Breaking Dharma PART 4...!!!
....
ขั้นตอน
ปฏิบัติการโยคะ (สจิตฺตปริโยทปนํ) ของพระพุทธศาสนา ;
ขั้นที่
๑. ต้องมีความเชื่อ เคารพ
ต่อประสบการณ์การค้นพบทั้งหลายของ
พระพุทธศาสนา
(***สัทธา, ศรัทธา***)
ขั้นที่
๒. ต้องสมาทาน รับ และ/หรือเรียนรู้ **ศีล**
ตามเหมาะสมแก่ธรรมในหน้าที่ขณะนั้น
ทั่วไปหมายถึง ศีล ๕ ศีล ๘
ทั่วไปแก่ธรรมในหน้าที่
หมายถึง..
โลกาธิปไตยศีล (ความดี ตามจารีต ระเบียบสังคมที่ตนอยู่),
อัตตาธิปไตยศีล (ความดี ตามหน้าที่ที่ตนยึดมั่นถือมั่นในสังคมส่วนตน) และ
ธรรมาธิปไตยศีล (ความดี
หน้าที่ปกติที่แยกแยะได้ด้วยปัญญาเฉพาะตนแล้วกลมกลืนกับหลักธรรมในพระศาสนา)
ขั้นที่
๓. ต้องศึกษาและพัฒนาสถานภาพตนให้ดำรงอยู่ในความ **สันโดษ **
หมายถึง
พอใจในสิ่งที่มี
และสามารถสร้างปัญญานำสิ่งที่มีมาสร้างให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งแก่ตนและสังคมส่วนตนได้
ขั้นที่
๔. เรียกว่า*** อินทรียสังวร***
หมายถึง
การฝึกความรู้สึกตัว อยู่กับ อิริยาบถการเคลื่อนไหวต่างๆของร่างกาย ตลอดจนรับรู้
เหตุการณ์ต่างๆรอบตัวด้วยความตั้งใจและระมัดระวัง
ที่สุดของอินทรียสังวร
หรือที่แปลกันทั่วไปว่า การสำรวมอินทรีย์ คือความรู้สึกที่ละเอียดอ่อนที่สามารถสัมผัสถึง
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเคมีชีวภาพ (Vibrations) ในกระบวนการทำงานของระบบ
อายตนะประสาท ทั้ง ๖ ได้อย่างอ่อนๆ
ขั้นที่
๕. เรียกว่า***โภชเนมัตตัญญุตา***
หมายถึง การควบคุมอาหารที่รับประทานในแต่ละมื้อ ของแต่ละวัน (Dietary) ให้มีการนำพลังงานไปใช้ที่สัมพันธ์กับการการสร้างพลังงานในสัมผัสของอายตนะประสาททั้ง
๖ ระบบ โดยสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพที่สุด
ตามการค้นพบของพระพุทธศาสนา
หมายถึง
การรับประทานอาหารมื้อเดียวต่อวันในขณะหวังผลในการฝึกจิต ที่ประกอบด้วยการย่อยของกระเพาะอาหารที่มีประสิทธิภาพ (ไม่เหลือกาก) เพราะกากที่เหลือในลำไส้เล็กก็ดี ลำไส้ใหญ่ก็ดี..จะไปหน่วงเลือดลงอวัยวะเบื้องต่ำ
เป็นที่มาของความกำหนัดในกามคุณ ๕
จึงมีคำสอนยืนยันการค้นพบไว้ว่า..
ชื่อว่าอาหารอันเป็นคำหยาบ ต้องเคี้ยวแล้วกลืนกิน (กวฬิงการาหาร) ย่อมเป็นไปเพื่อกามคุณ
๕
อาหารดับ
= กามคุณ ๕ ดับ
กามคุณ
๕ ดับ = ย่อมได้สมาธิ คือ ฌาน
(นปหาย
มุนิ กาเม..มุนีผู้ประหารกามไม่ได้ เนกฺกตฺตมุปปชฺชติ...ย่อมเข้าฌานไม่ได้)
การที่จะทำประสบความสำเร็จในการรับประทานอาหารมื้อเดียวอย่างมีประสิทธิภาพ
อยู่ที่การจัดระเบียบลมหายที่สม่ำเสมอ
ลึก ยาวมั่นคงต่อเนื่อง ทำให้ร่างกายมีการนำออกซิเจนจากอากาศที่หายใจเข้าไป ไปใช้เพื่อการเผาผลาญภายใน (Metabolism) อย่างมีประสิทธิภาพ
ขั้นที่
๖. เรียกว่า ***ชาคริยานุโยค***
หมายถึง
การประกอบด้วยการตื่น (ให้มาก) คือ ควบคุมการนอนให้สม่ำเสมอที่ เวลา 22.00 น ถึง 02.00 น. ต่อวัน
แต่ในสายฝึกหนักแบบทุ่มเทหวังผล จะถือการนั่งเป็นวัตร
ไม่หลับ (เนสัชชิกังคธุดงค์)
การกำหนดการตื่น (แบบผ่อนคลาย
ไม่เพ่ง) ต่อเนื่อง จะเข้มแข็งเป็นระเบียบสม่ำเสมอหวังผลได้นั้น
ก็เช่นเดียววิธีการในขั้นตอน***โภชเนมัตตัญญุตา***
คือ จะมั่นคงสำเร็จขั้นนี้ได้ ต้องอาศัยลมหายใจที่เป็นระเบียบ
ลุ่มลึกดีแล้วเท่านั้น จึงจะทำให้การตื่นตัวแบบไม่ทรมานตนเอง...พัฒนาไปด้วยดี
เหตุผลสำคัญที่ท่านให้ฝึก
ชาคริยานุโยค ก็เพื่อจะได้ให้จิตใต้สำนึก หรือจิตที่ทำงานตอนกลางคืน
กลมกลืนเป็นเอกภาพกับจิตที่ทำงานตอนกลางวัน จิตที่มีเวลาต่างกันนี้เมื่อกลมกลืนเป็นเอกภาพ
ผู้ปฏิบัติจะเริ่มสัมผัส...แสงสว่างตามธรรมชาติของจิต (จิตเดิมแท้
นี้เป็นปภัสสร แต่เศร้าหมองด้วยอุปกิเลส ที่จรมา)
ไม่ใช่ไปกำหนดแสงสว่างมาบังคับจิต
อย่างที่สอนที่ทำๆกันโดยทั่วไปซึ่งปราศจากขั้นตอน ไม่ใช่
คำสอนในพระพุทธศาสนา...
ขั้นตอนที่
๗. ***โยนิโสมนสิการ***
แปลแบบปริยัติทั่วไปว่า
การคิดโดยแยบคาย
แต่เมื่อพิจารณาตามขั้นตอนที่มาจนถึงโยนิโสมนสิการจริงๆแล้วไม่ใช่ การแปลนั้นเป็นการแปลตามศัพท์ของผู้ไม่มีความรู้ในขั้นตอนการปฏิบัติเลย...
โยนิโสมนสิการ
ณ ที่นี้ จะคล้าย "พาหุสัจจะ"
และ "พหูสูตร" คือต้องเรียนรู้ธรรมแห่งการค้นพบในประสบการณ์การค้นพบของพระพุทธศาสนามาอย่างกว้างขวางและละเอียดลึกซึ้ง
แล้วแยกแยะวิเคราะห์ออกมา นำมาใช้ให้เหมาะสมกับประสบการณ์เฉพาะตนของแต่ละบุคคลตามความเหมาะสมตามธรรม
ตามกาลและตามเวลา
ขั้นตอนที่
๘. ***วิเวก***
หมายถึง
"สงัด" เป็นขั้นตอนพัฒนาจิตที่ฝึกมาตามลำดับไปสู่ความสงัด
คือ สงัดจากกามคุณ ๕ อย่างเด็ดขาด เป็นที่มาของการได้..ฌานตามมาตรฐานของสัมมาสมาธิ
เนื่องมาจากประสบการณ์ในขั้นก่อนหน้าที่สัมผัสแสงสว่างตามธรรมชาติของจิตที่ถูกแยกและตัดตอนออกจากการเข้าร่วมผสมกับพลังงานคลื่นในระบบอายตนะประสาทส่วนต่างๆ แสงสว่างตามธรรมชาติของจิตจะนำไปสู่การสัมผัสเห็นมิติที่ซับซ้อนเข้าไปในโลกแห่งกาลเวลาและการเคลื่อนไหวของรูปภาวะทั้งหลาย....ที่เหตุการณ์เหล่านั้นต้องมาเป็นเรื่องปรัมปราแล้วถูกนำมาเล่านำมาถ่ายทอดอย่างสับสนจนกระทั่งจับต้นชนปลายไม่ถูกในปัจจุบัน
สัมมาสมาธิ
คือ ปฐมฌาน (ฌาน ๑), ทุติยฌาน (ฌาน ๒), ติตยฌาน (ฌาน ๓) และ จตุตถฌาน (ฌาน
๔)..ที่เป็นฐานรองรับ วิชา ๓ (เตวิชชา) ปฏิสัมภิทามรรค ๔ และ อภิญญา ๖ ตลอดจน วิชชา ๘ เป็นพัฒนาการสัมผัสเห็นของจิตในระดับนี้ โดยเข้าผสมกับ "อาโลกสัญญา (แสงสว่าง)"
และ/ หรือ "อธิษฐานทิวาสัญญา (แสงสว่างของจิตกลางวัน)"
ลำดับหัวขอปฏิบัติธรรมฝึกจิต
จาก คณกโมคคัลลานสูตร ข้อ(๙๔) หมวด อุปริปัณณาสก์ มัชฌิมนิกาย
ไตรปิฎก เล่ม ๑๔/๔๕
ขยายความโดยประสบการณ์เฉพาะตน
ของ Atthanij Pokkasap
ขอความเข้าใจ
ธรรม ที่เป็นไปเพื่อความเคารพอย่างสูงส่ง ต่อพระสัมธรรม ไม่ใช่พูดเองรู้เองโดย
ไม่สนใจต่อหลักการในคัมภีร์...ได้โปรด
ประสิทธิ์ มงคล และความสวัสดีอันสูงส่งแก่ทุกท่านที่สนใจด้วย เทอญ.
...อาเทสนาปาฏิหาริย์
คือ พระพุทธวจนะตรัสแสดงถึงขั้นตอนกันทำปาฏิหาริย์แห่งจิตที่ฝึกให้ได้ดีแล้วอย่างมีลำดับขั้นตอน...ไม่ใช่คำเทศนาที่เป็นปาฏิหาริย์ตามการแปลแบบปริยัติทั่วไป...ขอบิณฑบาตร
เข้าใจให้ถูกต้องชัดเจนด้วย...ได้เวลาทำนาและขับรถศึกแห่งธรรมกันแล้ว...
…กลับไปดูอริยมรรคองค์ ๘ ครับ อันแรกเลย คือ สัมมาทิฏฐิ!!! คนมีศรัทธา ได้สัมมาทิฏฐิ
ไปแล้วมากน้อย ที่วิจารณ์กันเป็นเรื่องของพวก..หลงทาง
ครับ
…รากฐานข้อมูลที่ผมต้องเชื่อมโยงตามกฏ พุทธคุณ ธรรมคุณ
และสังฆคุณ...ตลอดเวลา
จึงกล้าคิด
กล้าทำและกล้าท้าพิสูจน์...ตรรกะของพระพุทธศาสนา ท่านเชื่อมโยงถักซ้อนยันกันไว้หลายชั้นมาก...เป็นเรื่องของสติปัญญาสุดๆ....
…ในแง่ของอธิปไตย ๓ ผมเข้าถึงหน้าที่อัตตาธิปไตยศีลและหน้าที่ตามธรรมในธรรมาธิปไตยศีลแล้ว
ต้องลงมาทำหน้าที่รักษาขอบเขตของโลกาธิปไตยศีลด้วย
...พระอรหันต์หลายองค์อย่างเช่นท่านพระอุปคุต
ที่ต้องถูกปรับอาบัติ ก็เพราะไม่มาทำหน้าที่สอดส่องขอบเขตของโลกาธิปไตยศีล
ครับ.
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
No comments:
Post a Comment