
เครื่องรางของขลังในอดีตทั้งหมด
เป็นผลิตภัณฑ์ผลงานของชาวพุทธโบราณ
บริสุทธิ์
ไม่มี
ไม่ได้อยู่ภายใต้อิทธิพลของลัทธินอกไหนๆทั้งสิ้น
เปรียบเทียบได้กับ
แบตเตอรี แบบต่างๆ ที่ใช้กับงานชนิดต่างๆของเทคโนโลยี สมัยปัจจุบัน
เพราะ พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาเดียวในโลกที่ให้ความสำคัญต่อการฝึกจิต (สจิตฺตปริโยทปนํ)
เป็นคำสอนหลัก ที่ศาสนาอื่นๆ ไม่มี
ฉะนั้นจาก นามธรรม
มาสู่ รูปธรรม จึงเป็นต้นแบบ
ไม่ใช่อยู่ภายใต้อิทธิพลลอกแบบ
หรือเลียนแบบลัทธิศาสนาไหนทั้งสิ้น
หยุดบิดเบือนกันเสียทีได้แล้ว
อย่าอวดความโง่
ไม่รู้จริงกันมากไปกว่านี้เลย
ไม่เคยมีศาสนิกชนในลัทธิศาสนาอื่นใดที่ดูถูก
เหยียดหยาม บิดเบือน
เทคโนโลยีแห่งศรัทธา
ในศาสนาของตนเท่ากับศาสนิกชนชาวพุทธในปัจจุบันนี้อีกแล้ว
...คุณภาพการเผยแผ่พระศาสนา
ต้อง..ดังนี้..
* มุนี
พึงเที่ยวไปในบ้าน เหมือนแมลงภู่
ไม่ยัง ดอก สี
และกลีบแห่งดอกไม้ให้ชอกช้ำ
ถือเอาแต่รสแห่งน้ำหวาน
แล้วบินไป ฉะนั้น *
จาก เรื่อง
โกสิยเศรษฐีผู้มีความตระหนี่ บุปผวรรควรรณนา
อรรถกถา
แห่งธรรมบท (ธัมมปทัฏฐกถา แปล ภาค ๓)
...ขนาดยังไม่นำภาคคำนวณ
ท้องฟ้าในไตรภูมิ คือคัมภีร์สุริยยาตร์มาประกอบ โครงสร้างจักรวาลที่มีอัตราส่วนแน่นอนและเนื้อหาที่ชัดเจนของไตรภูมิ
นะครับ
...แล้วตัวละครในพระวินัย
ไปจนถึงตัวละครในเถรคาถา เถรีคาถา กระทั่งย้อนกัปกัลป์ไปถึงตัวละครในชาดก ล้วนเป็นเหตุการณ์บอกถึงความหลากหลายของผู้ลำดับเหตุการณ์ที่ร่วมกันถักสานให้เกิดปรากฏการณ์เป็น
พระพุทธศาสนา
ยิ่งเป็นสิ่งที่มีกระบวนการสัมพันธ์ในเชิงของพลังงานขับเคลื่อนปรากฏการณ์ที่ไม่ใช่จะสามารถมองได้เพียงมิติเดียวหรือเพียงมิติด้านใดด้านหนึ่ง
แบบที่วิทยาศาสตร์ปัจจุบันชอบประพฤติกัน
(ถอดสมการได้แล้วอวดว่าค้นพบทั้งเอกภพ)
....การศึกษาแบบเปรียบเทียบเช่นนี้ ทำให้เห็นความผิดพลาดเหวอะหวะของวิธีการแบบวิทยาศาสตร์
มากมาย
ในขณะเดียวกันวิทยาศาสตร์ก็ทำให้เห็นความมักง่ายของผู้ศึกษาพระพุทศาสนาแบบไม่รอบคอบด้วย..
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
No comments:
Post a Comment