Atthanij Pokkasap :-
พักเรื่อง เทคนิคอิทธิฤทธิทำแผ่นดินไหวไว้...
วิเคราะห์ เท็คนิคการรักษาอาการเจ็บป่วย
จาก สูตร "แผ่นดินไหว(ภูมิจาละสูตร)"
อัฏฐกนิบาต อังคุตตรนิกาย ฯ กันครับ :-
ความสัมพันธ์ของธาตุ ๔ มีพระพุทธนิยาม
ตรัสแสดงไว้ ดังนี้
อากาศ(ความว่าง)อุ้มลม
> ลม-วาโยธาตุ อุ้มน้ำ
> น้ำ-อาโปธาตุ อุ้มดิน-ปถวีธาตุ
ธาตุดิน-ปถวีธาตุหวั่นไหว (กำเริบ) เพราะธาตุน้ำ
ธาตุน้ำ-อาโปธาตุ หวั่นไหว (กำเริบ) เพราะธาตุลม
จากสมุฏฐานวิเคราะห์อาการป่วยไข้ "ตรีธาตุ"
คือ วาตะ-ปิตตะ-เสมหะ
จะเห็น วาตะ คือ ธาตุลม
ปิตตะ(ดี,น้ำดี)และเสมหะ คือ ธาตุน้ำ
ไม่มี ธาตดิน.. และธาตุไฟ โดยเฉพาะ...ธาตุดิน
แสดงว่า ๒ ธาตุนี้เป็นปลายเหตุ เป็นธาตุรองรับอาการ
ที่ผิดปกติไปแล้ว
เพราะ ธาตุลมกับธาตุน้ำผิดปกติก่อนทั้งหมด
ในหลายตำรับยาไทยที่มีการให้ความสำคัญของธาตุดิน และธาตุไฟ
โดยละเว้นความสำคัญของธาตุลม และธาตุน้ำ...
จึงเป็นการมิชอบ ด้วยสมุฏฐานวิเคราะห์
และมิชอบด้วยวิธีการรักษา
♡♡♡♡♡♡♡♡♡
นี้คือ..นัยะ แห่ง
วิชาจิตสรีรศาสตร์วิภาคแบบพุทธดั้งเดิม(Analytic Psycho physiology of
The Classic
Buddhism) ในสายนักรบ
(โยธาชีวะ)ของศาสนาแห่งพระชินสีห์(ชินสีหสาสน์)
โดยการใช้สูตร
มหาภูตรูปทั้ง ๔ ภายในฉันใด มหาภูตรูปทั้ง ๔ ภายนอกก็ฉันนั้น มหาภูตรูป
ทั้ง ๔ ภายนอกฉันใด
มหาภูตรูปทั้ง ๔ ภายในก็ฉันนั้น ตามเท็คนิคของ อิทธิบาท ๔ ภาวนา
(~สมาธิสัมปยุตปธานสังขาร)
คือการนำลมหายใจเข้า-ลมหายใจออก(อัสสาสปัสสาโส)
เข้าควบคุม ธาตุลมทั้ง ๖
(อุทธังคมาวาต ๑/
อโธคมาวาต ๑/ กุจฉิสยาวาต ๑/ โกฏฐาสยาวาต ๑/
อังคมังคานุสารีวาต
๑/ อัสสาสปัสสาโส ๑) ที่จัดระเบียบดีแล้ว
(ปราณ ใน สูรยะกลา (ปิงคลา)-
จันทระกลา(อิทา) - สุศุมญา) ไปจัดระเบียบ(บริหารจัดการ)
ธาตุน้ำ ๑๒ ธาตุดิน
๒๐ ใน อาการ ๓๒(ทวัตติงสาการ) ตามกฎ ของ "ภูมิจาละสูตร" เป็น
หลักการที่มาของ นวด
๑๐๘ แม่บทฤๅษีดัดตน ที่ทำให้ พระฤๅษีทั้งหลาย แข็งแรงมีอายุ
ยืนยาวข้ามกัปกัลปตามหลักอิทธิบาทภาวนา ... รายละเอียดนอกนี้ ต้องหลังไมค์ แล้วครับ..
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
การฝึก ธาตุลม
บริหารจัดการ ธาตุน้ำ และธาตุดิน ภายใน
(อาการ ๓๒ ทวัตติงสาการ) :-
ภูมิจาลสูตร...อัฏฐกนิบาต
อังคุตตรนิกาย
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่ม ๒๓/๔๕,
มหาปทานสูตร มหาวรรค ทีฆนิกาย
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่ม ๑๐/๔๕
ว่าด้วยข้อ...ผู้มีฤทธิ(ฌานวิสัย)
กระทำให้แผ่นดินไหว นั้น...
กำหนดโครงสร้างทางกายภาพไว้ว่า...
ดิน ตั้งอยู่บนน้ำ/ น้ำตั้งอยู่บนลม/ ลมตั้งอยู่บนอากาศ
เมื่อคุมลมได้ ก็คุมน้ำได้ เมื่อคุมน้ำได้ ก็คุมดินได้
นี้เท่ากับเป็นเทคนิคหลักของ...
การกำหนดประสิทธิภาพลมหายใจ
ควบคุมรักษากองลมทั้ง ๕ ที่เหลือ
รวมเป็นลมคุณภาพ ๖ กอง
แล้วขยายผลไป
ควบคุมรักษาธาตุน้ำ ที่อาศัยลมตั้งอยู่
จากนั้นจึงเข้าควบคุมธาตุดิน ที่อาศัยน้ำตั้งอยู่
ลมหายใจเข้า-ลมหายใจออก...จึงเป็นที่มาของ...
ปราณรักษา ประสิทธิภาพ อาการ ๓๒ (ทวัตติงสาการ)
โดยภาพภายนอกคือ...อสีติ..๘๐ ท่าแม่บทฤๅษีดัดตน
ครับ...!!!!