93.พระพุทธเจ้า - พระธรรม - พระสงฆ์ - วิทยาศาสตร์ - นิยาย - มวยไทย - ประวัติศาสตร์ - โหราศาสตร์ -ไสยศาสตร์ - ศาสนา - ภาษา - คณิตศาสตร์ - จิต - จักรวาล - สมาธิ - โยคะ - ดนตรี - ศิลปะ - เกษตรกรรม - สมุนไพร - อาหาร = สุขภาพและชีวิตที่ดีงาม
ข่าวสาร จาก พุทธตันตระแห่งเอเชียกลาง
(ตอน ๗)
ตอน หลักสูตรพื้นฐาน.....
..... .....
ขั้นที่ ๑. ที่เรียกว่า
การแนะนำคำสอนด้วยภาชนะ นั้น หลักสูตรนี้ทั้งหมดในสายพุทธตันตระสยาม ไปปรากฏเป็นเนื้อหาทั้งหมดของวิชาจิตรกรรมไทยประเพณี
(สูงสุด ของจิตรกรรมไทย คือการเขียนฝาผนังให้เกิดปรากฏการณ์ ช้อยนางรำ
ที่ภาพออกมาเคลื่อนหมุนเวียนแล้วกลับคืนไปในฝาผนัง) หลักสูตรสูงสุดของจิตรกรรมไทย
คือ ออกแบบให้กับ งานศิลปะทั้งหมด รวมถึง นาฏศิลป์ไทย และศิลปมวยไทยด้วย เรียกในจิตรกรรมชั้นครูว่า หลักสูตร *จับ-รัด-ตัด-หัก*
...ในฝ่ายธิเบต
คือการเรียนรู้ความหมายของ มันดาลา(Mandala) คือ มัณฑละ และ
มณฑล ในภาษาไทย ประกอบด้วย การเรียนรู้ ๓ ระดับ ได้แก่
๑..มัณฑละธาตุแห่งครรภ์
๒..มัณฑลธาตุแห่งวัชระ(โพธิจิต)
๓..มัณฑละธาตุแห่ง..ปฏิจจสมุปปาท
ระดับที่
๑. นั้นคือการถ่ายทอดภาพ(รูปและแสง)ในภวังคจิตขณะศรัทธาต่อคำสอนแต่ละเหตุการณ์ของพระศาสนา
ศิลปะเขียนภาพขั้นนี้ธิเบตเรียกว่า ฐังคะ (Thanka) ส่วนพุทธตันตระสยามเรียก
จิตรกรรมไทยประเพณี (จารีต บังคับเขียน..พระเจ้า ๑๐ ชาติ, หิมพานต์ตอนเขาคันธมาสน์ที่รองรับพระปัจเจกพุทธ
๕๐๐ พระองค์, พุทธประวัติ ๒๙ ปริเฉทเท่าอายุก่อนออกผนวช, ไตรภูมิเป็นหลัก) รายละเอียดอยู่ที่การคิดค้นหา วัสดุอุปกรณ์ คือสี
และเครื่องมือช่าง เพื่องานจิตรกรรมต่างๆจากธรรมชาติแวดล้อม...
..ในชั้นนี้
พุทธตันตระสยามจะต้องเรียน คัมภีร์ปถมัง ไปด้วย เพื่อเข้าถึงอำนาจศักดิ์สิทธิ์ในเส้นสายเรขาคณิตตามเป็นจริง ซึ่งเป็นกำเนิดของ มัณฑละธาตุแห่งครรภ์ ธิเบต รุ้หัวข้อ..แต่สยามมีรายละเอียดและไม่รู้หัวข้อ
ระดับที่ ๒. มัณฑละธาตุแห่งวัชระ การพยายามเข้าถึงศูนย์กลางของมณฑล นั่นคือ ภวังคจิต ที่ไร้รูป..เพราะจำลองรูป (คือเข้าใจ) ออกสู่วงกลมภายนอกหมดแล้ว...ธิเบตรู้หัวข้อ..แต่ไม่มีรายละเอียด
พุทธตันตระสยามรู้รายละเอียดทั้งหมด แต่ไม่รู้หัวข้อ...เพราะ เมื่อเขียนภาพ
หรือเข้าถึงเส้นสายทางเรขาคณิตของ จุติ-อุบัติของจักรวาลในไตรภูมิตามที่
คัมภีร์ปถมัง ย่อส่วนเข้ามา คัมภีร์ปถมังของพุทธตันตระสยามนั้นให้ฝึกเขียนเส้นสายเรขาคณิตที่เป็นสัญลักษณ์ของ จุติ-อุบัติ
ของจักรวาลแบบไตรภูมิไปพร้อมกับการฝึกสมาธิ สุญญตนิมิต,อนิมิตตนิมิต
และอปณิหิตนิมิต ไปพร้อมในตัว จบการศึกษาคัมภีร์ก็จะบรรลุสมาธิดังกล่าว
..นี่คือคุณภาพชนชั้นผู้นำของสยามในยุคสถาปนาราชอาณาจักร!!! (ส่วนนี้สำคัญมาก
ต้องแยกไปอรรถาธิบายอีกต่างหาก)
ระดับที่ ๓.
มัณฑละธาตุแห่งปฏิจจสมุปปาท...ธิเบตรู้หัวข้อและมีรายละเอียด แต่พุทธตันตระสยามสาบสูญการถ่ายทอดไปทั้งชุด ภาพปฏิจจสมุปปาทที่เป็นรูปมัณฑละ เป็นการยืนยันว่าทั้งพุทธตันตระสยาม และวัชรยาน
มันตรยาน..มีพระพุทธศาสนานิกายสรรวาสติวาทเป็นนิกายแม่...เถรวาทฝ่ายใช้ภาษาสันสกฤตนี้
เป็นเถรวาทสายวัชชีบุตรฝ่ายราชนิกูลของราชวงศ์ทั้ง ๘ แห่งแคว้นวัชชีสมัยพุทธกาล เป็นผู้ออกแบบภาพปฏิจจสมุปปาทไว้ที่ผนังประตูวิหารเชตะวันตั้งแต่สมัยพุทธกาล....
...หลักสูตรสูงสุดของจิตรกรรมไทยประเพณีที่เรียกว่า
"จับ-รัด-ตัด-หัก"....ต้องอธิบายคนเดียวทั้งหมดอีกแล้ว....อวดเก่งกันแต่ถามว่ารู้จักหรือเปล่า..ก็เปล่าทั้งนั้น...เป็นมรดกของบุรพชนและของพระพุทธศาสนาที่โดดเด่นเป็นเอกเทศโดยแท้ แต่กลับไม่มีใครรู้จักกันเลย....เป็นพุทธศาสนิกชนที่อยู่ในสมการตาบอดมือด้วนคลำช้างเชิงซ้อนกันไปได้อย่างไร...เตือนสติก็โกรธ...
…การศึกษาแบบเปรียบเทียบ (สัมพัทธภาพ)
ทำให้เราเผชิญกับความจริงของโลกตามเป็นจริง...การศึกษาที่แอบอ้างความเป็นกลางแบบค่าสัมบูรณ์อุปโลกน์กันขึ้นมาจากกระบวนการวิทยาศาสตร์ยุคล่าคนมาเป็นทาสทั้งนั้น..รับเข้าไปได้ เพราะมันได้มาซึ่งอำนาจและการจัดการนั่นเอง....
…ลุแก่อำนาจกันจนรับความรู้แบบเปรียบเทียบตามเป็นจริงกันไม่ได้.. ศีล..เลยไม่ผ่าน
ความแตกแยกเกิดจากสิทธิพิเศษไม่รับรองกันในความเสมอภาคเพราะศีล...หรือหน้าที่..
…จับ คือภาพจับ อธิบายยาก ต้องไปให้สานกระด้งพื้นบ้านบุรีรัมที่มี
ห้า หกลายในใบเดียวโดยไม่ต้องมีการออกแบบ การวางตอกคือการจับ...ในจิตรกรรมไทย ภาพจับ คือภาพที่ประกอบมากกว่าตัวละคร ๒
ภาพขึ้นไป มักออกเเบบเป็นเลขคี่ เรียก จับสาม จับห้า
เหมือนจับหัวขนมจีนหรือจับด้ายสายสิญจน์
…เห็นไหม การกระทายกระด้งครั้งหนึ่ง เปลือกข้าว, เมล็ดข้าวแต่ละขนาดไหลไปตามลาย ชนิดใครชนิดมัน การวางจักตอกเพื่อสานลายนั่นแหละที่โบราณท่านเรียก
"จับ"
…ภาพจับในจิตรกรรมไทยวางแบบเหมือนลายสาน...พัฒนาเข้าไปในศิลปะมวยไทยเลยเป็นเลิศแต่พวกไอ้บ้าว่าเป็นมวยนาฏศิลป์....ตาไม่ถึงเสือกสมองบอดอีก..555
กะลังถูกมันหลอกให้เปิดเผยเคล็ดลับของพุทธตันตระอยู่มังครับ..
…เคยได้ใช้ถึงขั้น
"ตัด" อยู่ในหัตถจักรมณฑล (กระบวนหมัด) และบาทจักรมณฑล (กระบวนเท้า) แค่มันต่อยมาเอาปลายศอกฟันรับหมัด..ปักเดียวหมัดหงิกเลย...แต่การรู้จังหวะ..มันต้องนั่งสมาธิเป็น เพื่อขยายเวลาและล็อคโอกาส จึงจะทำได้...
…เก่งมากๆ โขกหัวรับหมัดเหมือนโขกตะกร้อ หมัดหงิกท่าสวยงามมาก...มวยหมัดร้องไห้เลิกชกเลย...เตะก็เหมือนกัน
อย่างเกรงใจก็ยกเข่ารับ แต่เอากันถึงแข้งหัก ก็ใช้ศอกขยับเข้าในพลิกเคาะกลางหน้าแข็ง ปักเดียวกระดูกแข้งร้าว จบอาชีพมวยเลย...
...รัดที่เหมือนเข้าขอบกระด้ง ใช่เลย..เป็นการเล่นวงในของครูมวย...โจวชิงฉือมันก็เคยแสดงนะ
มวยตุ๊กแก งัย ....เข้าในเก็บอาวุธฝ่ายตรงข้ามได้หมด
เพราะไปถ่างขาซ้ายขาขวามันให้ทำงานไม่ประสานกัน อะไรขยับมาจัดการล็อค จัดการหนีบเอาไว้หมด...แล้วก็ถ่างขามันไปด้วย..งานเข้าขอบกระด้ง
จริงๆ..
...งานเก็บขอบภาพเหมือนงานงานสานเก็บขอบกระด้งเลย....เก็บขอบภาพให้เนียนสัมพันธ์กับภาพถัดไปจนดูไม่ออกว่าเป็นเส้นคั่นภาพจิตรกรรมยากมาก..แต่งแขนของจิ๊กซอว์งัย..จำฝีมือช่างไม้โบราณได้มั้ย...เอาไม้ประกบกันทำกาละมัง
น้ำไม่รั่ว จัดอยู่ในหมวดนี้เหมือนกัน
..." ตัด " ล่ะ ยังไง....ก็เอามีด
หรือตะไกร ฉับๆๆเลย...ภาพจิตรกรรมมีหลายตอน
ที่ผิดพลาดต้องลักไก่ตัด...บางทีเพิ่ม...อย่างภาพกากชาวบ้านนอนเอากัน
ในจิตรกรรมฝาผนังรุ่นเก่า..เยอะมาก..พื้นที่มันว่าง...เกินกว่าจะตัด
...ลึกล้ำมากจิตรกรรมไทย จึงเป็นต้นแบบงานศิลปช่างทุกสาย...
...แล้วหักล่ะ จะเหมือนไหม..ไม่บอก
เดี๋ยวไม่เป็นครู..ต้องยักไว้นิดนึง 555
ไปสังเกตชั้นครูสานกระด้ง เมืองบุรีรัมย์ดู...ว่าตอนไหนคือ
หัก...เพราะตอนเตรียมจักตอกจะสาน กะมาหมดแล้ว
สานๆไปมีมุมไล่ทำให้เกินต้องตัด เกินตัดก็ต้องหัก มันเป็นศิลปะภาคปฏิบัติครับ...กำหนดตายตัวไม่ได้..ยังกะ อนัตตาเลย..
…ศิลปะเป็นเรื่องผู้มีฝีมือและมีปัญญาสะท้อนโครงสร้างของธรรมชาติตามเป็นจริงครับ..
...ธรรมชาติเป็นผู้ออกแบบ มนุษย์เป็นผู้สะท้อนออกมาเป็นทฤษฎี แต่วิทยาการทุกวันนี้มันกลับกัน...มันเลยพินาศและนำหายนะมาสู่ธรรมชาติของสังคมมนุษย์...
…ศิลปะในอุปกรณ์เครื่องใช้ในวัฒนธรรมชาวนาที่พระพุทธศาสนาเข้ามาออกแบบสอดแทรกหลักธรรมเอาไว้...ปฏิบัติธรรมจริงใจจะเปิดเกิดการหยั่งรู้ทั้งลึกและกว้าง...
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
No comments:
Post a Comment