Buddha-sci-fi-muayThai-history-astrology-superstition-language-yoga-music-art-agricuture-herb-food

...I believe that meditation and healthy food are an essential human experience and should be freedom to learn too................................ Buddha-Dharma-Sangha-science-fiction-MuayThai-History-Astrology-Superstition-religion-Language-math-mind-universe-meditation-Yoga-Music-Art-Agricuture-Herb-Food...this is good health and life. All give us be Oneness. I will try to understand you and everybody around the world................ WE ALL ARE FRIENDSHIP......Truth me

Wednesday, January 11, 2017

58.Breaking Dharma PART 57




Breaking Dharma PART 57...!!!
....


สติ ในความหมายของชาวพุทธโบราณนั้น
คือปัญญาในการแยกแยะ ดี-ชั่ว
และเป็นปัญญาที่สร้างความฮึกเหิมที่จะลงทุนด้วย
พฤติกรรมให้ชีวิตของตนเองมีคุณค่าสูงสุด (เศรษฐศาสตร์ชีวิต!!!)

นี่คือ หลักฐาน ที่ทำให้รู้ว่า พวกท่านทั้งหลาย
บิดเบือนความหมาย สติ ของชาวพุทธโบราณ  จงมาดู....!!!


ขณะนั้น พระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการ
ตรัสถามด้วยลักขณะแห่งสติต่อไปว่า
"ภันเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้า
สติเล่า มีลักขณะประการใด?"

พระนาคเสนวิสัชนาแก้ไขว่า
"มหาราช ดูกรบพิตรพระราชสมภาร
สติลักขณะมี ๒ ประการ คือ
อปิลาปนลักขณาสติ ๑
อุปคัณหณลักขณสติ ๑

อปินาลักขณาสตินั้น คือ
อารมณ์ให้ระลึกในธรรมทั้งหลาย
คือเตือนว่า สิ่งนั้นดีสิ่งนั้นชั่ว
สิ่งนี้ ไม่เป็นประโยชน์ สิ่งนี้เป็นโทษ
สิ่งนี้เป็นคุณ สิ่งนี้ขาว สิ่งนี้ดำ
... ...ฯลฯ
เปรียบปานดุจภัณฑาคาริกบุรุษผู้หนึ่งเป็นชาวคลังของบรมจักร
ย่อมทูลบรมจักรตักเตือนให้ระลึกถึงสมบัติทุกเช้าเย็น
ทูลว่า เครื่องประดับช้างเท่านั้น ม้าเท่านั้น รถเท่านั้น
พลเดินลำลองเท่านั้น ทองเท่านั้น เงินเท่านั้น
มีครุวนา ฉันใด

อปิลาปนลักขณาสติ เมื่อบังเกิด
ก็เตือนอารมณ์ให้ระลึกถึงปฏิภาคธรรมทั้งหลาย
คือกุศลอกุศลบาปบุญคุณโทษ...ฯลฯ
เหมือนชาวคลังระลึกทูลเตือนบรมจอมจักรพรรดิ
ให้ระลึกถึงสมบัตินั้น ขอถวายพระพร...ฯลฯ

และ อุปคัณหณสติ นั้น
เมื่อจะบังเกิดในสันดานนี้ ชักชวนให้ถือเอาคติในธรรมอันดี
ย่อมพิจารณาว่า ธรรมสิ่งนี้มีอุปการ ธรรมสิ่งนี้หาอุปการมิได้
ก็นำเสียซึ่งธรรมอันมิได้เป็นประโยชน์
นำเสียซึ่งธรรมอันมิได้เป็นอุปการ
ถือเอาแต่ธรรมอันเป็นอุปการ

ดูรานะ บพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ
อุปคัณหณลักขณาสตินั้น มีลักขณะละเสียซึ่งสิ่งอันชั่ว
ถือเอาแต่สิ่งอันดีนี้แหละ ขอถวายพระพร

เปรียบปานดุจนายประตูของบรมกษัตราธิราช
ถ้าเห็นผู้ใดประหลาดเข้าไปสู่ประตูพระราชวังนั้น
ก็ห้ามเสียมิให้เข้าไป
ผู้ใดที่เป็นอุปการแก่บรมกษัตริย์เจ้าคือ ข้าเฝ้าผู้ใหญ่ผู้น้อยนั้น
ก็ให้เข้าไปสู่พระราชฐาน..ฯลฯ...

สติอันเป็น อุปคัณหณลักขณาสติ เมื่อบังเกิด
ก็เตือนอารมณ์ให้เว้นเสียซึ่งอันเป็นโทษ
ถือเอาซึ่งธรรมอันเป็นประโยชน์เป็นคุณ
จึงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า "ภิกขเว"
ดูรานะภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตนี้สรรเสริญว่า
สติให้สำเร็จประโยชน์นำเสียซึ่งโทษ (ให้ไปปราศ)
โปรดไว้ ฉะนี้ ขอถวายพระพร"


อัญเชิญ ย่ออรรถะ จาก สติลักขณปัญหาเป็นคำรบ ๑๒ ปฐมวรรค
มิลินทปัญหาฉบับพิสดาร  ฉบับหอสมุดแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๑๖


Atthanij Pokkasap ถ่ายทอด
06:09 น.แรม ๑๐ ค่ำเดือน ๑๑ วันอังคารที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๖


หมายเหตุผู้อัญเชิญมาถ่ายทอด;

สติตามความหมายของชาวพุทธโบราณ เป็นสติที่ประกอบด้วยปัญญาชั้นสูง
ต้องมีการเรียนรู้มาก่อนหน้าอย่างมากมาย  เป็นฐานของความเพียร (สัมมาวายามะ)
ผู้มีสติย่อมต้องมีความบากบั่นมุ่งมั่นต่อการแสวงหาธรรมพัฒนาระดับคุณภาพชีวิตของตน

ฉะนั้น การที่มีบางคำสอนว่ารู้น้อยปฏิบัติดีกว่ารู้มาก (แล้วมัวแต่แสดงความรู้โดยไม่ปฏิบัติ)
จึงเป็นไปไม่ได้  เป็นการแสดงธรรมบิดเบือนคำสอนหลักพระศาสนาโดยแท้
พระพุทธศาสนานี้เป็นลัทธิความเชื่อ และเต็มไปด้วยกระบวนพิสูจน์สำหรับ
ผู้มีปัญญา ไม่ใช่เรื่องของผู้รู้น้อย..ครับ!!!

การปฏิบัติธรรม  ปฏิบัติสมณธรรม ต้องอาศัยสติที่ประกอบด้วยปัญญา
ย่อมทำให้เกิดความกระตือรือร้นในความเพียร (วายามะ, สัมมัปปธาน ๔)
เพื่อการลงทุนแสวงหาประโยชน์แลประสิทธิภาพสูงสุดของชีวิต
ไม่ใช่เอ้อระเหย  แม้กระทั่งดีชั่วก็แยกแยะไม่ออก
แล้วเที่ยวประกาศออกมาว่า  ปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่น..




...สังคมที่แยกแยะดีชั่วไม่ออกจะเอาแต่ผลประโยชน์เฉพาะหน้าเฉพาะตนโดยไม่สนใจความเดือดร้อนของเพื่อนมนุษยืด้วยกัน สังคมแบบนี้  สังคมของสัตว์เดรัจฉานยังมีมาตรฐานสูงกว่า ครับ....

...ภาษาไทยชั้นหลังๆมาเนี่ย  เอาศัพท์สูงของพระพุทธศาสนามายำ..บูดเละเทะเลย   
ภาษาไทยยุคปัจจุบันเอาสติในพระพุทธศาสนามายำซะบูด เละเทะเลย..
พฤติกรรมเป็นไปตามที่ชาติเพื่อนบ้านหลายๆชาติเค้าว่า...ไทย.... อย่างแดกดันและดูถูก...สม!!!




                                                                                                          ๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

  


* Story & Photos by  Atthanij Pokkasap

No comments: