วันเสาร์ ที่ ๘
มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๗
วันนี้ เป็นวันพระ
ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๔
กำเนิด *
อานาปานสติสมาธิ* ตอนที่ ๔
ความเดิมตอนที่แล้ว (PART
84)
พระพุทธศาสนาได้สร้างประสบการณ์การค้นพบ
โดยการนำช่วงเวลาหายใจเข้า
และหายใจออกที่ถูกจัดระเบียบให้มีช่วงเวลาขนาด ๑๐
ตัวอักษร
ไปใช้ทำสูตรคำนวณเวลาที่เป็นรากฐานที่มาของวิชาโหราศาสตร์ไทย
คือ เมื่อหายใจได้เป็นระเบียบแล้ว (ผลของระเบียบ ทำให้เกิด
ปรากฏการณ์ภายในสรีระร่างกาย เรียกว่า "ปราณ")
ก็นำผลของระเบียบไปสัมพัทธ์กับเงาหัว (เงาของร่างกายที่เกิดจากแสงสว่างของดวงอาทิตย์ตอนกลางวัน
และ
เกิดจากดวงจันทร์ตอนกลางคืน) ทำให้เกิดมาตรานับปริมาณเวลาแล้วนำมาสร้างสูตรคำนวณในระดับสูงต่อไป
(หมายถึง หายใจเข้า นับ ก.ไก่ ข.ไข่ ไล่ไปช้าๆที่ละตัวจนครบถึง ตัว ช.ช้าง
เรียกว่าเป็น ๑๐ ตัวอักษร แล้วหายใจออกก็เป็นแบบหายใจเข้า
จนเมื่อลมหายใจเป็นระเบียบเสมอต้นเสมอปลายแล้ว
ก็จึงจะไปฝึก"อานาปานสติสมาธิ ขั้นต่อไป)
ความรู้อันเนื่องด้วยกาย (กายานุปัสสนา)
คือความรู้พื้นฐานเรื่องเวลาในภายนอก ได้เกิดขึ้นก่อน
แล้วท่านก็ค่อยๆให้ระเบียบลมหายใจพื้นฐานนี้พัฒนาเข้าไปสู่ความรู้เรื่องเวลา
อันเป็นไปภายในของสรีระร่างกายตามขั้นตอนต่อไป
(จากวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าที่ค้นพบโดยท่าน
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ในต้นคริสตศตวรรษที่ 20
ทำให้เราได้รับรู้ความหมายเปรียบเทียบการค้นพบของพระพุทธศาสนาแล้วว่า
เวลา คือ ลำดับเหตุการณ์ในอวกาศ และ จิต
ก็คือ ผู้ลำดับเวลา
ซึ่งถ้าไม่มีความหมายจากการค้นพบของวิทยาศาสตร์มาเปรียบเทียบ
เรา..จะไม่รู้ความหมายแท้จริงเลยที่พระพุทธศาสนาบอกว่า
"เวลา เกิดจาก ปฏิจจสมุปปาท"
ตามที่ท่านพระนาคเสน
วิสัชนาถวาย พระเจ้ามิลินทราช ใน พ.ศ.๓๙๒)
มาทำความเข้าใจใน
ปฐมบท ของ อานาปานสติสมาธิกันต่อ..
ภิกษุนั้น ย่อมมีสติ
หายใจเข้า มีสติหายใจออก
เมือ่หายใจเข้ายาว
ก็รู้สึกหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจเข้าสั้น
ก็รู้สึกหายใจเข้าสั้น
ถอดความ ขยายเคล็ด ;
อะไร คือ
มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก ?
