Breaking Dharma PART 64...!!!
....
สืบเนื่องจากจาก part
63
ความเพียร
(สัมมาวายามะ) ของพระพุทธศาสนา
มีชื่อเทคนิคเฉพาะว่า
"สัมมัปปธาน ๔"
ประกอบด้วย ;
(๑) สังวรปธาน
หมายถึง
ชั่วที่ยังไม่เกิด อย่าให้เกิด
(๒) ปหานปธาน
หมายถึง
ชั่วที่เกิดขึ้นแล้ว ต้องดับให้ได้
(๓) ภาวนาปธาน
หมายถึง
กุศล (ดีเป็นแค่ส่วนเล็กๆของกุศล) ที่ยังไม่เกิดต้องพยายามทำให้เกิด
ท่านใช้
"ภาวนา" ครับ....!!! ซึ่งคงหมายถึง
ภาวนามัย...บุญที่สำเร็จได้ด้วยการภาวนา นั่นเอง
อธิบายว่า
ถ้าไม่เกิดปัญญาตั้งแต่ชั้น (๑) สังวรปธาน ก็จะสั่งสมประสบการณ์เป็นสมาธิ
ไม่ได้ครับ
เพราะมีคาถา
ธรรมบทยืนยันไว้ว่า...
ฌานไม่มี
ปัญญาก็ไม่มี ( Natthi jhanan apannassa)
ปัญญาไม่มี ฌานก็ไม่มี (Panna
natthi ajhayino)
..ปัญญา
ในสังวรปธาน นั้น คือการเห็น (ความเข้าใจ) กระบวนการทำงานระหว่างหัวใจ กับ
อายตนะประสาททั้ง ๕
ระบบ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย)..
ที่มีสมองเป็นที่เก็บข้อมูลประสบการณ์ในการทำงานของอายตนะประสาททั้ง
๕ ระบบ โดย...
หน่วยประมวลผล
ของอายตนะประสาททั้ง ๕ อยู่ที่สมองส่วนหน้า
หน่วยประมวลผล
ของหัวใจกับอายตนะประสาททั้ง ๕ อยู่ที่สมองส่วนล่าง
ติดกะกระบอกตาทั้งสอง
การแยกหน่วยประมวลผลทั้ง
๒ กลุ่มให้เป็นอิสระจากกันได้ก็คือ..
การดับ
มโนวิญญาณที่จะเกิดจากการอิงอาศัยประสบการณ์ของอายตนะทั้ง ๕
(จักขุวิญญาณ, โสตวิญญาณ, ฆานวิญญาณ, ชิวหาวิญญาณ, กายวิญญาณ)
ความสามารถในการเข้าแยกการทำงานของหน่วยประมวลผล
๒ ส่วน
ออกจากกัน
คือการใช้สติเข้าควบคุมลมหายใจเข้าออก (ม้า ของอัศวิน)
จะทำให้โยคาวจรเป็นเจ้านายของอัศวิน (จิต) ไปในที่สุด
เป็นที่มาของสัมมาสมาธิ
ขั้นที่ ๑ (ปฐมฌาน)..
ที่..ความประเสริฐสุดของขั้นนี้
คือ การดับ..ราคานุสัยเป็นที่มาของ..
นิพพานขั้นที่ ๑ ชื่อ
เนกขัมมสุข เป็นสมาบัติพื้นฐานของอริยบุคคลชั้น อนาคามี
(นิพพาน มี ๔
ขั้น...เกิดจาก ท่านพระอุทายี เบรค การเทศน์ของท่านพระสารีบุตร
ต่อเบื้องพระพักตร์ของพระศาสดา
ณ มหาวิหารเชตวันท่ามกลางญาติโยมมหาศาล ว่า
"ฮะเหย ภันเต ในเมื่อนิพพานไม่มีเวทนา
ไฉนภันเต จึงว่านิพพานเป็นสุข....???"
ทำให้ท่านพระสารีบุตรต้องขยายนัยะอย่างละเอียดออกมา
เป็นพระสูตรใหญ่ยาวบทหนึ่ง ไม่ขอเปิดเผย..ณ ที่นี้)
นี้คือ ข้อที่ (๓) ภาวนาปธาน
ในสัมมัปปธาน ๔ ที่ ถูกละเมิดหนักมาก....
