Buddha-sci-fi-muayThai-history-astrology-superstition-language-yoga-music-art-agricuture-herb-food

...I believe that meditation and healthy food are an essential human experience and should be freedom to learn too................................ Buddha-Dharma-Sangha-science-fiction-MuayThai-History-Astrology-Superstition-religion-Language-math-mind-universe-meditation-Yoga-Music-Art-Agricuture-Herb-Food...this is good health and life. All give us be Oneness. I will try to understand you and everybody around the world................ WE ALL ARE FRIENDSHIP......Truth me

Monday, January 2, 2017

28.Breaking Dharma PART 27





Breaking Dharma PART 27...!!!
....




ตอน มารู้จัก ความเพียร และอุบัติการณ์แห่งปัญญาและองค์ญาณในพระพุทธศาสนา  
ตามเป็นจริง...กันเถอะ!!!


ความเพียร นี้  พระพุทธศาสนามีศัพท์เทคนิคเป็นการเฉพาะว่า "สัมมัปปธาน ๔" ครับ..ประกอบด้วย...

๑. สังวรปธาน   รวมๆหมายถึง  ความชั่ว(บาป อกุศล)ที่ยังไม่เกิด  อย่าให้เกิด
(ในแง่ สังคม คือ ป้องปราม อย่าให้คนชั่ว มีกำลัง)

๒. ปหานปธาน  ความชั่ว (บาป, อกุศล) ที่เกิดแล้วต้องดับให้ได้
(ในแง่สังคม คือ คนชั่วจริง...ต้องประหาร !!!)

๓.ภาวนาปธาน   ความดี (บุญ, กุศล) ที่ยังไม่เกิด  ต้องทำให้เกิด
(ในแง่สังคม คนดี ที่ไม่มีอยู่ในสังคม ต้องทำให้มี...)

๔.อนุรักขนาปธาน   คือ ความดี (บุญ,กุศล)ที่เกิดแล้ว  ต้องทำให้มีกำลังเจริญยิ่งๆขึ้น
(ในแง่สังคม  ก็คือ ต้องทำให้คนดีที่มีอยู่  มีกำลังใหญ่ในสังคม..)


อุบัติการณ์แห่งปัญญา และองค์ญาณมีขึ้น (ปัญญาและความอ่อนโยนที่เป็นตัวของตัวเอง) ของ
ชาวพุทธนั้นมีตั้งแต่ขั้นแรก  คือ  สังวรปธานแล้ว...ท่านอธิบายไว้ดังนี้...

การสำรวม (สังวร)  คือการกั้น  ได้แก่การปิด   หมายถึงความคุ้มครอง  ชื่อว่า เป็นกิริยาอันภิกษุ (สาวกทั้งหลาย) 
ทำแล้วในทวารนั้น   ทำให้ได้ในวิถี "ชวนจิต" ข้างหน้า  เป็นกุศล ๕ ได้แก่...

๑.มีความเชื่อที่มั่นคง  หนักแน่น

๒.มีความอดทน (ลักษณะพิเศษของความเพียรของชาวพุทธแท้เลยข้อนี้)

๓.มีความเพียร (การรู้แยกแยะ และพัฒนา ๔ ข้อข้างต้นเป็นคุณลักษณะพิเศษมากของชาวพุทธแท้)

๔.มีสติ (ลักษณะพิเศษของชาวพุทธแท้อีกเหมือนกัน)   และ....

๕.มี..องค์ญาณ...คือปัญญาหยั่งรู้โดยธรรมชาติ (มหาลัยไม่มีสอนครับ  และสอนไม่ได้  สอนไม่ถึงด้วย!!!)


(ข้อ ๕ นี้เป็น "จินตามยปัญญา"...ที่ "นายขยะ" ถอดความหมายว่า คือ ปัญญาโดยสัญชาตญาณ
การหยั่งรู้เหมือนความเชี่ยวชาญในระบบนิเวศน์วิทยาของโลก เหมือนปลวกสร้างรัง  เหมือนผึ้งทำน้ำหวานและรัง  
เหมือนนกกระจาบสร้างรัง  เหมือน..ฯลฯ   วันนี้ปัญญาส่วนนี้ของมนุษย์ถูกวิทยาศาสตร์ลวงโลกทำลายเกลี้ยง....)


(ความรู้ที่เกิดจากการสำรวม มาจาก  เรื่อง "ภิกษุ ๕ รูป"  
ภิกขุวรรควรรณนา  ธัมมปทัฏฐกถา แปล ภาค ๘/๒๕๒๙)
จากเนื้อหาละเอียดนี้..วันนี้ชาวพุทธเป็นตัวอะไร..ไม่ทราบ....
กล้าดีถือดีอะไรบังอาจแอบอ้างว่าเป็นชาวพุทธ....ครับ?????!!!!!!!