ตอนเริ่มต้นฝึกการมีสติ
จากผลงานการสร้างมาตราหน่วยเวลาที่สัมพันธ์กับการหมุนรอบตัวเองของโลก
(โหราศาสตร์เรียก
อันนี้ว่าเวลาภายใน..อันโตนาที ยังเป็นคนละอันกับภายในจิต
ยกไว้ก่อน)
และการหมุนรอบดวงอาทิตย์ (โหราศาสตร์ไทยเรียกอันนี้ว่า
เวลาภายนอก..พหินาที หรือ พหิรนาที)
นั่นก็คือ คณนา..การนับ เพื่อให้ทั้งหายใจเข้า
และหายใจออก ถูกกำหนดด้วยช่วงขนาดที่เหมาะสม
คือ ๑๐ ช่วงตัวอักษร (ไม่ใช่บริกรรม
อย่านำไปสับสน เพราะอยู่ในช่วงการฝึกจัดระเบียบลมหายใจ)
การฝึกจัดระเบียบลมหายใจเข้า+ออกให้เป็นระเบียบสม่ำเสมอนี้
"นายขยะ"
มักถ่ายทอดด้วยสำนวนว่า "การตั้งใจหายใจ"
เมื่อฝึกประจำแล้ว
จะเริ่มสะสมสติ เมื่อสติปรากฏ...ลมหายใจเข้า+ลมหายใจออก จะมีลักษณะเป็นระเบียบ
สม่ำเสมอ
เรียกว่า มีลมหายใจมั่นคง
เริ่มเข้าสูตร..ตามที่ท่านพระสารีบุตรอธิบายไว้ในปฏิสัมภิทามรรค คือ..
จิตมั่นคงดีในวัตถุใด
สติย่อมปรากฏดีในวัตถุนั้น
สติปรากฏดีในวัตถุใด
จิตย่อมมั่งคงดีในวัตถุนั้น
กว่าจะได้จิต
กว่าจะได้สติ...ครับ เราต้องใช้เวลาทำลมหายใจเข้า+ลมหายใจออกให้เป็นระเบียบ
สม่ำเสมอ
นาน...พอสมควรเลยล่ะ
พอสมควรขนาดนำประกอบประสบการณ์เรียนรู้เรื่องเวลา..ลำดับเหตุการณ์การหมุนที่เป็นสัมพัทธ์ของโลก
ระหว่างหมุนรอบตัวเองและหมุนรอบดวงอาทิตย์ ครับ..!!!
เป็นความรู้เรื่องเวลาว่าด้วยระบบ
จันทรคติ และสุริยคติ
และในภายในสำนัก..ปฏิบัติการโยคะ
ก็จะเริ่มเรียนรู้เวลาภายในสรีระ
ว่าด้วยระบบเดียวกับที่เรียนรู้เวลาของโลก
นั่นคือ
เวลาที่อยู่ในจิตสำนึกกลางคืนที่โบราณาจารย์ท่านเรียกว่า "จันทระกลา"
และ
เวลาที่อยู่ในจิตสำนึกกลางวัน ที่โบราณาจารย์ท่านเรียกว่า "สูรยะกลา"
การมีสติหายใจเข้า
มีสติหายใจออก..เรารู้ว่ามีสติ
เพราะลมหายใจถูกจัดระเบียบเป็นความมีระเบียบที่เสมอต้นเสมอปลาย คือ สม่ำเสมอ ด้วย
(ลมหายใจที่ไม่สม่ำเสมอ
คือลมหายใจที่ไหลไปตามอารมณ์ ตามจริตต่างๆ ไม่มีสติ ครับ)
สติ เพราะ
มีระเบียบสม่ำเสมอ
จิต เพราะมั่นคง
และรู้ด้วยว่า มั่นคงเพราะสม่ำเสมอ
(จบ ตอนที่ ๔)
ยังไม่ได้ให้ฝึกอันที่ท่านเรียกว่า
มีสติหายใจยาว มีสติหายใจสั้น (ขั้นที่ ๓ และ ๔) เล้ยย...
ได้ความรู้เรื่องเวลา
ที่ไม่มีใครแสดงให้ได้ไปกันแล้ว เห็นมะ....
Atthanij
Pokkasap
อัญเชิญมาเล่าขยายเองเออเอง
...ที่สอนๆกัน มันกำหนดจิต
กำหนดสติพรวดๆๆได้เองเลย....แต่พอถามเรื่องเวลาที่จิตเป็นเจ้าของ...ไม่มีหน้าไหนรู้...
เวลา
เกิดจากปฏิจจสมุปปาท...หุ หุ...ไม่มีหน้าไหนผ่านทั้งนั้นครับ ขอท้าทาย....!!!
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
No comments:
Post a Comment