Buddha-sci-fi-muayThai-history-astrology-superstition-language-yoga-music-art-agricuture-herb-food

...I believe that meditation and healthy food are an essential human experience and should be freedom to learn too................................ Buddha-Dharma-Sangha-science-fiction-MuayThai-History-Astrology-Superstition-religion-Language-math-mind-universe-meditation-Yoga-Music-Art-Agricuture-Herb-Food...this is good health and life. All give us be Oneness. I will try to understand you and everybody around the world................ WE ALL ARE FRIENDSHIP......Truth me

Monday, March 5, 2018

พระสูตรว่าด้วยแผ่นดินไหว ..ภูมิจาลสูตร(Bhumicala Sutra) อัฏฐนิบาต อังคุตตรนิกาย




*** Atthanij Pokkasap 16 hours ago


จาก พระสูตรว่าด้วยแผ่นดินไหว..พระไตรปิฎก เล่ม ๒๓/๔๕
..ภูมิจาลสูตร(Bhumicala Sutra) อัฏฐนิบาต อังคุตตรนิกาย
ทำให้เราทราบประสบการณ์ค้นพบ ของชาวพุทธโบราณว่า

ธาตุ ดิน(ปฐวีธาตุ) ตั้งอยู่ บน น้ำ
ธาตุ น้ำ(อาโปธาตุ) ตั้งอยู่ บน ลม
ธาตุ ลม(วาโยธาตุ) ตั้งอยู่บน อากาศ..

อากาศ คำนี้ ในประสบการณ์ค้นพบของชาวพุทธโบราณ  ภาษาไทยแปลมาจาก "อากาส" ใน
ภาษาบาลี ที่หมายถึง "ความว่าง" คือ อวกาศ ในภาษาสันสกฤต และภาษาไทยก็นำ ความหมายของอวกาศในภาษาสันสกฤตมาใช้เพียง ครึ่ง ความหมายเท่านั้น...สับสน..อะ ดิ..สำหรับผู้อ่อนหัดมากๆทางภาษาไทย..

เอาเป็นว่า..
ดินตั้งอยู่บนน้ำ
น้ำตั้งอยู่บนลม
ลมตั้งอยู่บนความว่าง(อวกาศ)
ตามนี้ ละกัน !!!

เข้าโหมด วิทยาศาสตร์ก้าวหน้าแห่งคริสตศตวรรษที่ 20(วิทยาศาสตร์ควอนตัมสัมพัทธภาพ)
เพื่อสะท้อนความหมายของ "อวกาศ" ออกมา

..เพราะเมื่อมีการตั้งทฤษฎีคลื่นแสงขึ้น นักวิทยาศาสตร์ก็พบว่า จำเป็นที่จะต้องกำหนดให้ที่ว่าง(Space)อันว่างเปล่านั้น มีสมบัติในเชิงกลบางอย่าง
(บทที่ ๕ เอกภพ และ ดร.ไอน์สไตน์)

ไลบ์นิทซ์(Leibnitz) นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมันผู้ยิ่งใหญ่มองเห็นอย่างชัดเจนเมื่อ ๒ ศตวรรษ ก่อนสมัยไอน์สไตน์ เขากล่าวไว้ว่า
"อวกาศ(Space)นั้นคือลำดับ หรือความเกี่ยวข้องของสิ่งต่างๆเท่านั้น
ถ้าปราศจากสิ่งต่างๆครอบครอง หรือกินเนื้อที่ในอวกาศนั้นแล้ว อวกาศก็เท่ากับไม่มีอะไรเลย"

ไอน์สไตน์จึงให้ความหมายว่า..
อวกาศเป็นเพียงการเรียงลำดับของวัตถุ   เวลาก็เป็นเพียงการเรียงลำดับของเหตุการณ์ต่างๆ
(ที่มาของเวลาอันเป็นจิตวิสัย..The Subjectivity of Time)
(จาก บทที่ ๕ เอกภพ และดร.ไอน์สไตน์)

พระพุทธศาสนาจึงจำเป็นต้องพิสูจน์หา..
๑.การสัมผัสพื้นที่แห่งความว่างในชั้นอรูปพรหม
คือ อากาสานัญจายตนะ
๒.การสัมผัส จิตผู้ลำดับเหตุการณ์
คือ วิญญาณัญจายตนะ
ยังไงล่ะ ครับ !!!!

พอจะมองเห็น...
ท่อแห่งความว่าง หรือ ช่องว่างแห่งลม
ที่ตำรานวดแผนโบราณของชนชาติสยามเรียกว่า
"เส้น ทั้ง ๗๒,๐๐๐"
ที่เชื่อมต่อระหว่าง จิต กับกายเนื้อ
กันบ้างแล้ว หรือยังครับ??!!!

จากความว่างที่รองรับลม
ลมรองรับน้ำ
น้ำรองรับดิน..

เราก็ต้องเข้าสู่โหมด..การแพทย์แผนพุทธ
ว่าด้วยสมุฏฐานที่มาของความอ่อนแอแห่งมหาภูตรูป ๔
คือกายเนื้อของมนุษย์...
นั่นคือ...
ลม(วาตะ)-น้ำดี(ปิตตะ)-เสลด(เสมหะ)
ที่มาของ..
ตรีธาตุ > ตรีโทษ > ตรีทูต

แล้วจะโม้ให้อ่าน ในตอนต่อไป....ฮ่าาาา



Atthanij Pokkasap  ตามความหมายที่ไลบ์นิทซ์ใช้จำกัดความหมายของอวกาศ  เห็นชัดเจนว่า ปราชญ์เยอรมันผู้ยิ่งใหญ่ท่านนี้..อธิบาย พระสูตร ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร...ที่ว่า
รูป คือความว่าง ความว่างคือรูป...ด้วยสำนวนนักคณิตศาสตร์โดยแท้...แต่เอเชียไม่มีความเป็นนักปรัชญาคณิตศาสตร์และปรัชญาวิทยาศาสตร์กันเลย  ก็จึงพากันพายเรือในอ่างแบบข้ามภพข้ามชาติแล้วแห่กันออกทะเลไปเลย ฮู่ววว์...





No comments: