Breaking Dharma PART 10...!!!....
*** ปัญญา ที่ทำให้ การถือศีล ๕ นำไปสู่การมุ่งมั่นฝึกสมาธิ ***
มีพระพุทธาธิบายไว้
ดังนี้.
.(๑๔๕๙)
..ดูก่อน พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ธรรมปริยายที่ควรน้อมเข้ามาในตนเป็นไฉน
อริยสาวก
ในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็น ดังนี้ว่า...
.. เราอยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย รักสุขเกลียดทุกข์
ผู้ใดจะปลงเรา
ผู้อยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย รักสุขเกลียดทุกข์ ข้อนั้น ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของเรา.
..อนึ่ง เราพึงปลงคนอื่น ผู้อยากเป็นอยากอยู่ ไม่อยากตาย รักสุขเกลียดทุกข์ เสียจากชีวิต
ข้อนั้น
ก็ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจแม้ของคนอื่น
ธรรมข้อใด
ไม่เป็นที่รัก ที่ชอบใจของเรา
ธรรมข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น
ธรรมข้อใดไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา
เราจะพึงประกอบไว้ด้วยธรรมข้อนั้น อย่างไรได้
อริยสาวกนั้น
พิจารณาเห็นได้ดังนี้แล้ว..
ตนเองย่อมงดเว้น
การปาณาติบาตด้วย
ชักชวนผู้อื่น
เพื่องดเว้นจากปาณาติบาตด้วย
กล่าวสรรเสริญ
คุณแห่งการงดเว้นจากปาณาติบาตด้วย
กายสมาจารของอริยสาวกผู้นั้น
ย่อมบริสุทธิ์ด้วยส่วนสาม ดังนี้ ฯ
(๑๔๖๐)..
อาการขโมย/
ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ให้...ฯลฯ
(๑๔๖๑) ประพฤติผิดในกาม...ฯลฯ (๑๔๖๒) ทำลายประโยชน์โดยการกล่าวเท็จ..ฯลฯ (๑๔๖๓
ส่อเสียด...ฯลฯ (๑๔๖๔) คำหยาบ...ฯลฯ (๑๔๖๕) เพ้อเจ้อ...ฯลฯ
(๑๔๖๖) อริยสาวกนั้น ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้า...ในพระธรรม...ในพระสงฆ์ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะใคร่แล้ว...เป็นไปเพื่อ
สมาธิ ฯ
(๑๔๖๗) ...
..ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย เมื่อใดอริยสาวก ประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการ คือ กายกรรม ๓ วจีกรรม ๔ นี้
เมื่อนั้น
อริยสาวกนั้น หวังอยู่ด้วยฐานะ เป็นที่ตั้งแห่งความหวัง ๔ ประการนี้..
..พึงพยากรณ์ด้วยตนเองได้ว่า เรา...มีนรก
กำเนิดสัตว์เดรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ
วินิบาตสิ้นแล้ว
เรา..เป็นพระโสดาบัน
มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ฯ
จาก
เวฬุทวารสูตร มหาวารวรรค สังยุตตนิกาย ไตรปิฎก สยามรัฐ เล่ม ๑๙/๔๕
หมายเหตุ
Atthanij Pokkasap..ผู้อัญเชิญ
;
(๑)..การที่จะมาพูดเอาง่ายๆว่า สวรรค์อยู่ในอก
นรกอยู่ในใจ...พิจารณาพระสูตรนี้ให้รอบคอบด้วย
(๒) การถือศีลต้องถือปฏิบัติให้บริสุทธ์ครบส่วนสามคือ
๒.๑
ปฏิบัติด้วยตนเอง
๒.๒
แนะนำให้ผู้อื่นปฏิบัติ และ..
๒.๓
กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปฏิบัติ
ต้องทำหน้าที่ถือครบ
๓ ส่วนครับ จึงจะเกิดจิตฮึกเหิมฟูฟ่อง..นำไปสู่การได้จิตที่เป็นสมาธิ.
(แต่เบรคหน้า จะมี...ขวดเหล้าเดินได้ ผู้เป็นพระโสดาบัน ในสมัยพุทธกาล....ท่านหนึ่ง
เป็นเคสพิเศษของพระพุทธศาสนา
ให้ได้รับทราบกัน!!!)
...การเชื่อมโยงระหว่างศีลไปหาสมาธิ ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรง...ออกนอกเส้นทางกันไปหมด...ครับ.
…ชัดเจนว่า การถือศีล เกิดจากการเคารพใจเขา เคารพใจเราน่ะครับ...เป็นเรื่องของการอยู่ร่วมกัน...รับผิดชอบซึ่งกันและกัน...ประเภทปิดหูปิดตา...เอาตัวให้รอด...ท่านสอนไว้ตรงไหนครับ..ท่านผู้รู้ช่วยบอกที่มาที่ไปกันด้วย....
…ธรรมเหล่านี้ ผมได้มาจากความไม่เชื่อ (ตามพิสูจน์และจับผิดสิ่งที่ไม่เชื่อ ไม่ใช่ไม่เชื่อแต่ปากที่สำเร็จจากการลุแก่อำนาจ...ไม่เชื่อของผมต้องมีเหตุล้มล้างว่า
ไม่เชื่อเพราะอะไรมั่ง คุ้ยให้ถึงที่สุดเลย) แล้วก็พบว่าไอ้ที่กรูไม่เชื่อก็เพราะกรู..มักง่ายและคิดไปเองทั้งนั้น..ครับ.
...ศีล
๕ ตอนตั้งใจปฏิบัติ...บรรุลุมโนกรรม ๓ ฝ่ายกุศลไปแล้ว พระพุทธองค์จึงไม่ทรงตรัสถึง
กายกรรม ๓ วจีกรรม ๔ ก็คือ
หัวข้อไล่ถัดๆมาตามลำดับนั่นไง...เนื้อหาเดียวกับหัวข้อแรก
ที่เป็นปาณาติบาต
...แล้วเป็นหัวข้อถัดๆมา...แล้วพระพุทธองค์จึงสรุปลงเป็นหมวดธรรมในตอนท้ายพระสูตร....
…คำสอนพระพุทธองค์..เป็นตรรกะ รัดกุมมาก...เชื่อมโยงไม่เป็นเพราะอ่านด้วยตา ไม่ใช่อ่านแล้วรู้สึกถึงในใจ...ค่อยๆฝึกครับ...
...คำว่าสรรเสริญ
มีสองนัยะ...ภายนอกก็พูดให้คนอื่นฟัง...ภายในก็คือตั้งใจทำให้ได้
การตั้งใจทำให้ได้ ได้ชื่อว่ากำลังแสดงความเคารพและแสดงการสรรเสริญ..(คือของดีจริงก็ต้องแสดงความเป็นเจ้าของอย่างเปิดเผยสง่างามสิ...จะมากระมิดกระเมิ้ยนถือปฏิบัติแบบลับๆล่อๆได้งัย...ทุกวันนี้ใครมีศีลเป็นประจำ
มันว่าบ้าเลย ไม่ใช่รึ)
…ศีลเต็มเมื่อไหร่ จิตเค้าจะแสดงความมั่นใจฟูฟ่องอย่างอาจหาญ...ใจที่ฟูนี่แหละ จะพัฒนาเป็นสติฐานของสมาธิอย่างรวดเร็ว
...ผมจึงเสนอเรื่อง..เจ้าชายสรกานิศากยะ
ผู้มีศีล (๕)ไม่เต็ม แต่...บรรลุพระโสดาบัน…เพราะอินทรีย์ ๕ (ศรัทธา, วิริยะ, สติ, สมาธิ, ปัญญา) + ความรักเคารพในพระพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าท่านเล่าว่า
"พอประมาณ" แต่ในภูมิเถรีคาถา..รักมากมากเลยล่ะ ระลึกถึงแทบทุกลมหายใจ) คือ
แทรกความเพียรเข้าไปกับทุกลมหายใจเข้า ลมหายใจออก...ศีลก็ไม่จำเป็นต้องถือ...(ถือ
สติบนฐานลมหายใจก็พอ) ...งัย ครับ.
...ครับ..ในมหาสติปัฏฐาน
๔ ท่านจึงใช้คำว่า เธอพึงศึกษาโดย ปีติ
และปราโมทย์...ครับ...มั่นใจ ภูมิใจและอาจหาญกล้าเผชิญกับทุกอย่าง ที่จะประดังเข้ามาขณะปฏิบัติ..ครับ....เป็นศาสนาของนักรบชาติอาชาไนยอย่างยิ่งจริงๆ
…ในการปฏิบัติธรรม พระพุทธองค์ถึงกับใช้คำว่า "ทำสงคราม" นะครับ
(ตย.อยู่ในเรื่อง
ท่านพระสุนทรสมุทร..ที่คณิกาสาวัตถีรับค่าจ้างแล้วไปตามท่านถึงราชคฤห์ทำอาหารถูกปาก..ถวายจนท่านรับนิมนต์ขึ้นชั้น
๗ ปราสาท..และเธอก็ยั่วยวน ๔๐ กระบวนท่างัยครับ น้านและ...ท่านว่า
"ทำสงคราม")
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
No comments:
Post a Comment