Buddha-sci-fi-muayThai-history-astrology-superstition-language-yoga-music-art-agricuture-herb-food

...I believe that meditation and healthy food are an essential human experience and should be freedom to learn too................................ Buddha-Dharma-Sangha-science-fiction-MuayThai-History-Astrology-Superstition-religion-Language-math-mind-universe-meditation-Yoga-Music-Art-Agricuture-Herb-Food...this is good health and life. All give us be Oneness. I will try to understand you and everybody around the world................ WE ALL ARE FRIENDSHIP......Truth me

Wednesday, December 28, 2016

๙๓.Buddha-Dharma-Sangha-Science-Fiction-MuayThai-History-Astrology-Superstition-Religion-Language-Math-Mind-Universe-Meditation-Yoga-Music-Art-Agricuture-Herb-Food=Good Life Health.



93.พระพุทธเจ้า - พระธรรม - พระสงฆ์ - วิทยาศาสตร์ - นิยาย - มวยไทย - ประวัติศาสตร์ - โหราศาสตร์ -ไสยศาสตร์ - ศาสนา - ภาษา - คณิตศาสตร์ - จิต - จักรวาล - สมาธิ - โยคะ - ดนตรี - ศิลปะ - เกษตรกรรม - สมุนไพร - อาหาร = สุขภาพและชีวิตที่ดีงาม








Atthanij Pokkasap  :




ข่าวสาร จาก พุทธตันตระแห่งเอเชียกลาง (ตอน ๗)
ตอน หลักสูตรพื้นฐาน.....
..... .....


ขั้นที่ ๑. ที่เรียกว่า การแนะนำคำสอนด้วยภาชนะ นั้น  หลักสูตรนี้ทั้งหมดในสายพุทธตันตระสยาม ไปปรากฏเป็นเนื้อหาทั้งหมดของวิชาจิตรกรรมไทยประเพณี (สูงสุด ของจิตรกรรมไทย คือการเขียนฝาผนังให้เกิดปรากฏการณ์ ช้อยนางรำ ที่ภาพออกมาเคลื่อนหมุนเวียนแล้วกลับคืนไปในฝาผนัง)   หลักสูตรสูงสุดของจิตรกรรมไทย คือ ออกแบบให้กับ งานศิลปะทั้งหมด รวมถึง นาฏศิลป์ไทย และศิลปมวยไทยด้วย  เรียกในจิตรกรรมชั้นครูว่า หลักสูตร *จับ-รัด-ตัด-หัก* 

...ในฝ่ายธิเบต คือการเรียนรู้ความหมายของ มันดาลา(Mandala) คือ มัณฑละ และ มณฑล ในภาษาไทย  ประกอบด้วย การเรียนรู้ ๓ ระดับ ได้แก่

๑..มัณฑละธาตุแห่งครรภ์
๒..มัณฑลธาตุแห่งวัชระ(โพธิจิต)
๓..มัณฑละธาตุแห่ง..ปฏิจจสมุปปาท


ระดับที่ ๑. นั้นคือการถ่ายทอดภาพ(รูปและแสง)ในภวังคจิตขณะศรัทธาต่อคำสอนแต่ละเหตุการณ์ของพระศาสนา ศิลปะเขียนภาพขั้นนี้ธิเบตเรียกว่า ฐังคะ (Thanka)  ส่วนพุทธตันตระสยามเรียก จิตรกรรมไทยประเพณี (จารีต บังคับเขียน..พระเจ้า ๑๐ ชาติหิมพานต์ตอนเขาคันธมาสน์ที่รองรับพระปัจเจกพุทธ ๕๐๐ พระองค์พุทธประวัติ ๒๙ ปริเฉทเท่าอายุก่อนออกผนวชไตรภูมิเป็นหลัก)   รายละเอียดอยู่ที่การคิดค้นหา วัสดุอุปกรณ์ คือสี และเครื่องมือช่าง เพื่องานจิตรกรรมต่างๆจากธรรมชาติแวดล้อม...

..ในชั้นนี้ พุทธตันตระสยามจะต้องเรียน คัมภีร์ปถมัง ไปด้วย  เพื่อเข้าถึงอำนาจศักดิ์สิทธิ์ในเส้นสายเรขาคณิตตามเป็นจริง ซึ่งเป็นกำเนิดของ มัณฑละธาตุแห่งครรภ์   ธิเบต รุ้หัวข้อ..แต่สยามมีรายละเอียดและไม่รู้หัวข้อ


ระดับที่ ๒. มัณฑละธาตุแห่งวัชระ  การพยายามเข้าถึงศูนย์กลางของมณฑล  นั่นคือ ภวังคจิต ที่ไร้รูป..เพราะจำลองรูป (คือเข้าใจ) ออกสู่วงกลมภายนอกหมดแล้ว...ธิเบตรู้หัวข้อ..แต่ไม่มีรายละเอียด พุทธตันตระสยามรู้รายละเอียดทั้งหมด  แต่ไม่รู้หัวข้อ...เพราะ เมื่อเขียนภาพ หรือเข้าถึงเส้นสายทางเรขาคณิตของ จุติ-อุบัติของจักรวาลในไตรภูมิตามที่ คัมภีร์ปถมัง ย่อส่วนเข้ามา   คัมภีร์ปถมังของพุทธตันตระสยามนั้นให้ฝึกเขียนเส้นสายเรขาคณิตที่เป็นสัญลักษณ์ของ จุติ-อุบัติ ของจักรวาลแบบไตรภูมิไปพร้อมกับการฝึกสมาธิ สุญญตนิมิต,อนิมิตตนิมิต และอปณิหิตนิมิต ไปพร้อมในตัว   จบการศึกษาคัมภีร์ก็จะบรรลุสมาธิดังกล่าว

..นี่คือคุณภาพชนชั้นผู้นำของสยามในยุคสถาปนาราชอาณาจักร!!! (ส่วนนี้สำคัญมาก ต้องแยกไปอรรถาธิบายอีกต่างหาก)


ระดับที่ ๓. มัณฑละธาตุแห่งปฏิจจสมุปปาท...ธิเบตรู้หัวข้อและมีรายละเอียด  แต่พุทธตันตระสยามสาบสูญการถ่ายทอดไปทั้งชุด   ภาพปฏิจจสมุปปาทที่เป็นรูปมัณฑละ เป็นการยืนยันว่าทั้งพุทธตันตระสยาม และวัชรยาน มันตรยาน..มีพระพุทธศาสนานิกายสรรวาสติวาทเป็นนิกายแม่...เถรวาทฝ่ายใช้ภาษาสันสกฤตนี้ เป็นเถรวาทสายวัชชีบุตรฝ่ายราชนิกูลของราชวงศ์ทั้ง ๘ แห่งแคว้นวัชชีสมัยพุทธกาล เป็นผู้ออกแบบภาพปฏิจจสมุปปาทไว้ที่ผนังประตูวิหารเชตะวันตั้งแต่สมัยพุทธกาล....






...หลักสูตรสูงสุดของจิตรกรรมไทยประเพณีที่เรียกว่า "จับ-รัด-ตัด-หัก"....ต้องอธิบายคนเดียวทั้งหมดอีกแล้ว....อวดเก่งกันแต่ถามว่ารู้จักหรือเปล่า..ก็เปล่าทั้งนั้น...เป็นมรดกของบุรพชนและของพระพุทธศาสนาที่โดดเด่นเป็นเอกเทศโดยแท้   แต่กลับไม่มีใครรู้จักกันเลย....เป็นพุทธศาสนิกชนที่อยู่ในสมการตาบอดมือด้วนคลำช้างเชิงซ้อนกันไปได้อย่างไร...เตือนสติก็โกรธ...



การศึกษาแบบเปรียบเทียบ (สัมพัทธภาพ) ทำให้เราเผชิญกับความจริงของโลกตามเป็นจริง...การศึกษาที่แอบอ้างความเป็นกลางแบบค่าสัมบูรณ์อุปโลกน์กันขึ้นมาจากกระบวนการวิทยาศาสตร์ยุคล่าคนมาเป็นทาสทั้งนั้น..รับเข้าไปได้   เพราะมันได้มาซึ่งอำนาจและการจัดการนั่นเอง....

ลุแก่อำนาจกันจนรับความรู้แบบเปรียบเทียบตามเป็นจริงกันไม่ได้..    ศีล..เลยไม่ผ่าน  
ความแตกแยกเกิดจากสิทธิพิเศษไม่รับรองกันในความเสมอภาคเพราะศีล...หรือหน้าที่..



จับ  คือภาพจับ  อธิบายยาก   ต้องไปให้สานกระด้งพื้นบ้านบุรีรัมที่มี ห้า หกลายในใบเดียวโดยไม่ต้องมีการออกแบบ    การวางตอกคือการจับ...ในจิตรกรรมไทย   ภาพจับ คือภาพที่ประกอบมากกว่าตัวละคร ๒ ภาพขึ้นไป  มักออกเเบบเป็นเลขคี่  เรียก จับสาม จับห้า เหมือนจับหัวขนมจีนหรือจับด้ายสายสิญจน์

เห็นไหม  การกระทายกระด้งครั้งหนึ่ง  เปลือกข้าว, เมล็ดข้าวแต่ละขนาดไหลไปตามลาย ชนิดใครชนิดมัน    การวางจักตอกเพื่อสานลายนั่นแหละที่โบราณท่านเรียก "จับ"

ภาพจับในจิตรกรรมไทยวางแบบเหมือนลายสาน...พัฒนาเข้าไปในศิลปะมวยไทยเลยเป็นเลิศแต่พวกไอ้บ้าว่าเป็นมวยนาฏศิลป์....ตาไม่ถึงเสือกสมองบอดอีก..555 กะลังถูกมันหลอกให้เปิดเผยเคล็ดลับของพุทธตันตระอยู่มังครับ..



เคยได้ใช้ถึงขั้น "ตัด" อยู่ในหัตถจักรมณฑล (กระบวนหมัด) และบาทจักรมณฑล (กระบวนเท้า)  แค่มันต่อยมาเอาปลายศอกฟันรับหมัด..ปักเดียวหมัดหงิกเลย...แต่การรู้จังหวะ..มันต้องนั่งสมาธิเป็น  เพื่อขยายเวลาและล็อคโอกาส จึงจะทำได้...

เก่งมากๆ  โขกหัวรับหมัดเหมือนโขกตะกร้อ  หมัดหงิกท่าสวยงามมาก...มวยหมัดร้องไห้เลิกชกเลย...เตะก็เหมือนกัน   อย่างเกรงใจก็ยกเข่ารับ  แต่เอากันถึงแข้งหัก  ก็ใช้ศอกขยับเข้าในพลิกเคาะกลางหน้าแข็ง  ปักเดียวกระดูกแข้งร้าว จบอาชีพมวยเลย...



...รัดที่เหมือนเข้าขอบกระด้ง  ใช่เลย..เป็นการเล่นวงในของครูมวย...โจวชิงฉือมันก็เคยแสดงนะ มวยตุ๊กแก งัย ....เข้าในเก็บอาวุธฝ่ายตรงข้ามได้หมด   เพราะไปถ่างขาซ้ายขาขวามันให้ทำงานไม่ประสานกัน   อะไรขยับมาจัดการล็อค  จัดการหนีบเอาไว้หมด...แล้วก็ถ่างขามันไปด้วย..งานเข้าขอบกระด้ง จริงๆ..

...งานเก็บขอบภาพเหมือนงานงานสานเก็บขอบกระด้งเลย....เก็บขอบภาพให้เนียนสัมพันธ์กับภาพถัดไปจนดูไม่ออกว่าเป็นเส้นคั่นภาพจิตรกรรมยากมาก..แต่งแขนของจิ๊กซอว์งัย..จำฝีมือช่างไม้โบราณได้มั้ย...เอาไม้ประกบกันทำกาละมัง  น้ำไม่รั่ว จัดอยู่ในหมวดนี้เหมือนกัน



..." ตัด " ล่ะ ยังไง....ก็เอามีด หรือตะไกร ฉับๆๆเลย...ภาพจิตรกรรมมีหลายตอน ที่ผิดพลาดต้องลักไก่ตัด...บางทีเพิ่ม...อย่างภาพกากชาวบ้านนอนเอากัน ในจิตรกรรมฝาผนังรุ่นเก่า..เยอะมาก..พื้นที่มันว่าง...เกินกว่าจะตัด ...ลึกล้ำมากจิตรกรรมไทย   จึงเป็นต้นแบบงานศิลปช่างทุกสาย...



...แล้วหักล่ะ จะเหมือนไหม..ไม่บอก เดี๋ยวไม่เป็นครู..ต้องยักไว้นิดนึง 555    ไปสังเกตชั้นครูสานกระด้ง เมืองบุรีรัมย์ดู...ว่าตอนไหนคือ หัก...เพราะตอนเตรียมจักตอกจะสาน  กะมาหมดแล้ว สานๆไปมีมุมไล่ทำให้เกินต้องตัด  เกินตัดก็ต้องหัก   มันเป็นศิลปะภาคปฏิบัติครับ...กำหนดตายตัวไม่ได้..ยังกะ อนัตตาเลย..

ศิลปะเป็นเรื่องผู้มีฝีมือและมีปัญญาสะท้อนโครงสร้างของธรรมชาติตามเป็นจริงครับ..   

...ธรรมชาติเป็นผู้ออกแบบ   มนุษย์เป็นผู้สะท้อนออกมาเป็นทฤษฎี   แต่วิทยาการทุกวันนี้มันกลับกัน...มันเลยพินาศและนำหายนะมาสู่ธรรมชาติของสังคมมนุษย์...

ศิลปะในอุปกรณ์เครื่องใช้ในวัฒนธรรมชาวนาที่พระพุทธศาสนาเข้ามาออกแบบสอดแทรกหลักธรรมเอาไว้...ปฏิบัติธรรมจริงใจจะเปิดเกิดการหยั่งรู้ทั้งลึกและกว้าง...




                                                                                                   ๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐


* Story & Photos by  Atthanij Pokkasap


No comments: