Buddha-sci-fi-muayThai-history-astrology-superstition-language-yoga-music-art-agricuture-herb-food

...I believe that meditation and healthy food are an essential human experience and should be freedom to learn too................................ Buddha-Dharma-Sangha-science-fiction-MuayThai-History-Astrology-Superstition-religion-Language-math-mind-universe-meditation-Yoga-Music-Art-Agricuture-Herb-Food...this is good health and life. All give us be Oneness. I will try to understand you and everybody around the world................ WE ALL ARE FRIENDSHIP......Truth me

Sunday, January 15, 2017

80.Breaking Dharma PART 79





Breaking Dharma PART 79...!!!
....


ตอน ..ไม่มีอะไรเป็นของเรา


ณ ต้นสาละคู่ สวนป่าสาละ (สาลวัน) ใกล้เมืองกุสินารา...
พระพุทธองค์ตรัสบอกแก่ท่านพระอานนท์ พุทธอนุชาว่า
"อานนท์! เธอจงจัดตั้งที่นอน ระหว่างต้นสาละคู่
มีศรีษะทางทิศเหนือ เราลำบากกายนัก จักนอน"

                                                                                
(ท่านพระอานนท์จัดแล้ว พระพุทธองค์ทรงประทับสีหเสยยา มีอัศจรรย์ ดอกสาละผลิดผิดฤดูกาลโปรยลงบนพระสรีระ 
ดอกมณฑารพ จุร์ณไม้จันทน์ ได้โปรยปรายลงมาจากอากาศ เสียงสังคีตมโหรีดนตรีทิพย์ปรากฏดังขึ้นบูชาพระพุทธเจ้า)


พระพุทธองค์ตรัสว่า..
"อานนท์! การบูชาเหล่านี้ หาชื่อว่า ตถาคตเป็นผู้ที่ได้รับสักการะ เคารพ นับถือ บูชาแล้วไม่
อานนท์! ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาใดประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง 
ปฏิบัติตามธรรมอยู่ ผู้นั้นจึงชื่อว่าย่อมสักการะ เคารพ นับถือ บูชาตถาคต ด้วยการบูชาสูงสุด
อานนท์! เพราะฉะนั้น เธอพึงกำหนดใจว่า
เราจักประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม
ปฏิบัติชอบยิ่ง ปฏิบัติตามธรรมอยู่ ดังนี้"


(เมื่อพระอานนท์ทูลขอให้เสด็จไปปรินิพพานเมืองอื่น
เพราะที่กำลังประทับขณะนี้เป็นเมืองกิ่ง เมืองดอน)


พระพุทธองค์ตรัสว่า
"อานนท์! เธออย่ากล่าวว่า เมืองน้อย เมืองดอน กิ่งเมืองดังนี้เลย
ครั้งก่อนโน้น ราชาพระนามว่ามหาสุทัศน์
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิธรรมราชา มีอาณาเขตกระทั่งมหาสมุทรทั้งสี่ 
ชนะสงคราม มีชนบทมั่งคั่ง ประกอบด้วยรัตนะ ๗ ชนิด
อานนท์! เมืองกุสินารานี้แล
เป็นราชธานีของพระเจ้ามหาสุทัศน์ ในครั้งนั้น ชื่อว่า กุสาวดี
ยาวทางบุรพทิศและปัจฉิมทิศ ๑๒ โยชน์
กว้างทางอุตรทิศ และทักขิณทิศ ๗ โยชน์ เกลื่อกล่นด้วยหมู่มนุษย์
.. ฯลฯ"