(๔) อนุรักขนาปธาน
คือการรักษาผลงานจาก ภาวนาปธาน
มีพระพุทธวจนะตรัสแสดงข่ายใยแห่งความสัมพันธ์
ของการบำเพ็ญ
สจิตฺตปริโยทปนํ ไว้ดังนี้...
(๑) จิตมีอารมณ์เดียว (ไม่ไปมิกซ์รวมกับประสบการณ์ของอายตนะประสาททั้ง
๕ ดังกล่าวข้างต้น)
ท่านเรียกว่า จิต เป็นสมาธิ
(๒) สติปัฎฐาน
๔ เป็น นิมิต (เครื่องหมาย) ของสมาธิ
(๓)
สัมมัปปธาน ๔ เป็นเครื่องอุดหนุน (ที่มา และที่ไป) ของ สมาธิ
การเสพให้คุ้น
ความเจริญ ทำให้มาก ซึ่ง ธรรมเหล่านี้
(คือ สมาธิ,
สติปัฏฐาน ๔ และ สัมมัปปธาน ๔)
เป็นการทำให้สมาธิเจริญ
และ
สมาธิดังกล่าวนี้เท่านั้น..คือความสุข
"ปัจจุบัน"
ในประสบการณ์การค้นพบ
ของพระพุทธศาสนา
(จาก ข้อ ๕๐๘ จูฬเวทัลลสูตร มูลปัณณาสก์ มัชฌิมนิกาย ไตรปิฎก สยามรัฐ เล่ม
๑๓/๔๕)
การบิดเบือนความเพียร
ในพระพุทธศาสนาให้เป็นเรื่องของอุตสาหะ
เป็นปมหายนะแห่งความเสื่อมทรามลงข้อหนึ่งของราชอาณาจักรนี้.....
พระที่สอนสมาธิ
ผิด..พอๆกะพระที่ปฏิเสธเรื่องสมาธิ...
เตรียมไปอุบัติเป็นเปรต
มีผ้ากาสาวพัตร์ลุกเป็นไฟนรกห่อหุ้มตัวกันได้เลย.
Atthanij
Pokkasap
รายงาน
15:50 น. แรม
๙ ค่ำ เดือน ๑๒
วันอังคาร ๒๖
พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๖
...ศาสนาเดียวที่สอนการฝึกจิต เป็น
อนุสานีปาฏิหาริย์
ประกาศขั้นตอนของหลักสูตรอย่างเปิดเผยท้าทาย..กลับมาถูกบิดเบือนเอาอย่าง่ายๆโดยพวกมักง่ายทั้งหลาย....
...ลมหายใจ ก็ถือเป็น
หนึ่งในสติปัฎฐาน ๔ อันเป็น นิมิต (เครื่องหมาย) ของสมาธิ
ตามข้อ (๒)...เป็นพื้นฐานขั้นต้นของสติปัฏฐานเกี่ยวกับหมวดอานาปานบรรพโดยตรง...
เพราะแยกเป็น
4 หมวดใหญ่...นี่เป็นบรรพหนึ่งในหมวดกาย...ที่ต้องเริ่มต้นเรียนรู้ก่อนบรรพอื่น
เช่น อิริยาบถบรรพ..
เพราะเห็นที่สอนให้เรียนรู้เรื่องการเคลื่อนไหวในกิริยาต่างๆกันในชีวิตประจำวัน...
แต่ที่เราเน้นแค่ลมหายใจแล้วมันก็จะไปเกี่ยวเนื่องกับหมวดใหญ่ทั้ง
4 หรือทั้ง 16 บรรพไปเองโดยธรรมชาติ...
...ลมหายใจ เป็นแม่บท แล้ว ทุกบรรพ. ท่านเรียกว่า.มาเองโดยธรรมชาติ
ของมรรค..แต่ที่ขยายออกจนเป็น ๑๖ บรรพ นั่นคือ
ความรัดกุมที่รองรับ พื้นภูมิธรรมของแต่ละคนที่อธิษฐานมาไม่เหมือนกัน
ครับ....
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
No comments:
Post a Comment