Breaking Dharma PART 32...!!!....
ตอน
มารู้จัก เส้นเชือกแห่งสมาธิ
ของพระพุทธศาสนากันเถอะ!!!
คำถาม
;
เสยฺยถาปิ
ภิกฺขเว ทกฺโข
ภมกาโร
วา ภมการนฺเตวาสี....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ฉันใด เปรียบเหมือนนายช่างกลึง
หรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ชาญฉลาด
ทีฆํ
วา อญฺฉนฺโต ทีฆํ อญฺฉามีติ ปชานาติ...เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่า เราชักเชือกกลึงยาว
รสฺสํ
วา อญฺฉนฺโต รสฺสํ อญฺฉามีติ ปชานาติ เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่า ชักเชือกกลึงสั้น
เอวเมว
โข ภิกฺขเว ภิกฺขุ...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นแล...ฯลฯ
นี่คือคำบอกเล่าแบบอุปมาปรากฏในบท
มหาสติปัฏฐานสูตร ...
ถามว่า....
๑.นายช่างกลึง
ทำไมต้องมีเชือกกลึง
๒.นายช่างกลึงสมัยพุทธกาล
กลึง อะไร? จึงมีสั้น มียาว
๓.นายช่างกลึง
และลูกมือนายช่างกลึง ที่เป็นผู้? ชาญฉลาดในการกลึงเท่านั้นที่ท่านยกมาอุปมา
ไม่ชาญฉลาดในประสบการณ์กลึง
ท่านไม่ยกมาครับ ฉะนั้น...
๔.เราไปเก่งเท่านายช่างกลึงผู้ชาญฉลาดสมัยพุทธกาลกัน ตั้งแต่เมื่อไหร่
????????????????????????!
ทุกสำนักที่สอนการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนาสำนึกตัวกันหรือไม่..??!
พวกท่านทั้งหลายไม่ได้มีความรู้อะไรเลย
ในสูตรแห่งการฝึกจิต(สจิตฺตปริโยทปนํ) ของพระพุทธศาสนา
ทั้งหมด..สอนแบบ
คิดเอาเองกันทั้งนั้น...!!!!!?
จากสุบินปัญหา
แห่งคัมภีร์มิลินทปัญหา เราจะได้..ข้อมูลดังนี้...
เส้นเชือกแห่งสมาธินั้นต้องประกอบด้วยเส้นใย
๔ ชนิด เข้ามาเกลียวประกอบกันเป็นเส้นเชือกแห่งสมาธิ ดังต่อไปนี้
๑.(ลมหายใจเข้า
+ ลมหายใจออก) + สติ เป็นเส้นใยเส้นที่ ๑.
๒.(ลมหายใจเข้า
+ ลมหายใจออก) + ภวังค์ (อาการครึ่งหลับครึ่งตื่น)
เป็นเส้นใย เส้นที่ ๒
๓.สติ
+ ภวังค์ เป็นเส้นใยเส้นที่ ๓
๔.(ลมหายใจเข้า + ลมหายใจออก) + สติ + ภวังค์ เป็นเส้นใยเส้นที่ ๔
ผู้จะฝึก
สจิตฺตปริโยทปนํ จะต้องผลิต และเตรียมเส้นใย ทั้ง ๔
ชนิดให้ได้เสียก่อน จึงจะได้เชือกแห่งสมาธิตามคำถ่ายทอดปรัมปราว่าด้วยการฝึกอบรมจิตตามเป็นจริงของพระพุทธศาสนา
ครับ!!! ไม่ใช่..คิดเอาเอง...ที่เป็นการลุแก่อำนาจตามสันดาน
หยาบๆที่ชอบใช้กันในสังคมไทยทุกวันนี้ครับ
ต้องรู้จักเส้นใยทั้ง
๔ รู้จักผลิตเส้นใยทั้ง ๔ และจักต้องรู้จักการนำเส้นใยทั้ง
๔ มาฟั่นเกลียวเป็นเชือกแห่งเหตุการณ์ที่เรียกว่า สมาธิ
รู้จักกันหรือยังครับว่า...ไอ้ที่ที่คุณพูดถึงสมาธิในพระพุทธศาสนาตามเป็นจริงแล้ว...