...อวดคำคมกันอยู่ได้   หลักปฏิบัติพัฒนาปัญญายังไม่รู้เรื่องอะไรกันเลยแม้แต่น้อยนิด  อเน็จอนาถจริงๆเชียว...

...สังวรทำให้ได้ในวิถี "ชวนจิต" ข้างหน้า!!!...ภวังคจิตที่เกิดจาก หัวใจ ครับ   แล้วยังไม่ไปมิกซ์รวมกะคลื่นผัสสะจากอายตนะประสาททั้งห้า....ครับ 
   
...สังวร  ที่ท่านสอน  คือการเข้ามาแยกแยะคลื่นไฟฟ่าในระบบอายตนะประสาทครับ!!!!

ธัมมารมณ์ไม่ไปเสริมปรุงแต่งอายตนะสัมผัส...คือปรากฏการณ์ภายในที่ท่านเจตนาถ่ายทอดครับ

พระพุทธศาสนายอมรับว่าโลกนี้คือราชรถอันวิจิตร   จึงเรียกตัณหาว่า ตัณหาวิจิตร ๑๐๘   เป็นอิสระไปจากคลื่นผัสสะของอายตนะประสาทภายในของตัวเอง..เป็นที่มาของการเข้าสู่กระแสมรรค  กระแสญาณครับ....

ที่งามวิจิตรน่ะ โลกภายนอก...แต่ที่เป็นปัญหาน่ะ  คลื่นไฟฟ้าในอายตนะประสาทครับ....ลมหายใจที่ลึกและมั่นคงตามสภาพเป็นจริงของหัวใจเท่านั้น  จะทำให้เราเป็นอิสระไปจากการครอบงำของคลื่นไฟฟ้าจากอายตนะประสาทเหล่านั้น....เป็นการต่อสู้อารมณ์ภายในของตัวเราเองล้วนๆ...

...โดนอารมณ์ทั้ง 6 ครอบงำเป็นส่วนใหญ่...เพราะไม่ฉลาดในเท็คนิคของ...การหายใจ !!!

...นางยักษิณี  มีอำนาจ!...ครับ   ทำให้นางยักขิณีมีอำนาจครอบงำนครตักศิลามาแล้ว....



...สำหรับเทคนิคการฝึกหายใจ  เป็นเทคนิคที่ซ่อนอยู่ในฤๅษีดัดตน...ฝึกวันละไม่กี่ครั้งช่วงก่อนอาบน้ำเท่านั้นเอง...มีผลต่อเนื่องทั้งวัน...และมีผลมหาศาลต่อการนั่งคู้บัลลังก์ยาวๆ..ครับ    

...ตอนอัดลมนานๆตอนเข้าและออก  มันจะจุกที่คอหอยครับ  อึดอัดน่าดู  เป็นเพราะสูดลมหายใจเข้าแรงเกินไป  มันไม่ละเอียด สักแต่ว่าอัดเข้าไป...ลึกเกินไป..จะทำร้ายตัวเอง!!!   เอาลึกหลวมๆก่อนเหมือนลูกสูบรถที่สนิมเขรอะ   
ต้องค่อยๆชักครับ  ลึกเร็วเกินไปก้านวาล์วก้านสูบ (ลิ้นหัวใจ) จะหักเอานะครับ

...ครับ  ฝืนไม่ได้ร่างยังไม่ชินต้องค่อยๆปรับครับ   ใช่เลยครับ...หัดใหม่ซะ   เหมือนลูกสูบรถที่ถูกน้ำท่วมขังจะชักพรวดรวดเดียวถึงศูนย์ตายบนและศูนย์ตายล่างเลยไม่ได้...ฉันใดฉันนั้น...

ขยักอึด  ฝึกอึดเกร็ง  ภายหลังการหายใจเข้า และภายหลังการหายใจออกหลายๆระดับ   เพื่อค้นหาระดับที่เหมาะสมที่สุดเฉพาะตัว  ก็เป็นความละเอียดอ่อนที่จำเป็นมาก....ลมหายใจสั้น  ลมหายใจยาว ที่มีความละเอียดและปริมาณลมหายใจที่ไม่เท่ากัน...ทำให้คุ้นเคยในหลายๆมิติ...จะสามารถ "ตามทัน" อารมณ์ ๑๐๘ ของเราได้    

...การตามทันไม่ได้ง่ายอย่างที่เที่ยวสอนๆกันในหลายๆสำนักครับ....ถ้ายังไม่ฉลาดในเทคนิคการหายใจ
ไม่งั้นสมเด็จพระบรมศาสดาท่านไม่นำไปเปรียบเทียบกับ นายช่างฟั่นเกลียวเชือกผู้ชาญฉลาดอยู่ในมหาสติปัฏฐานสูตรหรอกครับ....




                                                                                                  ๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
  

* Story & Photos by  Atthanij Pokkasap

No comments: