Buddha-sci-fi-muayThai-history-astrology-superstition-language-yoga-music-art-agricuture-herb-food

...I believe that meditation and healthy food are an essential human experience and should be freedom to learn too................................ Buddha-Dharma-Sangha-science-fiction-MuayThai-History-Astrology-Superstition-religion-Language-math-mind-universe-meditation-Yoga-Music-Art-Agricuture-Herb-Food...this is good health and life. All give us be Oneness. I will try to understand you and everybody around the world................ WE ALL ARE FRIENDSHIP......Truth me

Wednesday, January 4, 2017

37.Breaking Dharma PART 36





Breaking Dharma PART 36...!!!
....


หยุด ..คอร์รัปชั่น ธรรม กันเสียที...

ตอน อิทธิบาท ๔ ที่ถูกบิดเบือน


(๑๑๕๐) ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาศัย ฉันทะ แล้วได้ สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต
นี้ เรียกว่า * ฉันทะสมาธิ *

เธอยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้
เพื่อ ไม่ให้บาป อกุศล ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
เพื่อ ละบาป อกุศล ที่เกิดขึ้นแล้ว
เพื่อ ให้ กุศล ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
เพื่อ เจริญยิ่งๆขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญบริบูรณ์
แห่งกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว
เหล่านี้ เรียกว่า * ปธานสังขาร *
ฉันทะ นี้ด้วย
ฉันทะสมาธิ นี้ด้วย
และ ปธานสังขาร เหล่านี้ด้วย ดังพรรณามานี้...

นี้ เรียกว่า อิทธิบาท ประกอบด้วย ฉันทะสมาธิ และปธานสังขาร
...(Jhandasamaddipdansangkharasamanagatang Iddhipatang Bhaveti...
ฉันทะสมาธิปธานะสังขาร สะมันนาคะตัง อิทธิปาทัง ภาเวติ
เขียนว่า ฉนฺทสมาธิปธานสํขารสมนฺนาคตํ อิทฺธิปาทํ ภาเวติ)

(๑๑๕๑) ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาศัย วิริยะ แล้วได้ สมาธิ...ฯลฯ
(๑๑๕๒) ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุทั้งหลาย อาศัย จิตตะ แล้วได้สมาธิ...ฯลฯ
(๑๑๕๓) ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาศัย วิมังสา แล้วได้สมาธิ...ฯลฯ


จาก ฉันทะสูตร มหาวารวรรค สังยุตตนิกาย ไตรปิฎก สยามรัฐ เล่ม ๑๙/๔๕


(๑๑๗๕) เทสนาสูตร ;
อิทธิ เป็นไฉน?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกาย ไปตลอดพรหมโลกนี้ก็ได้
นี้เรียกว่า * อิทธิ *

(๑๑๗๖) ก็อิทธิบาท เป็นไฉน?
มรรคาอันใด ปฏิปทาอันใด ย่อมเป็นไปเพื่อการได้ฤทธิ์ เพื่อได้เฉพาะซึ่งฤทธิ์ นี้เรียกว่า อิทธิบาท

(๑๑๗๗) ก็อิทธิบาทภาวนา เป็นไฉน?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญ อิทธิบาท อันประกอบด้วย ฉันทสมาธิปธานสังขาร,
วิริยสมาธิปธานสังขาร, จิตตสมาธิปธานสังขาร, วิมังสาสมาธิปธานสังขาร นี้เรียกว่า
อิทธิบาท ภาวนา ฯ

(๑๑๗๘) ก็ปฏิปทา ให้ถึง อิทธิบาทภาวนา เป็นไฉน ?
อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ ..สัมมาสังกัปปะ...ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า ปฏิปทา ที่จะให้ถึง 
อิทธิบาทภาวนา ฯ



ขยายเคล็ด;

ฉันทะ (ความพอใจ), วิริยะ (ความเพียร), จิตตะ (ความจดจ่อมุ่งมั่น), วิมังสา (การวิเคราะห์ตรวจสอบ) เป็น อิทธิบาท ๔ ไม่ได้ ครับ ต้องประกอบด้วย ความเพียรเฉพาะที่เรียกว่า สัมมัปปธาน ๔ (สังวรปธาน, ปหานปธาน, ภาวนาปธาน และ อนุรักขนาปธาน คือการดับแห่งบาปอกุศล และ การเจริญยิ่งๆขึ้นของกุศล ในหัวข้อต้น ๑๑๕๐)
จึงได้เรียกชื่อเต็มว่า

* ฉันทสมาธิปธานสังขาร
วิริยสมาธิปธานสังขาร
จิตตสมาธิปธานสังขาร
วิมังสาสมาธิปธานสังขาร *


การบังอาจไปตัดสร้อยท้าย  คือ - สมาธิปธานสังขาร ออก  แล้วยังกล้าเอามาเรียกเองว่า อิทธิบาท ๔ คือการคอร์รัปชั่นทางธรรม  แสดงให้เห็นถึงเจตนาทรามที่ปฏิเสธเรื่อง อิทธิฤทธิ ที่จิตฝ่ายกุศลจะต้องมีโดยธรรมชาติอยู่แล้ว

นั่นคือการปฏิเสธ เรื่อง สจิตตปริโยทปนํ..การยังจิตให้ขาวสว่างรอบ   ออกจากคำสอนของพระพุทธศาสนา โดยตรง
หยุดคอร์รัปชั่นธรรมแห่งคำสอนตามเป็นจริงของพระพุทธศาสนากันเสียทีได้แล้ว....อย่าได้เลวทราม มากไปกว่านี้กันอีกเลย...

...คอร์รัปชั่นกันมาตลอดยุครัตนโกสินทร์
ด้วยกลัวว่าจะไม่ทันสมัยเหมือนฝรั่งตะวันตก ทั้งที่ตั้งประเทศมานาน
ตั้งแต่ฝรั่งมันยังเป็นเผ่าบาร์บาเรียน แท้ๆ....
ไม่แปลกใจที่วันนี้สังคมและระบบการศึกษามันจะตกต่ำหายนะ...


AtthaniJ Pokkasap รายงาน
07:20 น. ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๑๐ อังคาร ๑๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๖






... ก็ปฏิปทา ให้ถึง อิทธิบาทภาวนา เป็นไฉน ?
อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ ..สัมมาสังกัปปะ...ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า ปฏิปทา ที่จะให้ถึง 
อิทธิบาทภาวนา ฯ...

...เป็นลำดับสายสัมพันธ์ที่ถักสานซึ่งกันและกันครับ
เมื่อพอใจ (ฉันทะ)..มันก็ต่อเนื่องด้วย  การขวนขวายอยากรู้อยากเห็นเพื่อให้ได้ความพอใจที่เต็มที่..การขวนขวานแยกแยะ
คัดสรรเฉพาะส่วนที่พอใจอยากรู้อยากเห็นอยากเติมให้เต็ม..ก็เป็นความเพียร (วิริยะ)
ความเพียรก็เชื่อมโยงไปความมุ่งมั่นต้องเอาต้องทำให้ได้ก็เป็น จิตตะ
ได้มา ขวนขวายได้มาเต็มที่แล้ว ก็พยายามคัดสรรเอาดีที่สุกประณีตที่สุด ก็เป็น วิมังสา

...ซึ่งสมาธินั้น  ไม่จำเป็นต้องได้พร้อมกัน   แต่จะหนุนเนื่องกัน ตามที่สงสัยนะครับ...อันใดอันหนึ่งมาก่อนก็ได้แล้วไปช่วยเสริมให้อันที่ยังไม่ได้..ให้ได้เป็นสมาธิ ด้วยกัน
แต่โดยธรรมชาติของความประณีต...ย่อมจะสมบูรณ์ไปตามขั้น
นี่คือความวิเศษ  ที่เป็นพุทธคุณ..อาทิกัลยาณัง  มัชเฌกัลยาณัง และปริโยสานกัลยาณัง..ครับ
เมื่อเราจะติดขัดให้กลับไปหาพุทธคุณ  ตรง อาทิ, มัชเฌ , ปริโยสาน..ครับ  
พุทธานุสติ  จึงเป็นข้อแรกของกรรมฐาน ๔๐ ไปด้วย ด้วยเหตุดังกล่าวนี้เอง





                                                                                   ๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐



* Story & Photos by  Atthanij Pokkasap

No comments: