ฌานและปัญญาเป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกัน ไม่แยกกัน ไม่อาจแยกขาดจากกัน
มีพระพุทธคาถาตรัสรับรองในธรรมบท ว่า
Natthijhanam apannassa,
...ไม่มีปัญญา ก็ไม่มีฌาน
Pannanatthi ajhayino.
...ฌานไม่มี ปัญญาก็ไม่มีฯ
ฌาน โดยการเปิดเผยเพื่อพิสูจน์และค้นพบของพระพุทธเจ้า มีอยู่สอง คือ
๒.๑ ลักขณูปนิชฌาน
๒.๒ อารัมณูปนิชฌาน
เป็นฌานเพื่อปัญญา(หลุดพ้น) มีสามลักษณะ คือ
๑. #อนิมิตสมาธิ
เป็นฌานเข้าสมาบัติเพื่อการประสบ(experienced) ...
"สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา"
ออกจากสมาบัติ เรียกว่า
#อนิมิตวิโมกข์
เป็นฌานเข้าสมาบัติเพื่อการประสบ(experienced)...
"สพฺเพ สงฺขารา ทุกขา"
ออกจากสมาบัติ เรียกว่า
"#อัปณิหิตวิโมกข์"
เป็นฌานเข้าสมาบัติเพื่อการประสบ(experienced)
"สพเพ ธมฺมา อนตฺตา"
ออกจากสมาบัติ เรียกว่า
"#สุญญตวิโมกข์"
ปัญญาในการเห็น #ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตา ของขันธ์๕ และแม้แต่ขันธ์๕เอง..ไม่ใช่เกิดจากการท่องจำหรือบริกรรมใดๆ แต่มีจิตที่ฝึกอบรมดีแล้วเป็น ฌานสมาบัติรองรับการประสบ ซึ่ง เป็นไปตามพระพุทธโอวาท ว่า
Samadhim bhikkhave bhavetha.
...ภิกษุทั้งหลาย เธอจงเจริญสมาธิฯ
Samahitassa bhikkave bhikkhuno yathabhutam okkayati.
...เพราะเมื่อภิกษุมีจิตตั้งมั่น(ในสมาธิ)แล้ว สิ่งทั้งปวงย่อมปรากฏตามเป็นจริงฯ
สฬายตนวรรค สังยุตตนิกาย
พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ เล่ม๑๘/๔๕
เป็นฌานเพื่อแสดงคุณ(แห่ง)ธรรม และอานุภาพพระศาสนา ยืนยัน
#อานิสงส์แห่งมนุษยธรรม และ
#อานิสงส์แห่งอุตริมนุสสธรรม
Mind over Force Field ทั้งหมด
เมตตาเจโตวิมุตติ
กรุณาเจโตวิมุตติ
มุทิตาเจโตวิมุตตื
อุเปกขาเจโตวิมุตต
ซึ่งมีการเรียกเฉพาะ ว่า
"#พรหมวิหาร๔"
ไม่อาจแยกขาดจากกัน เพราะ...
*ราคานุสัย คือรากเหง้าของ อภิชฌา ที่มาของ #ราคะ-#โลภะ ปฐมฌานจึงมีชื่อสมาบัติว่า
๏ #เนกขัมมสุข ๚๛
จากการหลีกเร้นกาม
จากการพ้นเหนือไปจากกามคุณ๕
จากการพ้นการครอบงำของข้อมูลประสบการณ์ของ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ที่ก่อตัวเป็นระบบปสาทรูป(Nervous System)อันดับ๑ ของ รูปอาศัย;อุปาทายรูป๒๔
*ปฏิฆานุสัย คือ รากเหง้า พยาบาท ที่มาของ #โทสะ
และ วิโมกข์ตั้งอยู่บทบาทของตติยฌาน ซึ้งมีชื่อเป็นศัพท์เท็คนิคเฉพาะว่า
"#สุภกิณหพรหม"
มีชื่อสมาบัติว่า
๏ #สมาธิสุข ๚๛
*อวิชชานุสัย คือรากเหง้าของ อัสมิมานะ ที่มาของ โมหะ เป็นปรากฏการณตามที่มีพระพุทธบัญญัติไว้เป็นพระสูตรชื่อ
"หิมวันตสูตร"
และ จตุตถฌาน (ฌานที่๔) นี้ มีชื่อสมาบัติว่า...
๏ สัมโพธิสุข๚๛
*#อุปริกขะ๓* ได้แก่....
"ธาตุอุปริกขะ"
คือ ต้องมีความรู้แตกฉานในโครงสร้างของ อาการ๓๒ ที่เป็นธาตุดิน๒๐ ธาตุน้ำ๑๒ ธาตุไฟ๔ ธาตุลม๖ อากาสธาตุ๑ วิญญาณธาตุอีก๑.. ตามพระพุทธบัญัติที่ทรงมีนิยามบัญญัติไว้ ในหลายๆพระสูตร ชัดเจนขึ้นใจ
"อายตนอุปริกขะ"
คือ ต้องมีความรอบรู้แตกฉานในโครงสร้างของอายตนะ๖ ทั้งรูปธรรม ได้แก่ จักขวายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ มนายตนะ(มนายตนะประกอบด้วย มโนวิญญาณ และมโนธาตุวิญญาณ) และนามธรรมคือ เวทนา-สัญญา-เจตนา-ผัสสะ-มนสิการ ซึ่งเป็น Survival Dynamic และ/หรือ Vitality Force ตามพระพุทธบัญญัติเป็นนิยามไว้หลายมิติในพระสูตรต่างๆ
"ปฏิจจสมุปปาทอุปริกขะ"
คือ ต้องมีความรอบรู้แตกฉานในโครงสร้างของพระปฏิจจสมุปปาท ทั้งในส่วนที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ที่มีพระพุทธบัญญัติให้นิยามความหมายไว้ในหลายๆพระสูตร อย่างกลมกลืนเสริมกัน ไม่มีขัดแย้งกัน
นวกนิบาต อังคุตตรนิกาย
พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ เล่ม ๑๖/๔๕
๏ ลักขณูปนิชฌาน เป็นสมาธิของจิตที่รองรับ
"ปัญญาวิมุตติ"
"เจโตวิมุตติ"
"สัญญาเวทยิตนิโรธ"
ซึ่งเป็น....
"อุปาทิเสสนิพพาน"
คือการเข้า นิพพานในขณะที่ยังมีชีวิตดำรงอยู่
เสมอกัน !!!!!
ภาพที่๑.
แสดง หัวใจและตับ เป็นรูปธรรมรองรับ จิตที่เป็นกำลังของปัญญา และปัญญาหลุดพ้น หัวใจสัมพันธ์กับการหายใจที่ต้องสร้างสารอาหารจากลำไส้เล็กที่อาศัยน้ำย่อยจากตับซึ่งพักไว้ที่ถุงน้ำดีที่ทำงานร่วมกับระบบน้ำเหลือง และอาศัยออกซิเจนจากปอด เป็นไป
แสดงระบบปสาทรูป(Nervous System) กับระบบการไหลเวียนของโลหิต(Circulatory System) รองรับความรู้สึกที่พระพุทธศาสนาเรียกเฉพาะว่า "เวทนา" ซึ่งการดัับสนิทของกระบวนการเวทนาคือเป้าหมายสูงสุดของการฝึกอบรมจิตของพระพุทธศาสนาดังเวทนาที่ปรากฏในศัพท์เท็คนิคว่า
"สัญญาเวทยิตนิโรธ" ตรง "เวทยิต"
แสดงข่ายใยของระบบน้ำเหลือง(Lymphatic System) ซึ่่งพระพุทธศาสนารวมเอา "ถุงน้ำดี(Gallbladder) เข้าไว้ด้วยกันกับระบบน้ำเหลืองเรียกรวมว่า "ปิตตะ"
ในหลักสูตรอบรมจิต ปิตตะเป็นรูปธรรมรองรับการทำงานของ "สติสัมปชัญญะ" ที่ตั้งของ
"หิริ-โอตตัปปะ"
แสดง บันทึกความทรงจำภายในเซลล์ที่เรียกว่า Engram Bank ซึ่งมีข้อมูล ๕,๐๐๐ ล้านบิท ต่อหนึ่งเซลล์ และพระพุทธศาสนามีหน่วยวัดปริมาณเหตุการณ์ในความทรงจำที่บรรจุภายในเซลล์นี้เรียกว่า "กัปป์-กัลป์"
และเรียกกลุ่มความทรงจำนี้ว่า "สัญญา"
แสดงพลังงานไฟฟ้าเคมีที่เข้าไปเกี่ยวข้องพลังงานนิวเคลียร์ที่ยึดเหนี่ยวโมเลกุลของธาตุคาร์บอน แต่จิตสามารถใช้แรงไฟฟ้าเคมีชีวภาพจากกระบวนการในลมหายใจ (Respiratory System) เข้าไปควบคุมแรงนิวเคลียร์ในธาตุคาร์บอนจากสารอาหารให้เกิดการสังเคราะห์อินทรียสารสร้างชีวิตของสัตวบุคคลขึ้นมาได้.
การนั่งสมาธิที่สำนวนโบราณของชาวพุทธเรียกว่า นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง เพื่ออ่านค่าสนามแม่เหล็กไฟฟ้าเคมีชีวภาพ จากการไหลโคจรของระบบเลือด ที่สัมพันธ์กับการไหลโคจรของระบบน้ำเหลือง และสุดท้ายให้ระบบน้ำเหลืองเข้าทำงานแทนที่ระบบไหลเวียนของโลหิตทั้งหมด เป็นที่มาของอาการฉ่ำเย็นตลอดทั้งร่างที่เรียกว่า "ปีติ" ระดับต่างๆขณะจิตเป็นอิสระไปจากข้อมูลของอายตนประสาท เพราะ เลือดและอายตนประสาทหยุดทำงาน โดยระบบน้ำเหลืองซึ่งส่วนใหญ่เป็นประจุอิสระค่าบวก ทำงานแทนที่เกือบทั้งหมดแล้ว ซึ่งเมื่อสัมพัทธ์กับสนามโน้มถ่วงดวงดาวของโลกและจักรวาล ก็จะเกิดปรากฏการณ์ของ อุตริมนุสสธรรมทั้งหลายขึ้น ตามบันทึกทั้งหมดในพระไตรปิฎก.