คุณไม่ได้มีความรู้ตามที่พูด
ตามที่แสดงทัศนะออกมาเลย...
Atthanij Pokkasap เปิดความคำถ่ายทอดภายในของพระพุทธศาสนา
07.39
น. วันเพ็ญพุทธ (เป็งปุ๊ด) พุธ ที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๖
หมายเหตุ
วันนี้ คืนนี้เป็นวันเพ็ญ ๑๕ ค่ำตรงกับ
วันพุธ ประเพณีทางเหนือเรียกว่า วันเป๊งปุ๊ด
เป็นวันคืนที่ ท่านพระอุปคุตออกจากสมาบัติขึ้นมาจากสะดือทะเลโปรดสัตว์
ในค่ำคืน
ไม่มีใครรู้ว่าใครคือท่านพระอุปคุต
ชาวบ้านจึงเตรียมตักบาตร...เป็นคืนที่พระสามารถออกบิณฑบาตรรับการตักบาตรของชาวบ้านได้ตลอดคืน
ความเชื่อที่เป็นเอกภาพทำให้สังคมร่มรื่นเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน อุบายแห่งประเพณีที่ทรงคุณภาพเช่นนี้ ไม่เกี่ยวกะล้าหลังหรืองมงายครับ
การกล่าวหาหรือวิพากษ์ประเพณีวัฒนธรรมหลายๆอย่างของโบราณว่าล้าหลัง
งมงาย เป็นอาการทางสมองและจิตของคนวิปลาสที่ไม่ต้องการให้สังคมพัฒนาการไปสู่ความมั่นคงว่ะ.
...มันจะเอาแต่คุณภาพทั้งที่มันเองไม่เคยแสดงให้เห็นเลยว่า ตัวมันเองก็ไม่ใช่สัญลักษณ์คุณภาพของสังคมแต่อย่างไร...
...พวกไร้ปัญญาโดยแท้เท่านั้นที่คิดร้ายต่อพระพุทธศาสนา
…เป็งปุ๊ด (เพ็ญพุธ) พุธ ๑๕ ค่ำ คือวันพุธ
ที่ ๒๑ สค.นี้ มีประเพณีทางเหนือ
เค้าตักบาตรพระอุปคุตกัน
ใครไม่เคยตักบาตรพระกลางคืนก็ไปนะครับ ไม่ไปก็รับรู้ไว้ด้วย
ความเชื่อบางอย่างที่เป็นเอกภาพทำสังคมขนาดใหญ่ให้ร่มเย็นมาอย่างต่อเนื่อง
ไม่จำเป็นต้องมีเหตุผลหรือทันสมัย เพราะความเชื่อที่ทันสมัยหลายๆอย่างทำลายสังคมมามากแล้ว...จะเอาแต่ความจริง
ทั้งที่ไม่เคยพิสูจน์เลยว่า ตัวเองมีตัวตนอยู่จริงหรือไม่..เพราะไม่มีกระดูกบรรพบุรุษมาอ้างอิงเป็นหลักฐาน...
…ในอดีต พระพุทธศาสนาคือหลักการสร้างสังคมชนเผ่ามาเป็นสังคมเมืองและสร้างสังคมเมืองให้เป็นสังคมมหานคร
ไม่อย่างนั้น..ในการเข้าปริวาสของภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ไม่จำเป็นต้องใช้ภิกษุผู้บริสุทธิ์
๒๐ รูป ขึ้นไปช่วย (สวด) ประกาศรับรองครับ!!!
...ธัมมัง
สรณัง คัจฉามิ...ครับ!!!
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
No comments:
Post a Comment