"อานนท์! ความคิดอาจมีแก่เธอว่า
ผู้อื่นต่างหาก ที่เป็นพระเจ้ามหาสุทัศน์ในสมัยโน้น
อานนท์! เธอไม่ควรเห็นเช่นนั้น
เรานี้เอง เป็นพระเจ้ามหาสุทัศน์แล้วในสมัยนั้น
นครจำนวนแปดหมื่นสี่พัน มีราชธานีกุสาวดีเป็นประมุข
เหล่านั้นของเรา
ปราสาทจำนวนแปดหมื่นสี่พัน มีปราสาทชื่อ ธรรมปราสาท
เป็นประมุข เหล่านั้นเป็นของเรา
เรือนยอดจำนวนแปดหมื่นสี่พัน มีเรือนยอดชื่อ มหาวิยูหะ
เป็นประมุข เหล่นั้นเป็นของเรา
บัลลังก์จำนวนแปดหมื่นสี่พัน ทำด้วยทอง ทำด้วยเงิน 
ทำด้วยแก้วมณี ทำด้วยงาช้าง..ฯลฯ... เหล่านั้นเป็นของเรา
ช้างจำนวน แปดหมื่นสี่พัน มีพญาช้างตระกูลอุโบสถ
เป็นประมุข เหล่านั้นเป็นของเรา
ม้าจำนวนแปดหมื่นสี่พัน มีพญาม้าตระกูลวลาหก
เป็นประมุข เหล่านั้น เป็นของเรา
...ฯลฯ
หญิงงาม แปดหมื่นสี่พัน มีนางแก้วสุภัททาเทวี
เป็นประมุข เหล่านั้นเป็นของเรา
คฤหบดีมหาศาล แปดหมื่นสี่พัน มี คฤหบดีแก้ว
เป็นประมุข เหล่านั้นเป็นของเรา
มหาราชา แปดหมื่นสี่พัน องค์มี มหาราชาผู้เป็นปริณายกแก้ว
เป็นประมุข เหล่านั้นเป็นของเรา
... ฯลฯ ...

อานนท์! นครที่เราอยู่ ปราสาทที่เราประทับ
...ฯลฯ...ถาดตกแต่งเครื่องกระยาหาร ที่เราใช้
ล้วนเป็นของชั้นเอก ไม่มีสองมาเปรียบเทียบได้...
... ... ...
อานนท์! จงดูเถิด..
สิ่งทั้งหลายเหล่านั้น ทั้งหมดได้ล่วงไปแล้ว
ดับหายไปแล้ว แปรปรวนไปสิ้นแล้ว
อานนท์!
สังขารทั้งหลาย เป็นของไ่ม่เที่ยง เช่นนี้เอง
เป็นของไม่ยั่งยืน เช่นนี้เอง
เป็นของไม่มีเจ้าของ อย่างนี้เอง

อานนท์!
เพียงเท่านี้ก็พอแล้ว
พอเพื่อจะหน่ายในสังขารทั้งหลาย
พอเพื่อคลายกำหนัด พอเพื่อหลุดพ้นไปจาก
อานนท์!
เรารู้ที่ ที่เป็นหลุมฝังเรา
มหาชนเขาฝังสรีระของเราไว้ ณ ที่นี้
การทอดทิ้งร่างเหนือแผ่นดินครั้งนี้..
เป็นครั้งที่ ๗ ของเราในชาติที่เป็นพระราชาชั้นมหาจักรพรรดิ !!!"
.. ฯลฯ ...


จาก มหาสุทัสสนสูตร มหาปาฎิกวรรค ทีฆนิกาย
ไตรปิฎก สยามรัฐ เล่ม ๑๐/๔๕ ข้อ(๑๘๕)
(พระเจ้ามหาสุทัสสนจักรพรรดิ เป็น ชาติที่บำเพ็ญ "ทานบารมี"
ที่ยิ่งใหญ่มากที่สุดชาติหนึ่งของพระพุทธเจ้า)


Atthanij Pokkasap
18:00 น.แรม ๑๑ค่ำ เดือน ๓
จันทร์ ๒๗ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๗




...ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก...ไมมีใครรอดพ้นความตายครับ






                                                                                                        ๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
   
  


* Story & Photos by  Atthanij Pokkasap

No comments: